Yoon Suk-yeol ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ คนใหม่ สนับสนุนอุตสาหกรรมคริปโต มุ่งปั้น Unicorn ด้าน Blockchain | Techsauce

Yoon Suk-yeol ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ คนใหม่ สนับสนุนอุตสาหกรรมคริปโต มุ่งปั้น Unicorn ด้าน Blockchain

ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ คนที่ 20  ‘ยุน ซอกยอล (Yoon Suk-yeol)’ วัย 61 ปี อดีตอัยการสูงสุดจากพรรคพลังประชาชน (People Power: PPP) ได้ชนะคู่แข่งอย่างพรรคเดโมเครติกของรัฐบาล (DPK) ด้วยคะแนนที่ต่างกันเพียง 0.8% เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

ประธานาธิบดีเกาหลีใต้

การได้รับชัยชนะของเขาในครั้งนี้จะส่งผลต่อทิศทางในประเทศเกาหลีใต้อย่างมาก และอาจกระทบไปยังประเทศในกลุ่มเอเชีย (ประเทศเกาหลีใต้มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของภูมิภาคเอเชียและอันดับ 10 ของโลก) โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม Blockchain เนื่องจากระหว่างการหาเสียงเขาสัญญาว่าจะลดกฎระเบียบในอุตสาหกรรมนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล

โดยมุ่งเน้นที่จะพัฒนาและส่งเสริมให้มี Unicorn ในอุตสาหกรรมนี้ และเสนอเพิ่มเกณฑ์ภาษีกำไรจากการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลมูลค่าประมาณ 4 หมื่นเหรียญสหรัฐ และถ้ามีกำไรจากคริปโตมากกว่า 2 พันเหรียญสหรัฐใน 1 ปี จะต้องเสียภาษี 20% ซึ่งคาดว่าจะเริ่มในปี 2023 

นอกจากนี้เขาจะตรวจสอบการห้ามระดมทุน ICO ในปี 2017 และอาจเรียกคืนโดยวิธีการระดมทุนแบบแยกส่วน เนื่องจาก ICO มักมีปัญหาการหลอกลวงโดยผู้ออกสกุลเงินนำเงินหนีไป (Rug pulls) อีกทั้งเขายังได้รับความนิยมจากการหาเสียงที่เปิดตัว Collection NFT ของตัวเองด้วย

ขณะที่ก่อนหน้านี้ในสมัยของ อดีตประธานาธิบดีอย่าง Moon Jae-In ได้มีนโยบายต่อต้านคริปโตทำให้ปัจจุบันมีการเรียกเก็บเงินที่เกี่ยวข้องกับ crypto อย่างน้อย 14 ฉบับที่หมุนเวียนอยู่ในรัฐสภาเกาหลีใต้ และกฎที่เข้มงวดในอุตสาหกรรมคริปโตทำให้ผู้ประกอบการเกือบ 70 แห่งปิดตัวลงในปีที่ผ่านมา ดังนั้น Yoon Suk-yeol จึงเปรียบเหมือนผู้นำความหวังกลับมาสู่วงการคริปโต แน่นอนว่านโยบายที่เป็นมิตรกับ blockchain ของเขานั้นมีเพื่อดึงคะแนนเสียงจากกลุ่มคนรุ่นใหม่

นอกจากนี้ยังมีนโยบายทางเศรษฐกิจอย่างการลดภาษีอสังหาริมทรัพย์ ลดกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ เพื่อให้ตลาดทำงานได้สะดวกขึ้น และกระตุ้นการสร้างงานผ่านภาคเอกชนแทนภาครัฐ 

แม้ว่านโนบายต่าง ๆของ  Yoon Suk-yeol จะเป็นผลดีต่อวงการธุรกิจและเทคโนโลยี โดยเฉพาะอุตสาหกรรม blockchain แต่เขาก็ยังมีนโยบายที่ถูกตั้งคำถามจากสังคมไม่น้อยเช่นกันอย่างเช่น การยกเลิกการเก็บภาษีคนรวยที่มีรายได้จากการลงทุนมากกว่า 50 ล้านวอนด้วย (4 หมื่นเหรียญสหรัฐ) ซึ่งอาจทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างชนชั้นมากขึ้น และยังมีประเด็นที่ร้อนแรงอย่างการยุบกระทรวงความเท่าเทียมทางเพศและครอบครัวที่เป็นที่น่าจับตามอง

ทั้งนี้ทิศทางเศรษฐกิจและสังคมของเกาหลีใต้จะเป็นไปในทิศทางไหนภายในเวลา 5 ปีที่ประธานธิบดีคนนี้ดำรงตำแหน่ง และจะส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นอย่างไรคงต้องติดตามกันต่อไป


อ้างอิง: coindesk, Business Today

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...