3 ปัญหาโลกแตกที่ SME หรือ Startup เจอกันมาตลอดในการหาพนักงานใหม่พร้อมวิธีแก้ | Techsauce

3 ปัญหาโลกแตกที่ SME หรือ Startup เจอกันมาตลอดในการหาพนักงานใหม่พร้อมวิธีแก้

การมีธุรกิจขนาดเล็ก หรือ สตาร์ทอัพที่สำเร็จได้ สิ่งที่คุณจะมองข้ามไปไม่ได้เลยคือการหาพนักงานคนเก่งเข้ามาช่วยขับเคลื่อนให้บริษัทของคุณเดินหน้า แต่การหาคนที่ใช่ พนักงานที่ดีๆ มันใช่ว่าจะหาง่ายกันซะที่ไหน พวกเราชาว SME ก็เจอปัญหาน่าปวดหัวกันเรื่องนี้กันมาตลอดในการหาพนักงาน แต่มี 3 ปัญหายอดฮิตที่ SME หรือ Startup เจอกันมาตลอดตั้งแต่รุ่นพ่อยันรุ่นปัจจุบัน มันคืออะไรเราไปดูกัน

การมีธุรกิจขนาดเล็ก หรือ สตาร์ทอัพที่สำเร็จได้ สิ่งที่คุณจะมองข้ามไปไม่ได้เลยคือการหาพนักงานคนเก่งเข้ามาช่วยขับเคลื่อนให้บริษัทของคุณเดินหน้า แต่การหาคนที่ใช่ พนักงานที่ดีๆ มันใช่ว่าจะหาง่ายกันซะที่ไหน พวกเราชาว SME ก็เจอปัญหาน่าปวดหัวกับเรื่องนี้กันมาตลอดในการหาพนักงาน แต่มี 3 ปัญหายอดฮิตที่ SME หรือ Startup เจอกันมาตลอดตั้งแต่รุ่นพ่อยันรุ่นปัจจุบัน มันคืออะไรเราไปดูกัน

1. Don’t know the best source where to look for a good candidate ไม่รู้ว่าต้องหาคนจากที่ไหนที่ดีที่สุด

บริษัท SME ส่วนใหญ่โดยเฉพาะช่วงเปิดแรกๆ เจ้าของธุรกิจจะต้องเป็นคนหาพนักงานเอง วิธีหาก็หนีไม่พ้นการ ปากต่อปากกันมา หรือไปโพสจ็อบบนเว็บหางาน เช่น JobBKK, Jobtopgun, JobsDB อะไรแบบนี้ซึ่งก็ต้องภาวนากันไปว่าจะได้คนดีๆมาสมัครมั้ย การหาคนแบบนี้เรียกว่าเป็น Passive Recruitment คือ รอ! มันเหมือนการซื้อหวยแล้วรอให้ถูกรางวัลซึ่งก็ไม่รู้จะถูกรึเปล่า

วิธีแก้ ต้องมาฝึกทำ Proactive Recruitment คือออกไปตกปลาหาแคนดิเดทตามที่ต่างๆ ที่แคนดิเดทน่าจะอยู่ เช่นหาจาก ​LinkedIn, Facebook, Twitter การหาตาม Social media นอกจากจะต้องรู้ว่าหายังไง ก็ต้องรู้ด้วยว่าจะพูด หว่านล้อม โน้มน้าวพวกเขาอย่างไรให้เขามาสนใจบริษัทของคุณด้วย

2. Don’t know how to attract top talent ไม่รู้จะดึงดูดให้คนเก่งๆมาทำงานบริษัทเล็กๆ ยังไง

บริษัท ​SME ที่ยังไม่มีชื่อเสียง ไม่ดังเท่าบริษัทใหญ่ ๆ โอกาสที่จะได้มาซึ่งคนเก่งๆก็จะน้อยกว่า สมมุติว่าจะหาพนักงานมาทำงาน เช่นหา Software Developer มาสร้างแอพพลิเคชั่น แล้วอยากได้คนเก่งๆ แต่ก็ไม่รู้จะทำยังไงให้เค้ามาสนใจนอกจากการจ้างที่แพงขึ้น ซึ่งบริษัทก็งบไม่ได้เยอะ สุดท้ายก็ต้องหาคนที่พอถูไถทำได้ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง

วิธีแก้ ถึงจะเล็กกว่า ชื่อเสียงน้อย ก็ไม่ใช่ว่าจะหาคนเก่งๆ ดีๆมาร่วมงานไม่ได้เลยเสมอไป บริษัทต้องขายอย่างอื่น นอกจากการเพิ่มเงินอย่างเดียว เช่นการทำ Employer Branding (การสร้างภาพลักษณ์องค์กร) ให้น่าทำงาน วัฒนธรรมองค์กรดี มีวิถีการทำงานที่น่าสนใจ คุณควรเรียนรู้วิธีการทำ Content Marketing ที่ช่วยให้แคนดิเดทรู้จักคุณมากขึ้น และโน้มน้าวให้พวกเขามาสนใจที่อยากทำงานในบริษัทของคุณ

