- TMB และ ธนชาต แถลงข่าวการรวมกิจการอย่างเป็นทางการหลังเซ็นต์ Non-Binding MOU แย้มผนึกกำลังเพื่อการเติบโต เผยอาจมีการ Rebrand เป็นชื่อใหม่
- กระทรวงการคลังเผยการรวมกิจการสอดรับนโยบายเสริมความแข็งแกร่งภาคการเงินในประเทศ และเสริมขีดการแข่งขันของภาคธนาคาร โดยนำจุดแข็งของทั้งสองมาผนึกกำลังกัน
- New Merge Bank จะถือหุ้นใหญ่โดยกระทรวงการคลัง ING ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ TMB และ TCAP ผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนชาต
- ลูกค้าธนาคารทั้งสองแห่งจะยังคงใช้บริการของธนาคารได้เหมือนเดิม
- New Merge Bank อาจมีการ Relocate สาขา การ Reskill พนักงาน และยังไม่มีการกำหนดโครงสร้างบริหารในตอนนี้
หลังจากที่เราได้อัพเดทรายละเอียดของ MOU ไปสดๆ ร้อนๆ ล่าสุด TMB และ ธนชาต ก็ได้จัดงานแถลงข่าวถึงรายละเอียดการลงนามบันทึกข้อตกลงแบบไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย โดยผู้บริหารจาก TMB และ ธนชาต หรือ TBANK ร่วมด้วยตัวแทนผู้ถือหุ้นหลักจากกระทรวงการคลัง, ING Groep N.V., บมจ. ทุนธนชาต (TCAP) และ Bank of Nova Scotia (BNS)
สำหรับขั้นตอนการรวมกิจการตอนนี้ เพิ่งสิ้นสุดขั้นการลงนามบันทึกข้อตกลงที่ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย ระหว่างคู้สัญญา 5 ฝ่าย ได้แก่ BNS, ING, TBANK, TCAP และ TMB ไปเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยขั้นตอนหลังจากนี้ คือการเริ่มต้นตรวจสอบสถานะทางการเงิน (Due Diligence) ต่อด้วยการเจรจาร่วมกันเกี่ยวกับสัญญาหลัก (Definitive Agreement) ระหว่างคู่สัญญา จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการผนึกการบริหารและดำเนินธุรกิจโดยคาดว่าจะใช้วิธีการโอนกิจการทั้งหมด (Entire Business Transfer) ซึ่งคาดว่าทั้งหมดนี้เสร็จสิ้นอย่างเร็วที่สุดภายในสิ้นปี 2019
ทั้งนี้ การรวมกิจการอาจนำไปสู่การ Rebrand ธนาคารทั้งสอง โดยอิงจากจุดแข็งของทั้งคู่ ซึ่งในที่นี้ขอเรียกว่า New Merge Bank
ในงานแถลงข่าว ตัวแทนผู้บริหารและผู้ถือหุ้นหลักประกอบด้วย คุณจุมพล ริมสาคร รองปลัดกระทรวงการคลังและตัวแทนประธานกรรมการบริหาร TMB, Mr.Phillipe Damas ประธานกรรมการบริหาร TMB, คุณศุภเดช พูนพิพัฒน์ ประธานกรรมการบริหารจาก TCAP, Mr.Mark Newman Head of Challeng and Growth Market Asia ING, คุณสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ กรรมการผู้จัดการใหญ่ TCAP, คุณปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TMB และ คุณประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต หรือ TBANK ได้ร่วมกันตอบคำถามข้อสงสัยโดยแบ่งออกเป็นประเด็นต่างๆ ดังนี้
- ลูกค้ายังคงใช้บริการทั้งสองแห่งได้เช่นเดิม รวมถึงพนักงานและผู้บริหารจะทำหน้าที่เดิม และตอนนี้ยังไม่มีการกำหนดโครงสร้างผู้บริหารใหม่
- สำหรับการบริหารทรัพยากรและบุคลากรที่มีร่วมกันนั้น ต้องมีการ Relocate สาขาที่ซ้ำซ้อนกัน และการ Reskill พนักงานให้พร้อมรับมือ Digital โดยธนาคารจะมีสาขารวมกันประมาณ 900 สาขา และมีพนักงานรวมกันเกือบ 20,000 คน
- กระทรวงการคลัง, ING และ TCAP จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ New Merge Bank โดย ING และ TCAP จะถือหุ้นเป็นสัดส่วนมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ด้านสัดส่วนที่แน่นอนจะประกาศหลังจบการเจรจาร่สมกันเกี่ยวกับสัญญาหลัก
- กระทรวงการคลังกล่าวว่า การรวมกิจการครั้งนี้เป็นการเสริมความแข็งแกร่งของระบบการเงินของประเทศ และช่วยเสริมการแข่งขันของธนาคารพาณิชย์ สอดรับนโยบายของกระทรวงการคลังที่ต้องการให้ภาคการเงินแข็งแกร่งและเติบโตในภาพรวม และพร้อมเพิ่มทุนเพื่อเสริมการควบรวมกิจการครั้งนี้ให้สำเร็จ
- ทาง ING มองว่าการรวมกิจการครั้งนี้ของ TMB และ TBANK เป็นโอกาสที่ดีอยู่ ทุกวันนี้ ING เป็นผู้สนับสนุน Digital Solution ของ TMB โดยมองว่า New Merge Bank จะยังคงแข่งขันในตลาดได้
- ทาง TCAP กล่าวว่า การรวมกิจการครั้งนี้ ช่วยเสริมความเป็น Financial Holding Company ชั้นนำของไทย ทั้งยังเป็นการเพิ่มฐานลูกค้าและนำเสนอ Product and Service ได้อย่างครบวงจรมากขึ้น
- TBANK จะดำเนินการปรับโครงสร้างโดยเสนอขายหุ้นในบริษัทย่อยแก่ผู้ถือหุ้นหลักได้แก่ TCAP และ BNS กับรายย่อย ก่อนขั้นตอนการถ่ายโอนกิจการทั้งหมด
- TMB เป็นผู้จัดหาเงินทุนมุลค่าราว 140,000 ล้านบาท โดยมาจากการออกหุ้นเพิ่มทุน 70 เปอร์เซ็นต์ แก่ผู้ลงทุนหลักและผู้ถือหุ้นปัจจุบันของธนาคาร ส่วนที่เหลือมาจากการออกตราสารหนี้
- ทั้งนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดหลังจากทำ Due Diligence ซึ่งต้องติดตามกันต่อไป