เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ถ้าใครติดตามข่าวสารจะได้ทราบว่าทีมเศรษฐกิจไทย นำโดย รองนายกรัฐมนตรี "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" และคณะ ได้เดินทางไปยังประเทศเกาหลีใต้ นอกจากเชิญชวนต่างชาติมาร่วมลงทุนในบ้านเราแล้ว ยังสั่งการให้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เตรียมนำโมเดลการพัฒนาของเกาหลีใต้ไปปรับใช้
เตรียมตั้งศูนย์บ่มเพาะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ดร.อุตตม สาวนายน กล่าวว่ากำลังพูดคุยกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เพื่อขอเช่าใช้อาคารตลาดหลักทรัพย์เดิมที่ตั้งอยู่ข้างๆ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งถือว่าอยู่ใจกลางเมือง เพื่อสร้างให้เป็นศูนย์บ่มเพาะ Startup แห่งแรกของไทย โดยแนวคิดนี้จะคล้ายกับ Centerof Creative Economy & Innovation (CCEI) ของเกาหลีใต้ อันเกิดจากการร่วมลงทุนของ SK Telecom Samsumg LG Lotte (ลงทุน 50%) รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น (อีกรายละ 25%) นอกจากนี้ก็กำลังศึกษาหามาตรการเพื่อดึงดูดภาคเอกชนมาร่วมลงทุนในการสร้าง CCEI เพื่อกระจายตัวไปยังหัวเมืองใหญ่ๆ ของประเทศ โดยตั้งเป้าว่าจะได้เห็นศูนย์แรกภายใน 5 เดือน นอกจากนี้
การสนับสนุน Startup ตั้งแต่รากฐาน
รัฐบาลกำลังพิจารณาการสนับสนุนในเรื่องอื่นๆ อีก ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญ และเป็นเรื่องที่คอมมูนิตี้และสมาคม Startup ไทยได้รวบรวมกันขึ้นมาเพื่อนำเสนอแก่ภาครัฐ อันได้แก่ 1) การปลดล็อกกฎหมายลงทุน เนื่องจากมีหลายฝ่ายทั้ง Startup และนักลงทุนเล็งเห็นว่ากฏหมายไทยยังไม่ยืนหยุ่นพอ และกลายเป็นทำให้ Startup ไทยต้องหันไปจดทะเบียนตั้งบริษัทที่สิงคโปร์แทน เมื่อถึงจุดที่ต้อง Scale ขยายธุรกิจ 2) การสนับสนุนด้านการศึกษาเพื่อเพิ่มบุคลากรในสายเทคโนโลยีมากขึ้น แก้ปัญหาบุคลากรขาดแคลน 3) สนับสนุนเรื่อง Matching Funds ดังเช่นต่างประเทศ ที่บริหารโดยเอกชนที่มีความเข้าใจในธุรกิจ Startup ซึ่งเงินทุนดังกล่าวมาจากทั้งภาครัฐ และเอกชนในอัตรา 6:1 และคัดเลือกนักลงทุน (VC) ที่ผ่านเกณฑ์เข้าร่วมโครงการและรับสิทธิดังกล่าว
ที่มา ประชาชาติ
ภาพจาก koeraherald
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด