เร่งอัปสกิลด่วน ไทยเสนอ Visa 10 ปี สำหรับนักลงทุนและแรงงานฝีมือ หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ-ดึงดูดต่างชาติสู่ไทย | Techsauce

เร่งอัปสกิลด่วน ไทยเสนอ Visa 10 ปี สำหรับนักลงทุนและแรงงานฝีมือ หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ-ดึงดูดต่างชาติสู่ไทย

ประเทศไทยเตรียมเปิดตัว วีซ่าระยะยาวถึง 10 ปี (Long-Term Visa) สำหรับกลุ่มนักลงทุนและกลุ่มแรงงานทักษะขั้นสูง ในเดือนกันยายน 2022 นี้ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง โดยตั้งเป้ากระตุ้นเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับ Advanced Economies อันได้แก่ ภาคส่วนสำคัญอย่างรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีชีวภาพเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันให้แก่ประเทศภายในห้าปีต่อจากนี้ โดยประเทศที่เป็นเป้าหมายแรก ได้แก่ญี่ปุ่น ที่โดดเด่นในอุตสาหกรรมดังกล่าว

เร่งอัปสกิลด่วน ไทยเสนอ Visa 10 ปี สำหรับแรงงานฝีมือและนักลงทุน หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ-ดึงดูดต่างชาติสู่ไทย

หลังจากช่วงต้นปีครม.มีการร่างประกาศกระทรวงเกี่ยวกับการพำนักระยะยาว (Long-Term Resident Visa: LTR Visa) เพื่อรองรับการขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย โดยล่าสุดเตรียมประกาศเปิดตัวเป็นทางการในเดือนกันยายน 2022 นี้

นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ Nikkei Asia ว่า "วีซ่าผู้พำนักระยะยาวนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อรองรับการเสริมสร้างทรัพยากรบุคคลจากต่างประเทศที่มีศักยภาพและทักษะสูง" สามารถสมัครได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2022 นี้เป็นต้นไป โดยมีการคาดการณ์ผลกระทบทางเศรษฐกิจว่าโดยเฉลี่ยแล้วผู้ถือวีซ่าจะใช้จ่าย 1 ล้านบาทต่อคน คณะกรรมการคาดการณ์ว่าจะเกิดการบริโภคและการลงทุนประมาณ 1 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 27.6 พันล้านดอลลาร์

"ไทยกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทหรือสถาบันวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหรือเทคโนโลยีมากกว่า 10 ประเภท เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ยารักษาโรค และการป้องกันประเทศ โดยลูกจ้างของบริษัทต่างชาติเหล่านี้ที่ต้องการทำงานทางไกล สามารถสมัครโปรแกรมวีซ่านี้และทำการย้ายมาที่ประเทศไทยได้ นอกจากนี้ผู้ที่มีทรัพย์สินทางการเงินมากกว่า 1 ล้านดอลลาร์และเกษียณอายุในวัย 50 ปีขึ้นไป หรือมีรายได้จากเงินบำนาญก็สามารถสมัครได้เช่นกัน"

ผู้สมัครที่ผ่านการอนุมัติจะได้รับใบอนุญาตทำงานดิจิทัล (Digital Work Permmit) โดยรัฐบาลจะลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คาดการณ์ว่าจะอยู่ในอัตรา 35% เหลือ 17% สำหรับผู้ถือวีซ่าทุกคน ในส่วนบริษัทต่างๆ จะได้รับการยกเว้นจากกฎเกณฑ์เดิมที่ให้จ้างชาวไทยสี่คนต่อพนักงานต่างชาติหนึ่งคน ซึ่งเป็นข้อบังคับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเพื่อคุ้มครองแรงงานในประเทศ ซึ่งการยกเว้นนี้ได้เพื่อให้โครงการวีซ่ารูปแบบใหม่นี้ใช้ได้กับบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง รวมถึงบริษัทสตาร์ทอัพ

วีซ่าใหม่นี้จะเป็นวีซ่าประเภทที่สามของประเทศไทยที่มุ่งดึงดูดผู้เชี่ยวชาญหรือนักลงทุนที่มีทักษะสูง ในบรรดา 2 โครงการที่มีอยู่ โดยในช่วง 60 ปีที่ผ่านมาโครงการอำนวยความสะดวกด้านใบอนุญาตทำงานสำหรับชาวต่างชาติในประเทศไทยสามารถดึงดูดผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญของบริษัท 50,000 คนจากญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ และประเทศอื่นๆ เช่น โปรแกรม Smart Visa ซึ่งให้การเข้าพักสูงสุด 4 ปี เปิดตัวในปี 2018 โดยให้วีซ่าแก่ผู้คนประมาณ 1,200 คน คนเหล่านี้จำนวนมากเป็นนักลงทุนหรือผู้ประกอบการที่มีทักษะด้านดิจิทัลและมาจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป

การออกวีซ่าระยะยาวใหม่ของประเทศไทยเกิดขึ้นท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้นภายในภูมิภาคเพื่อเสริมสร้างอุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานใหม่ เนื่องจากต้องเร่งฟื้นฟูอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบในช่วงการระบาดใหญ่ ซึ่งการเสนอวีซ่าและมาตรการพิเศษรูปแบบต่าง ๆ  เพื่อดึงดูดผู้คนและกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นแนวทางที่หลายประเทศดำเนินการในตอนนี้ 


ที่มา

Thailand to introduce 10-year visa for skilled workers, investors 

Non – Immigrant Visa “O - X” (Long Stay 10 years)


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

RELATED ARTICLE

Responsive image

นักการเมืองแอบใช้ ChatGPT ร่างกฏหมาย และสภาเมืองพิจารณาให้ผ่าน

กฏหมายควบคุม AI ยังไม่เกิด และ AI ดันร่างกฏหมายเองได้ก่อนซะงั้น นักการเมืองท้องถิ่นบราซิลใช้ ChatGPT ร่างกฏหมายใหม่ขึ้นมา และที่น่าตกใจคือร่างกฏหมายฉบับนั้นผ่านด้วย...

Responsive image

‘Imagine with Meta’ AI เจนภาพจาก Prompt ใช้งานฟรีบนเว็บไซต์ พร้อมป้องกัน AI เจนภาพไม่เหมาะสม

Meta เปิดตัว "Imagine with Meta" AI gen รูปจาก Prompt ประสบการณ์ใหม่ของการเจนรูปบนเว็บไซต์ที่เปิดให้ใช้งานได้ฟรี...

Responsive image

Gemini โมเดล AI ทรงพลังที่สุดจาก Google พร้อมความสามารถสุดลํ้าที่เหนือกว่า GPT-4

Google เปิดตัว Gemini โมเดล AI ที่ทรงพลังที่สุดจาก Google ก้าวสำคัญในการพัฒนา AI ด้วยความสามารถหลากหลาย และพร้อมก้าวเป็นคู่แข่งที่สมศักดิ์ศรีของ OpenAI...