เสวนา ธปท. ชวนคุยถึงการนำ Blockchain มาใช้ในภาคธุรกิจ ชี้ทุกฝ่ายต้องจับมือร่วมกันพัฒนาระบบกลาง | Techsauce

เสวนา ธปท. ชวนคุยถึงการนำ Blockchain มาใช้ในภาคธุรกิจ ชี้ทุกฝ่ายต้องจับมือร่วมกันพัฒนาระบบกลาง

  • วันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา ธปท. จัดงานสัมมนา Blockchain The Series 1 เชิญภาคธุรกิจต่างๆ ร่วมพูดคุยในหัวข้อ "How to Adopt Blockchain to Businesses"
  • โดยเผยถึง Use Case ที่มีการปรับเอา Blockchain มาใช้ในภาคธุรกิจระบุต้องเริ่มจาก Use Case ที่ไม่ซับซ้อนและมีคนที่เกี่ยวข้องน้อย รวมถึงต้องดูด้วยว่าแล้วจะทำให้ Value Proposition (คุณค่าที่นำเสนอแก่ลูกค้า) มีมากขึ้นหรือไม่?
  • วิทยากรเห็นตรงกันการทำให้ภาคธุรกิจเกิดความร่วมมือกันพัฒนาระบบ Blockchain ได้เร็วจะช่วยให้ดำเนินการหลายๆ เรื่องได้เร็วขึ้นเช่นกัน
คุณญาณวิทย์ รักษ์ศรี (จาก KBTG), คุณแซม ตันสกุล (จาก Krungsri Finnovate), คุณเดชพล แหลมวิไล (จาก SCB), คุณสถาพน พัฒนะคูหา (จาก Smart Contract Thailand) และดำเนินรายการโดย คุณโอฬาร วีระนนท์ (จาก DurianCorp)

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดงานสัมมนา Blockchain The Series @ BOT มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี Blockchain ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินของไทย และนำความก้าวหน้าที่สำคัญจากต่างประเทศมาเผยแพร่ ตลอดจนให้ข้อมูลความคืบหน้าของโครงการ Thailand Blockchain Community Initiative ที่ธนาคารสมาชิกได้ร่วมมือพัฒนาบริการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

โดยตัวแทนธนาคารและภาคเอกชน ร่วมพูดคุยในหัวข้อ "How to Adopt Blockchain to Businesses" ซึ่งมีวิทยาการประกอบด้วย คุณญาณวิทย์ รักษ์ศรี Principal Visionary Architect จาก KBTG, คุณแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท  Krungsri Finnovate, คุณเดชพล แหลมวิไล ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารสายนวัตกรรมทางเทคโนโลยีของ SCB, คุณสถาพน พัฒนะคูหา CEO และ Founder จาก Smart Contract Thailand และ Block M.D. ซึ่งดำเนินรายการโดย คุณโอฬาร วีระนนท์ CEO และ Co-Founder ของ DurianCorp

เริ่มจากการเลือก Use Case ที่ไม่ซ้ำซ้อนมาทำก่อน

คุณญาณวิทย์ รักษ์ศรี (จาก KBTG) และคุณแซม ตันสกุล (จาก Krungsri Finnovate)

ตัวแทนจากเล่าว่าทาง KBTG (จาก KBank) ระบุว่าเลือกใช้ Use Case การทำหนังสือค้ำประกันที่มีอยู่ย้ายมาบนระบบ Blockchain

คุณญาณวิทย์ยอมรับว่าเรื่องของ Blockchain มีความยากตรงที่การเลือก Business Use Case ไหนที่น่าสนใจและไม่ซับซ้อนมาก ซึ่งความยากคือการจะบอกว่าเทคโนโลยีไหนเหมาะนำมาใช้ตอบโจทย์ตรงนี้ได้

โดยระบุเหตุผลของการนำ Blockchain ในการทำหนังสือค้ำประกัน ก็เป็นเพราะการทำหนังสือค้ำประกันมี Third Party ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับ Finance เมื่อเทียบกับหลายส่วนที่มี Party อยู่มาก

