สภากาชาด ขอรับบริจาคพลาสมาจากผู้ป่วย COVID-19ที่หายแล้ว เพิ่มโอกาสรอดชีวิตผู้ป่วยคนอื่นต่อได้ | Techsauce

สภากาชาด ขอรับบริจาคพลาสมาจากผู้ป่วย COVID-19ที่หายแล้ว เพิ่มโอกาสรอดชีวิตผู้ป่วยคนอื่นต่อได้

สภากาชาดไทย ขอบริจาคพลาสมาจากผู้ป่วย COVID-19 ที่หายแล้ว

รศ.พญ.ดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อํานวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า การรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 ในขณะนี้ยังเป็นการรักษาตามอาการของผู้ป่วย และยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ซึ่งปัจจุบันทุกหน่วยงานอยู่ระหว่างวิจัยและพัฒนาอย่างเร่งด่วน แต่ยังมีวิธีการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่สามารถทําได้ทันทีอีกวิธีหนึ่งคือ การนําพลาสมาจากผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่หายแล้วนําไปใช้รักษาผู้ป่วยอาการรุนแรงได้ 

ดังนั้น ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จึงขอรับบริจาคพลาสมาจากผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่หายดีแล้ว เพื่อนําไปช่วยรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 ต่อไป โดยผู้ประสงค์จะบริจาคพลาสมาต้องเป็นผู้ป่วยที่หายดี ไม่มีอาการ ออกจากโรงพยาบาล และกักตัวที่บ้านครบ 14 วันแล้ว จึงจะสามารถมาบริจาคพลาสมาได้ หากมีผู้ที่บริจาคพลาสมาพิเศษนี้จํานวนเพิ่มมากขึ้น จะช่วยให้ผู้ป่วยในประเทศได้มีโอกาสการรักษาและรอดชีวิตจากโรค COVID-19 เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

พลาสมาจากผู้ป่วย COVID-19 ที่หายแล้ว เปรียบเหมือนเซรุ่ม

ด้านศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษาศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าวว่า พลาสมาของผู้ที่หายจากโรค COVID-19 เปรียบเสมือนเป็นเซรุ่มใช้รักษาโรคได้ ดังนั้น มาตรการในการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 อีกทางหนึ่งที่ให้ ผลการรักษาที่ดีที่สุดในขณะนี้คือ การใช้พลาสมาของผู้ป่วยที่หายแล้วรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง โดยภูมิ ต้านทานต่อไวรัส COVID-19 ที่ร่างกายสร้างขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นสูงหลังสัปดาห์ที่ 2 ถึงสัปดาห์ที่ 4 จะ ช่วยยับยั้งไวรัส COVID-19 ไม่ให้เข้าไปทําลายเซลล์ปอดจนทําให้ปอดอักเสบรุนแรง และแพร่กระจายสร้าง ความเสียหายไปทั่วร่างกาย ช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตได้เพิ่มขึ้น

จากผลการศึกษาการใช้พลาสมารักษาผู้ป่วยในเมืองเซี่ยงไฮ้และเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน พบว่ามีรายงานผล การรักษาที่ชัดเจนว่า พลาสมาของผู้ป่วยที่หายดีแล้วสามารถนํามารักษาผู้ป่วยและให้ผลการรักษาที่มี ประสิทธิภาพและปลอดภัย ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและยาของประเทศ สหรัฐอเมริกา (US-FDA) ก็อนุญาตให้ใช้พลาสมาของผู้ป่วย COVID-19 ที่หายแล้วมาใช้ในการรักษาผู้ป่วย ที่ติดเชื้อ COVID-19 ในสถานการณ์ฉุกเฉินขณะนี้

ช่องทางการติดต่อขอบริจาคพลาสมา

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติฯ โทร 0-2263-9600-99

ข้อมูลจาก matichon


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ซีอีโอ ttb นำทัพตอกย้ำความก้าวล้ำด้าน Digital & Tech ของธนาคาร ผ่านงาน 'ttb spark REAL change'

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) จัดงาน ‘ttb spark REAL change’ ซึ่งมีเวทีเผยวิสัยทัศน์องค์กร นิทรรศการที่นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการในปัจจุบันและอนาคต ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้าน Digital ...

Responsive image

DOGE ของอีลอน มัสก์ อ้างเซฟเงิน 8 พันล้าน แต่ความจริงแค่ 8 ล้าน

อีลอน มัสก์ CEO ของ Tesla และ SpaceX กำลังมีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับหน่วยงานใหม่ Department of Government Efficiency (DOGE) หรือ 'กรมประสิทธิภาพภาครัฐ' ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อลดค่าใช้...

Responsive image

Mercedes-Benz เดินหน้าทดสอบแบตเตอรี่ Solid-state ในรถ EV ตั้งเป้าวิ่งได้ไกลกว่า 600 ไมล์

Mercedes-Benz กำลังทดสอบแบตเตอรี่ Solid-State ในรถยนต์ไฟฟ้า EQS ที่สหราชอาณาจักร เพิ่มระยะทางขับขี่ทะลุ 600 ไมล์ ลดน้ำหนักแบตเตอรี่ 40% นับเป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรม EV แข่งกับ Hyu...