ส่อง “กลุ่มบริษัท” ผู้ประกาศตบเท้าร่วมชิง Digital Banking License ในสิงคโปร์ | Techsauce

ส่อง “กลุ่มบริษัท” ผู้ประกาศตบเท้าร่วมชิง Digital Banking License ในสิงคโปร์

เมื่อกลางปี 2019 สิงคโปร์ประกาศรับรายชื่อธุรกิจที่สนใจเข้าจดทะเบียนอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารดิจิทัลหรือ Digital Banking License ซึ่งต้องถือว่าน่าสนใจสำหรับผู้ติดตามแวดวงการเงินและเทคโนโลยีเพราะการยื่นขอ License ครั้งนี้ มีทั้ง Unicorn Startup, Tech Company และสถาบันการเงินที่มีประสบการณ์ใน Fintech เข้าร่วมจำนวนมาก

จนเมื่อวันที่ 31 ธันวาคมที่ผ่านมา ธนาคารกลางของสิงคโปร์ได้ประกาศสิ้นสุดการยื่นเสนอรายชื่อธุรกิจเพื่อยื่นขอ Digital Banking License เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนการคัดเลือกและประกาศผู้ที่ได้รับใบอนุญาต เราขอชวนทุกท่านมาดูรายละเอียดเบื้องต้นของ Digital Banking License ของสิงคโปร์และทำความรู้จักบรรดากลุ่มบริษัทที่เสนอขอใบอนุญาตดังกล่าวกัน

Digital Banking License ของสิงคโปร์ เป็นอย่างไร

สำหรับ Digital Banking License ของสิงคโปร์มีวัตถุประสงค์ชัดเจนเกี่ยวกับการให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้ารายย่อยและ SME โดย License มีด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่ Full Digital Banking License 2 ใบ สามารถให้บริการดิจิทัลได้เต็มรูปแบบ และ Wholesale Digital Banking 3 ใบ เป็นใบอนุญาตที่บังคับให้ดำเนินธุรกิจกับ SME เท่านั้น

ทั้งนี้ License ใหม่ที่ยื่นในปีนี้จะเป็นการเพิ่มจำนวนบริษัทใหม่ที่สามารถดำเนินธุรกิจธนาคารดิจิทัลได้ เพราะธนาคารเดิมที่ถือ Banking License ในสิงคโปร์สามารถทำธุรกิจธนาคารดิจิทัลได้อยู่แล้ว ส่วนผู้ที่ยื่นขอ License ใหม่จะต้องเป็นบริษัทที่พร้อมจดทะเบียนตั้งสำนักงานใหญ่ในประเทศสิงคโปร์ และต้องไม่เป็นบริษัทที่พลิกอุตสาหกรรม (Disruptor) คือเมื่อเข้ามาในธุรกิจแล้ว ต้องไม่เปลี่ยน Landscape ของบริการทางการเงินที่อยู่เดิมจนผู้เล่นเดิมอยู่ไม่ได้