"เรื่องนี้เป็นเหมือนเรื่องที่สำคัญมากเหมือนเป็น Lesson Learned ก็ว่าได้ ถ้าเริ่มที่ Party เยอะๆ เลย กว่าจะให้แต่ละคนเข้าใจเรื่อง Blockchain ได้ และต้องไปติดต่อลูกค้าเราเพื่อเซ็ตระบบ ซึ่งเราต้องสร้างความเข้าใจตรงขึ้นมาก่อนว่ามันสำคัญอย่างไร" คุณญาณวิทย์ กล่าว

ในแง่เทคโนโลยีเราถือว่าเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งในแง่ธุรกิจเราจะเลือกใช้ Permission Blockchain มากกว่าเพราะจะนำมาประยุกต์ใช้ในองค์กรได้มากกว่า Permission-less Blockchain เช่น Bitcoin อาจจะนำมาใช้ในธุรกิจได้ค่อนข้างยาก

โดยเรื่องนี้ 14 แบงก์ทำงานด้วยกัน ผ่านโครงการ Letter of Guarantee (LG) ทำให้เริ่มคุยกันได้มากขึ้น และตั้งเป้าหมายเดียวกัน คือ นำเทคโนโลยีมาเปลี่ยนการทำงานต่างๆ ให้ดีขึ้น ซึ่งผลการใช้ Blockchain ทำให้การออกหนังสือประกันเร็วขึ้นจริง จากเดิมที่ต้องใช้เวลากับกระบวนการนี้นานถึง 7-8 วัน

ส่วนอีกเรื่องคือการ Governance Body (ธรรมาภิบาล) เพื่อให้เราจะทำงานร่วมกันได้อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการทำงานภาคธุรกิจ

นอกจากนี้ยังเน้นย้ำว่า ความร่วมมือเป็นเรื่องสำคัญ ถ้ามองธุรกิจในประเทศเราตอนนี้ก็โดนโจมตีจากต่างประเทศตลอดทั้ง Tencent และ Alibaba โดยฝากให้ผู้ใหญ่ระดับแนวหน้าของประเทศ ช่วยกันมองว่าอนาคตประเทศเรามีอะไรให้ประเทศเราสามารถต่อสู้ในตลาดโลกได้ ซึ่งวันนี้เราจะคุยเรื่องของจุดร่วมผ่านเรื่องเทคโนโลยี Blockchain ได้

"ถ้าเราสามารถร่วมมือกันได้โดยใช้เทคโนโลยีอันหนึ่งเป็นจุดร่วม เมื่อเราหาจุดร่วมกันได้ เราจะความเป็นปึกแผ่นเพื่อสร้างให้ Ecosystem เรา และสามารถป้องกันให้ประเทศเราเพื่อให้ต่อสู้กับตลาดนอกประเทศได้เป็นเรื่องสำคัญ" คุณญาณวิทย์ กล่าวทิ้งท้าย

เมื่อทุกฝ่ายร่วมสร้างระบบ Blockchain ที่พร้อมใช้เสร็จ ภาคธุรกิจก็ยินดีให้บริการที่แปลกใหม่ด้วย

ส่วนตัวแทนของ Krungsri Finnovate เล่าถึงสอง Use Case ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain กรณีแรกคือ Omise/OmiseGO ระบบ Payment Gateway จากคนไทยที่กรุงศรีเคยเข้าไปลงเข้าไปลงทุน โดยเล่าว่าตอนนี้มี Omise มี Blockchain Network แบบ B2B เชื่อมระหว่างภาคธุรกิจ เมื่อภาคธุรกิจอยู่บน Blockchain นี้ ถ้าหากต้องการทำให้คะแนนสะสมระหว่างสองบริษัทใช้ร่วมกันได้ ก็เพียงติดต่อกันและเชื่อมต่อได้เลย ไม่ต้องเขียน API เชื่อมกัน

นอกจากนี้กรุงศรียังร่วมกับปูนอินทรีย์ จะใช้ Blockchain เชื่อมทั้ง Supply Chain เราจะเห็นระบบการขายทั้งหมด ทำให้ธนาคารปล่อยกู้หรือทำ Financing ง่ายขึ้น ทำให้ตั้งการเพิ่มเครดิตด้านการเงินได้อัตโนมัติ ทำให้มีร้านค้ามีอำนาจในการสั่งซื้อกลับไปที่ปูนอินทรีย์ได้อีก เรียกได้ว่า Win-Win กับทุกฝ่าย ซึ่งตอนนี้ขอดูในไทยก่อน หากบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นโอเคก็อาจจะทำเพิ่มด้วย

