ตามไปดู 'Path to Purchase' คนไทยทำอะไรก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการจาก Telco | Techsauce

ตามไปดู 'Path to Purchase' คนไทยทำอะไรก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการจาก Telco

ในงานแถลงข่าวกลุ่มย่อยในหัวข้อ 'Think Telco'  ซึ่ง Google จัดขึ้นเพื่อนำเสนอผลวิจัยใหม่เกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคไทยในยุคปัจจุบันที่สื่อต่างๆ นำเสนอเรื่องราวในหลากหลายแง่มุมที่แตกต่างกันออกไป แต่ในภาพรวมนั้น โทรศัพท์มือถือเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย โดยเฉพาะในปี 2559 มีการจำหน่ายโทรศัพท์มือถือออกไปกว่า 14.8 ล้านเครื่อง! ทำให้มีคนไทยใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้น 7 เท่า ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา

คำถามคือ คนไทยมีวิธีเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือและแพ็กเกจการใช้งานอย่างไร?

ไมเคิล จิตติวาณิชย์ หัวหน้าฝ่ายการตลาดด้านผู้บริโภค Google ประเทศไทย เปิดเผยผลการวิจัยครั้งใหม่ในหัวข้อ 'Path to Purchase' โดยความร่วมมือระหว่าง Google และ TNS ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยการตลาดชั้นนำ แสดงให้เห็นถึงกระบวนการที่ 'ซับซ้อน' ของผู้บริโภคก่อนตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า โดยได้สัมภาษณ์ผู้ซื้อสินค้าและบริการที่เฉพาะเจาะจง รวมทั้งผู้ที่ซื้อแพ็กเกจโทรศัพท์มือถือในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ทั้งเพศชายและหญิง อายุระหว่าง 18-60 ปี จำนวนทั้งสิ้น 500 ราย ซึ่งผลวิจัยที่ค้นพบมีดังนี้

  • ผู้บริโภคไทยได้รับข้อมูลข่าวสารที่ดีขึ้นกว่าเดิม

ด้วยช่องทางการค้นหาผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย ผู้บริโภคเข้ามาที่ร้านมีจุดประสงค์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการจะซื้อ ซึ่งเกือบ 9 ใน 10 (89%) ของคนไทยที่ซื้อโทรศัพท์มือถือเปิดเผยว่า พวกเขาเลือกแบรนด์ก่อนที่จะไปซื้อสินค้าที่ร้านเรียบร้อยแล้ว

  • ผู้บริโภคไทยเปิดใจรับฟังความคิดเห็นต่างๆ ในขณะที่ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาสนใจ

64% ของคนไทยที่ซื้อโทรศัพท์มือถือเปิดเผยว่า พวกเขาค้นพบแบรนด์ใหม่ๆ ในระหว่างที่ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ถือเป็นข่าวดีสำหรับนักการตลาดที่ต้องการสร้างอิทธิพลต่อผู้บริโภค

  • สื่อออนไลน์มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคเป็นอย่างมาก

กว่า 9 ใน 10 ของคนไทยที่ซื้อโทรศัพท์มือถือ (93%) เปิดเผยว่าพวกเขาศึกษาหาข้อมูลส่วนใหญ่ผ่านทางสื่อออนไลน์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อพวกเขามากที่สุด

  • เสิร์ชเอนจินเป็นเครื่องมือสำคัญในการสืบค้นข้อมูล

คนไทยมักเข้าไปหาข้อมูลออนไลน์จาก 2 แหล่งหลักๆ ได้แก่ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของแบรนด์ต่างๆ และเสิร์ชเอนจิน โดยเสิร์ชเอนจินทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อไปสู่เว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ บนอินเทอร์เน็ต

  • วิดีโอมีบทบาทในการเลือกแบรนด์ด้วยเช่นกัน

ผู้บริโภคมักดูวิดีโอออนไลน์เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมและเสริมสร้างการตัดสินใจของตน

"สิ่งที่ผู้บริโภคเลือกเป็นอันดับต้นๆ เลยก็จะเป็นเรื่องของ Offer คือเห็น Offer เจ๋งๆ ในตลาด เห็นโฆษณา โปรโมชันใหม่ๆ ออกมา ตัวนี้แหละเป็นตัว Trigger ห่างลงมาหน่อยคือ อยากได้อะไรที่ถูกลง  คือดูเรื่องราคาเป็นหลัก  พอเขากดมาถึงช่วง Initial Stage รองลงมาเป็นเรื่อง Quality และ  Price Comparison เข้าใจว่าในสเตจแรกๆ สิ่งที่ดึงให้เขาอยากหามากที่สุดเป็นเรื่องราคา โปรไหน Value ของมันดีที่สุด แคมเปญเกี่ยวกับเสิร์ชจึงต้องอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เขาเห็นได้ตลอดเวลา" ไมเคิลกล่าว

ประโยชน์ของการวิจัยที่มีต่อนักการตลาด

นับวันโลกของเราก็ยิ่งซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ และมีแหล่งข้อมูลให้เลือกมากมาย แต่การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่านักการตลาดสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับความต้องการของพวกเขา ซึ่งจะช่วยเพิ่มยอดขายสินค้าหรือบริการได้เป็นอย่างดี และการวิจัยยังแสดงให้เห็นอีกว่าปัจจุบันคนไทยให้ความสำคัญกับสิ่งที่พวกเขาต้องการมากกว่าสิ่งที่พวกเขาเป็น

ในอดีตนักการตลาดจะศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคผ่านจำนวนประชากร, พื้นที่, เพศ, อายุ แต่ในยุคนี้ต้องใช้การวิเคราะห์ข้อมูลที่มหาศาลเข้ามาช่วยทำตลาด โดยซีอีโอ Google ให้ความสำคัญกับ Machine Learning มาก จึงเน้นพัฒนาความสามารถในด้าน Machine Learning เพื่อเป็นครื่องมือสนับสนุนผู้บริโภค ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และสร้างรายได้ต่อไป

ไมเคิลกล่าวเสริมเกี่ยวกับ Auto Bidding ฟีเจอร์หนึ่งของ Google ซึ่งพัฒนาจาก Adwords โดยจะเข้ามาสนับสนุนการทำตลาดในทุกๆ อุตสาหกรรมได้ว่า

"Google มีโซลูชันที่จะช่วยนักการตลาดด้วยการ  Optimize ทำความเข้าใจเกี่ยวกับผู้บริโภค แล้วดูว่าคอนเทนต์แบบไหนเหมาะกับเขาที่สุด โดยเราทำ 'AdWords Smart Bidding' ซึ่งก็คือ ใช้ Machine Learning ในการ Optimize แทนคน เพื่อทาร์เก็ตว่าจะเข้าถึงคนแบบไหน ในราคาเท่าไร ด้วยคอนเทนต์แบบไหน  และเราสามารถ Tailor คอนเทนต์ได้ เป็นการตอบโจทย์ความท้าทายที่เจอในโลกปัจจุบัน โดย  Smart Bidding หรือ Auto Bidding นี้ เป็นฟีเจอร์ที่ค่อนข้างใหม่ระดับหนึ่ง และเราต้องให้การศึกษาแก่อุตสาหกรรมต่างๆ ก่อน"

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...