รายชื่อผู้ยื่นขอ Digital Banking License

  • Grab และ Singtel เริ่มกันที่ Unicorn Startup ประจำภูมิภาคอย่าง Grab ที่จับมือกับ Singtel บริษัทโทรคมนาคมชั้นนำร่วมกันตั้งบริษัทเพื่อขอ License เป็นการเฉพาะโดย Grab ถือหุ้น 60 เปอร์เซ็นต์ ส่วน Singtel ถือหุ้น 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป้าหมายของ Grab และ Singtel คือให้บริการทางการเงินทั้งกับลูกค้ารายย่อยที่เน้นใช้บริการต่างๆ บน Digital Platform และ SME ที่มี Pain Point เรื่อง Credit
  • Razer Youth Bank หลังจากขยับขยายจาก Hardware มาทำเรื่อง Service สำหรับ Gamer แล้ว Razer Unicorn Startup ในอุตสาหกรรมเกมก็จับมือกับสถาบันการเงินและ Fintech Firm หลายราย เช่น Sheng Siong Holdings, FWD, LinkSure Global, Insignia Venture Partners และ Carro เพื่อตั้งบริษัทที่ Razer ถือหุ้นใหญ่ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ โดยเป้าหมายของ Razer คือการตั้งธนาคารสำหรับกลุ่มวัยรุ่น (Digital Savvy Youth) ซึ่งหากขอ License สำเร็จ ก็จะกลายเป็นธนาคารสำหรับวัยรุ่นแห่งแรกของโลก (World’s first global youth bank) ตามที่ Razer กล่าวอ้าง
  • Ant Financial ข้ามน้ำข้ามทะเลกันมาเลยทีเดียวสำหรับ Ant Financial Fintech Firm ในเครือ Alibaba ที่ตั้งใจเข้ามายังสิงคโปร์เพื่อ Wholesale Digital Banking License เป็นการเฉพาะ แน่นอนว่าการคว้า License นี้ได้จะเป็นการต่อยอดธุรกิจของ Lazada Platform E-Commerce ร่วมเครือในภูมิภาคนี้โดยตรง
  • Bytedance (รอการยืนยันอีกครั้งUnicorn ที่ร้อนแรงมากในปี 2019 ผู้พัฒนาแอปฯ Tiktok ที่เข้าไปตีตลาดอเมริกาเหนือเป็นที่เรียบร้อย ก็มีข่าวลือว่าให้ความสนใจจะยื่นขอ License สำหรับ Wholesale เช่นกัน แต่ทั้งนี้ ทาง Bytedance ยังไม่ได้ออกมายืนยันหรือประกาศในเรื่องนี้ ก็คงต้องรอความชัดเจนกันต่อไป
  • iFast Corporation, Hande และ Yillion 3 สถาบันทางการเงินที่ดำเนินกิจการด้านบริหารความมั่งคั่งและให้บริการธุรกิจในสิงคโปร์และจีน ความน่าสนใจอยู่ที่ Hande เป็น Fintech Firm ที่ก่อตั้งโดยอดีตประธานของ WeBank ซึ่งเป็น Digital Banking ของ Tencent ซึ่งทั้ง 3 ตั้งใจจะยื่นขอ License สำหรับ Wholesale
  • BEYOND Consortium กลุ่มการเงินที่นำโดย V3 Group และ EasyLink ผู้ให้บริการชำระเงินระบบคมนาคมสาธารณะในสิงคโปร์ พร้อมด้วย Far East Organisation บริษัทอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์, Singapore Business Federation, Sumitomo Insurance และ Heliconia Capital Management บริษัทในเครือของ Temasek โดย BEYOND จะยื่นขอ Full Digital Banking License
  • ShengYe Capital, Phillip Capital และ Advance AI 2 สถาบันการเงินสำหรับธุรกิจและ 1 Fintech Firm ที่ต้องการยื่นขอ Wholesale Digital Banking License ด้วยเป้าหมายการเป็น Data-Driven, Next Generation Bank เพื่อ SME ทั้งนี้ Phillip Capital และ Advance AI เป็น 2 บริษัที่ได้รับการสนับสนุนจาก Pavillion Capital บริษัทย่อยของ Temasek
  • AMTD, Xiaomi, SP Group และ Funding Societies ถือเป็นอีกหนึ่งผู้เล่นที่น่าจับตา เพราะ AMTD ผู้ให้บริการทางการเงินแบบ Non-Bank และ Xiaomi ผู้ผลิต Gadget ชื่อดัง เคยจับมือกันคว้า Digital Banking License ที่ฮ่องกงมาแล้ว โดยทั้งสองจะร่วมมือกับ SP Group บริษัทพลังงานในสิงคโปร์ และ Funding Societies บริษัท P2P Lending ในอาเซียน เพื่อยื่นขอ Wholesale License ในสิงคโปร์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก FintechnewsSG

ภาพประกอบจาก Joshua Ang โดยเว็บไซต์ unsplash

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไม่ยอมขายแอป ก็โดนแบน สหรัฐฯ จ่อแบน TikTok หวั่นเป็นภัยความมั่นคงชาติ

สหรัฐฯ ผ่านกฎหมายแบน TikTok แล้ว บังคับบริษัทแม่ ByteDance ต้องขายแอปภายใน 1 ปี มิฉะนั้นจะถูกแบนในสหรัฐฯ ด้านซีอีโอ TikTok ประกาศกร้าว พร้อมท้าทายกฎหมาย ไม่ไปไหนทั้งนั้น...

Responsive image

KBank ผนึก J.P. Morgan เปิดโปรเจกต์ Carina ใช้บล็อกเชน ลดเวลาทำธุรกรรมจาก 72 ชั่วโมงเหลือ 5 นาที

Kbank ร่วมกับ J.P. Morgan Chase Bank เปิดตัวโปรเจคต์นวัตกรรมคารินา (Carina) ลดระยะเวลาการทำธุรกรรม จากที่ใช้เวลา 72 ชั่วโมงเหลือเพียงแค่ 5 นาที...

Responsive image

Apple Vision Pro ขายไม่ดีอย่างที่คิด Apple ลดคาดการณ์ยอดขายกว่าครึ่ง ปรับแผนใหม่

Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สาย Apple เผยว่า Apple ได้ลดตัวเลขยอดขาย Apple Vision Pro ในปีนี้เหลือเพียง 400-450,000 เครื่องเท่านั้น ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ (มากกว่า 700–800,000 เครื่อง)...