ซึ่งคุณแซมยังระบุด้วยว่าในอเมริกาและยุโรป เรื่อง ICO และ Blockchain ยังเป็นในเชิงทฤษฎี โดยมองว่าตอนนี้ไทยเป็นแถวหน้าจริงๆ เพราะมี Use Case เยอะ รวมถึงยังเผยว่ามีการพูดคุยกับแบงก์ชาติสิงคโปร์ เขาก็สงสัยว่าทำไมไทยถึงล้ำหน้ากว่า เรียกได้ว่าเขารู้สึก "ยอมไม่ได้" เพราะตอนนี้เรื่องการเงินเรามีทั้ง QR Code และ PromptPay รวมถึงเรื่อง Blockchain

คุณแซมระบุต่อว่า Blockchain คือโลกใหม่ในอนาคตของเรา แล้วจริงๆ มันยังช่วยประเทศชาติได้ ดีใจรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยผลักดันเรื่องนี้ ถ้าระบบมันขึ้น On-Shelf เมื่อไหร่ ธนาคารสามารถปล่อยกู้เงินได้เร็วขึ้น เห็นตัวเลขที่แท้จริงที่เกิดขึ้น เราก็สามารถปล่อยกู้ได้อย่างสบายใจขึ้น ซึ่งก่อนหน้าธนาคารไม่เคยสบายใจในการปล่อยกู้ และปล่อยกู้ไม่ได้เต็มที่

คุณแซม: วันที่ระบบมันพร้อมเมื่อไหร่ เราทุกคนอยู่บน Blockchain เมื่อไหร่ ธนาคารก็สามารถอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในระบบ พร้อมปล่อยกู้ได้เต็มที่ ธนาคารอยากปล่อยกู้อยู่แล้วถ้าเกิดความมั่นใจในระดับที่ปล่อยได้

โดยได้ขอขอบคุณสามฝ่าย คือ (1) ขอบคุณ Regulator ยอมรับ 10 ปีก่อนคุยไม่รู้เรื่อง แต่ 2-3 ปีหลังมานี้ เรามีทีมคุยตรงนี้มากขึ้น ทำให้เราล้ำหน้ากว่าหลายๆ ประเทศ

(2) ขอบคุณความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่างธนาคารที่เกิดขึ้น หลายประเทศชมว่าเราเป็นประเทศเดียวที่คุยกันรู้เรื่อง แล้วทำให้เราช่วยพัฒนาเรื่อง PromptPay และ NDID ให้เกิดขึ้นมาได้

และ (3) Developer แต่ละธนาคารมาช่วยกันทำงาน โดยไม่ได้หวังผลตอบแทน แต่หวังทำให้สิ่งดีๆ เกิดขึ้นมา

"เรา (ธนาคาร) อาจไปช่วยกันในเรื่องการแข่งขันด้านสินค้า แต่ในเรื่องของเทคโนโลยีถือว่าเราช่วยกันดีมาก ไม่น่าเชื่อหลายๆ ประเทศชื่นชม" กล่าวทิ้งท้าย

จะเอา Blockchain มาใช้ต้องดูว่าใช้แล้วดีขึ้นหรือไม่ เชื่อจะช่วยลดการคอรัปชัน

คุณเดชพล แหลมวิไล (จาก SCB) และคุณสถาพน พัฒนะคูหา (จาก Smart Contract Thailand)

คุณเดชพลมองว่า พลังของ Blockchain ขึ้นอยู่กับคนที่อยู่บน Network ซึ่งคนที่อยู่ในนั้นไม่ว่างจะเป็นลูกค้ากัน คู่แข่งขัน เพื่อนกัน ซึ่งมีหลายรูปแบบ โดยมองจาก Use Case ว่าใหญ่ขนาดไหน รวมถึง Business Model เป็นอย่างไรประกอบ

