14 แบงก์ไทยร่วม Thailand Blockchain Community Initiative นำ Blockchain ยกระดับธุรกิจของประเทศ | Techsauce

14 แบงก์ไทยร่วม Thailand Blockchain Community Initiative นำ Blockchain ยกระดับธุรกิจของประเทศ

14 ธนาคารในไทย จับมือรัฐวิสาหกิจและองค์กรธุรกิจใหญ่ 7 แห่ง เดินหน้า Thailand  Blockchain Community Initiative เพื่อนำเทคโนโลยี Blockchain มายกระดับประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจของประเทศ โดยเริ่มต้นด้วยโครงการบริการหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์บนระบบ Blockchain สร้างโครงข่ายหนังสือค้ำประกันที่สะดวกปลอดภัยบน Blockchain เป็นครั้งแรกของไทย นำระบบหนังสือค้ำประกันวงเงิน 1.35 ล้านล้านบาท สู่ยุคเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ 100% ลดค่าใช้จ่ายได้ถึง เท่า คาดเริ่มใช้ไตรมาส ปีนี้ ปัจจุบันโครงการดังกล่าวอยู่ในระหว่างทดสอบภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย (Regulatory Sandbox) เพื่อช่วยให้พัฒนาบริการใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นไปอย่างมีมาตรฐานและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้บริการและภาคเศรษฐกิจของประเทศ

ดร. วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ธปท. ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เห็นความร่วมมือในการสร้างชุมชน Blockchain นี้ขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาพรวมของเศรษฐกิจไทย ทั้งในภาคธนาคารที่เข้าร่วมโครงการและภาคธุรกิจ โดยการใช้เทคโนโลยีศักยภาพสูงอย่าง Blockchain ที่สามารถเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกรรมทางการเงินในหลายมิติ และปัจจุบันมีการนำมาใช้ในหลากหลายด้าน อีกทั้งโครงการนี้ก็อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยกลไก Regulatory Sandbox เพื่อทดสอบนวัตกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ จากความร่วมมือในการสร้างชุมชน Blockchain นี้ภาคธนาคารจะสามารถใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี Blockchain ร่วมกัน โดยไม่ต้องลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีเองทั้งหมด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการให้บริการ สำหรับภาคธุรกิจจะช่วยลดความซ้ำซ้อนในการเชื่อมต่อบริการเดียวกันที่มีกับต่างธนาคาร สามารถตรวจสอบข้อมูลในระบบเครือข่ายที่ใช้งานร่วมกัน ลดความเสี่ยงการปลอมแปลงข้อมูล เพิ่มความรวดเร็วและความปลอดภัยในการใช้งาน นับเป็นปรากฎการณ์อันดียิ่งในการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน พร้อมทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น

คุณปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ในปี 2560 ตัวเลขประมาณการของประเทศไทยที่ออกหนังสือค้ำประกันผ่านระบบธนาคารพาณิชย์มูลค่ารวมกว่า 1.35 ล้านล้านบาท คิดเป็นจำนวนมากกว่า 500,000 ฉบับ ขยายตัวจากปีที่ 2559 8% ในจำนวนนี้เป็นการออกเอกสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณ 15-20% ดังนั้นโดยภาพรวมระบบเศรษฐกิจไทยยังคงพึ่งพาการออกหนังสือค้ำประกันในรูปแบบเอกสารที่เป็นกระดาษอยู่เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายและภาระในการจัดการด้านเอกสาร ทั้งสำหรับธนาคารผู้ออก และภาคธุรกิจผู้ใช้งานหนังสือค้ำประกัน

Thailand Blockchain Community Initiative ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อนำเทคโนโลยีขั้นสูงอย่าง Blockchain มายกระดับภาคธุรกิจไทย ประกอบด้วยความร่วมมือของธนาคาร 14 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารทิสโก้ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารธนชาต ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารยูโอบี ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด(ไทย) และธนาคารออมสิน และธุรกิจขนาดใหญ่ 7 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล บจก. พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง บมจ. ไออาร์พีซี และ เครือปูนซิเมนต์ไทย โดยมีบริษัทผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยสนับสนุนด้านเทคโนโลยี ให้คำปรึกษาด้านการจัดการภาพรวมของโครงการ รวมถึงด้านกฎหมาย จำนวน 4บริษัท ได้แก่ แอคเซนเจอร์เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และไอบีเอ็ม นับเป็นรูปแบบความร่วมมือที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

โครงการบริการหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์บนระบบ Blockchain ป็นโครงการแรกภายใต้ Thailand Blockchain Community Initiative ที่ใช้โครงข่ายเทคโนโลยี Blockchain เพื่อรับรองเอกสารหนังสือค้ำประกันที่มีประสิทธิภาพสูง เชื่อถือได้ ปลอดภัย และมีมาตรฐานรูปแบบข้อมูลที่เป็นเอกภาพ นอกจากนี้ ยังเป็นการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ผ่านระบบ Cloud Technology จึงช่วยให้ผู้ใช้งานมีความคล่องตัวสูง เพราะสามารถกำหนดการตั้งค่าใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น รองรับการทำธุรกรรมและตรวจสอบสถานะได้ตลอด 24 ชั่วโมง

คุณปรีดี กล่าวตอนท้ายว่า โครงการบริการหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์บนระบบ Blockchain นี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การใช้เอกสารที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ 100%  ตลอดกระบวนการตั้งแต่เริ่มจนจบโดยไม่ใช้กระดาษ ซึ่งมีความปลอดภัยสูง ตรวจสอบได้ง่าย ปลอมแปลงได้ยาก สะดวกรวดเร็วกว่ารูปแบบเดิม ซึ่งสามารถเข้าตรวจสอบได้ ทุกที่ ทุกเวลา และจะบันทึกประวัติต่อเป็นห่วงโซ่แบบอัตโนมัติทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง เอื้อให้เกิดการเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายธนาคารและภาคธุรกิจต่างๆ เพิ่มขึ้นได้ในอนาคต

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...