3. Don’t know who should be hired ไม่รู้จะสัมภาษณ์ยังไง ให้รู้ว่านี่คือ “คนที่ใช่”

เนื่องจากว่าคนที่หาพนักงานในช่วงแรกๆคือ เจ้าของธุรกิจเอง ซึ่งไม่ได้ถนัดเรื่องการหาคน สัมภาษณ์คน ไม่รู้ว่าจะต้องถามอะไรดีเพื่อให้รู้ว่า คนที่สัมภาษณ์อยู่เป็น “คนที่ใช่” หรือ “คนที่ไม่ใช่” สรุปก็เลยใช้อารมณ์ ความรู้สึก ความถูกชะตา หรือแม้แต่โหงวเฮ้ง หรือหน้าตา มาเป็นตัววัด และเดาว่าคนนี้น่าจะเป็น ”คนที่ใช่ “และหยวนๆจ้างมาก็ได้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็น “คนที่ไม่ใช่” และเพิ่มรอยหยักความปวดหัวให้คุณ

วิธีแก้ เจ้าของธุรกิจ หรือบุคคลที่ทำหน้าที่รีครูทต้องฝึกทักษะการสัมภาษณ์คนให้มีหลักการ มีแบบแผน ตัววัดว่าอะไรคือสิ่งที่บริษัทของคุณมองหาในตัวแคนดิเดท ต้องใช้ตรรกะในการมองหาคนที่ใช่มากกว่าความรู้สึก

ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาโลกแตกของคนที่ทำธุรกิจ SME และ Startup ส่วนใหญ่ เจอและเหนื่อยกับมันมาตลอด โดยไม่รู้ว่าจะต้องทำยังไงให้มันดีขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีตัวช่วยซะทีเดียว คุณสามารถที่จะเรียนรู้เพิ่มได้ ผมขอแนะนำและเรียนเชิญผู้ที่สนใจมาเข้าคอร์ส สูตรสำเร็จ เทคนิคการหาพนักงานที่ใช่ สำหรับธุรกิจ SME

Workshop นี้เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับการทำธุรกิจในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะ SME เพราะเน้นความเป็น Lean Recruiting คือทำน้อยแต่ได้มาก ไม่ต้องลงทุนสูง ด้วยเวลาเพียงแค่ 1 วันจะเปลี่ยนตัวคุณผู้ซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจ, ทีมงาน Recruit หรือ HR และผู้สัมภาษณ์งาน ให้มีทักษะการหาคน (Talent Sourcing) และสัมภาษณ์คน (Interviewing Skills) ระดับมืออาชีพ ในการหาพนักงานที่สุดยอดที่จะมาช่วยให้องค์กรของคุณสร้างทีมและการทำงานที่แข็งแกร่งด้วยเวลาที่สั้นลง

คุณจะได้เรียนรู้

  • วิธีการหาพนักงานแบบมืออาชีพ ที่องค์กรชั้นนำใช้กัน
  • วิธีการเอาเทคโนโลยีมาช่วยให้คุณค้นหาคนที่ใช่ได้เร็วขึ้น โดยใช้ค่าใช้จ่ายน้อยลง
  • เรียนรู้แหล่งที่ดีที่สุดในการหาพนักงาน และทำความเข้าใจอย่างละเอียด
  • เรียนรู้การหาพนักงานด้วย Google, Facebook, LinkedIn, และ Social Network อื่นๆอย่างได้ผล
  • การสร้างบัญชี LinkedIn Profile ขั้นสูงให้เกิดความน่าเชื่อถือในการหาพนักงาน
  • วิธีการเขียน Job Description ให้ผู้สมัครที่มีคุณภาพสนใจ
  • ฝึกการเป็นผู้สัมภาษณ์ที่มีความมั่นใจ ดูเป็นมือโปร รู้ว่าควรถามอะไร ไม่ควรถามอะไร ตอนสัมภาษณ์
  • สร้าง Employer brand (ภาพลักษณ์องค์กร) ให้ธุรกิจของคุณ ต้องทำอย่างไร
  • วิธีการทำ Content Marketing เพื่อโปรโมทธุรกิจของคุณ
  • ดูผู้สมัครงานอย่างไร ให้รู้ว่าคนนี้เป็นคนที่ใช่ อยู่นาน และมีประสิทธิภาพ
  • วิธีการตัดสินใจเลือกคน ถ้าเจอคนเก่งถึงสองหรือสามคนพร้อมกัน

รายละเอียด Workshop

  • วันที่: วันพฤหัสที่ 23 สิงหาคม 2561
  • เวลา: 09.30 น. – 17.00 น. (เริ่มลงทะเบียนเวลา 09:00 – 09:30 น.)
  • สถานที่: Jasmine City Hotel Bangkok @ Asoke (Sukhumvit 23)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก! https://goo.gl/p3e6zZ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...