คุณเดชพลตั้งคำถามว่า "เราจะทำอย่างไรเราจะแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง ซึ่งอันนี้สำคัญมากที่จะทำให้มันเกิดขึ้นมา"

ตัวแทน SCB เล่าถึงโครงการ Repo คือเทคโนโลยีการโอนเงินระหว่างประเทศ โดยใช้ Distributed Ledger หรือ Blockchain บริษัทก่อตั้งมาเมื่อปี 2012 ที่อเมริกา ซึ่งมี Use Case หลักๆ คือการสนับสนุนระบบโอนเงินนั่นเอง

โดยการเลือกเทคโนโลยีมาใช้จะดูว่ามันสร้างสิ่งที่แตกต่างให้เกิดกับธุรกิจได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ใช่เลือกแล้วก็เป็นแบบเดิม ซึ่งการใช้เทคโนโลยีใหม่ของ SCB ก็ช่วยให้ลดระยะเวลาในการโอนเงินไปยังต่างประเทศต้องใช้เวลา 2-3 วัน, ความปลอดภัยของเครือข่าย Blockchain สร้างความเชื่อมั่นต่อทุกคนที่อยู่ในระบบ และสร้าง Value Proposition (คุณค่าที่นำเสนอแก่ลูกค้า) ได้มากน้อยแค่ไหน

รวมถึงต้องดูว่า Network มีการล้อตามการกำกับดูแล (Regulation) ของภาครัฐหรือไม่ เพราะธนาคารไม่สามารถมองข้ามไปได้ ต้องมองกฎหรือการกำกับดูแลหลายๆ อย่าง เพราะไม่อยากทำผิดกฎหมาย และดูเรื่องของความยืดหยุ่น (Scalability) เพื่อรองรับการเข้ามาของบุคคลหลายภาคส่วนที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกัน

นอกจากนี้คุณเดชพลมองว่าการมี Blockchain ช่วยในการตรวจสอบเรื่องของคอรัปชัน ช่วยให้ภาษีถูกนำไปใช้อย่างมีคุ้มค่า โดยยกตัวอย่างโครงการ National Digital ID (NDID) ที่พยายามจะทำให้เห็นว่าได้ข้อมูลการยืนยันตัวตนที่น่าเชื่อถือมากขึ้น ทำให้ทุกอย่างโปร่งใสมากขึ้น ใครไม่พยายามเข้ามาทำงานร่วมกันก็อาจจะทำให้เกิดมีข้อสงสัยบางอย่างเกิดขึ้นได้

"จริงๆ ในเรื่องนี้ (Blockchain) มีทั้งมุมของ Policy Maker (ผู้กำหนดนโยบาย), Technology หรือ Business Model ทุกองค์ประกอบนี้สำคัญมาก ซึ่ง Blockchain ไม่ได้ Solve Everything (แก้ไขได้ทุกอย่าง) มันยังมีอีกหลายองค์ประกอบที่ขาดอยู่ การที่จะทำให้เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นได้จึงต้องการระดมสมองจากทุกภาคส่วน เพื่อผลักดันให้เรื่องนี้มันเกิดขึ้น" คุณเดชพลกล่าวทิ้งท้าย

ไทยมีโอกาสเป็นแถวหน้าด้าน Tech เพราะทั่วโลกอยู่ในช่วงพัฒนา Blockchain เหมือนกัน

คุณสถาพน ระบุว่า Smart Contract Thailand และ Block M.D. ที่เปิดตัวนั้น มีจุดเพื่อเปิด Blockchain Lab ที่พัฒนาระบบ Blockchain โดยเริ่มตั้งคำถามมาจาก Pain Point ที่เกิดขึ้นส่วนตัว เช่น ทำไมย้ายให้คุณพ่อโรงพยาบาลต้องใช้เวลานาน หรือทำไมขายพลังงานที่ได้จาก Solar Cell ระหว่างบ้านไม่ได้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นพัฒนา Blockchain เพื่อการแก้ปัญหาต่างๆ

โดยคุณสถาพน ยกตัวอย่างถึงเคสหนึ่งจากการใช้ Blockchain บนระบบสาธรณสุขอย่าง Block M.D. ว่า การเก็บข้อมูลได้ทุกแง่ทุกมุม ดู Track Record ได้ว่าเคยรักษาอะไรมาบ้าง จะช่วยให้จ่ายยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยนั้นได้ หากมีคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจก็อาจจะยาได้ทันทีท่วงที เพราะมีข้อมูลอยู่ก่อนแล้ว รวมถึงคำนวณปริมาณยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย

"เรียกง่ายๆ ก็คือ แค่เอาข้อมูลมาแชร์กันได้ (บน Blockchain) มันสามารถรักษาชีวิตคนไทยได้ปีละเป็นแสนๆ คน" คุณสถาพน กล่าว

รวมถึงเรื่องของพลังงาน (Energy) ก็กำลังทดลอง (Pilot) ระบบ Blockchain กับหน่วยงานหนึ่ง ซึ่งคนที่ติด Solar Cell ในหมู่บ้านสามารถแลกเปลี่ยน-ซื้อ-ขายไฟฟ้ากันเองได้ ลดการพึ่งพลังงานไฟฟ้าจากระบบภายนอก ช่วยให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานได้ โดยยกตัวอย่างในประเทศออสเตรเรีย ที่เขาไปถึงขั้นว่าแบตเตอรี่ตามบ้านสามารถช่วยลดการสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าได้

คุณสถาพน: การที่เรามี Infrastructure ที่ดี แล้วเลือกเอาเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ ซึ่ง Blockchain เป็นหนึ่งในนั้น จะช่วยให้ไม่เกิดแค่เกิดประสิทธิภาพ แต่ช่วยชีวิตคน ช่วยให้ทุกๆ คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น"

คุณสถาพนมองว่า Blockchain เป็นเทคโนโลยีใหม่ เดิมเราเป็นประเทศที่ซื้อเทคโนโลยีมาใช้งานนานมากแล้ว เราจะไปผลิตรถเพื่อแข่งกับยี่ห้อดังเป็นเรื่องยากมาก มันต้องมี Material Resaerch มาอย่างยาวนาน แต่ในเทคโนโลยีใหม่อย่าง Blockchain หรือ AI ตอนนี้ทุกคนเริ่มพร้อมๆ กัน ไม่มีใครเริ่มเร็วกว่าเรา ทุกคนเริ่มพร้อมๆ กัน

"ผมมองว่าเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้จะเป็นโอกาสอันดีที่เราจะก้าวทันคนอื่นได้ หลุดพ้นจากการเป็นประเทศซื้อเทคโนโลยี ก้าวข้ามไปสู่การเป็นประเทศที่ส่งออกหรือขายเทคโนโลยีอื่นๆ ได้" คุณสถาพนกล่าวทิ้งท้าย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ส่องแผน UK ปั้นประเทศอย่างไร ให้กลายเป็นมหาอำนาจ AI โลก

Keir Starmer นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ได้ออกมาประกาศถึงความต้องการที่จะทำให้ UK กลายเป็น ‘มหาอำนาจ’ ด้านปัญญาประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ เพื่อสร้างความก้าวหน้า ความมั่นคั่ง และทำให้ A...

Responsive image

Xiaohongshu คือแอปฯ อะไร? ทำไมชาวเมกันถึงหันไปใช้ หลัง TikTok ส่อแววโดนแบนในสหรัฐ

ท่ามกลางกระแสข่าวเรื่องการแบน TikTok ในอเมริกาวันที่ 19 มกราคมนี้ ทำให้แอปวีดีสั้นจากจีนที่ชื่อว่า Xiaohongshu หรือที่รู้จักกันในชื่อ RedNote ได้รับความนิยมพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ...

Responsive image

Krungthai COMPASS คาด ปี 2568 จะเป็นปีแห่งจุดพลิกผันสำคัญของไทย แม้ GDP จะโตขึ้น มี 5 เรื่องใหญ่ที่ทุกภาคส่วนต้องเร่งปรับตัว

ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ออกรายงานประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2568 โดยคาดการณ์ว่า GDP จะเติบโตขึ้น 2.7% จากปัจจัยด้านการลงทุนของภาคเอกชน มาตรการของรัฐ รวมถึงการท่องเที่ยวที่กำลังจะกลั...