นักลงทุนมองดีลควบรวม True-Dtac ลดช่องว่างส่วนแบ่งตลาด | Techsauce

นักลงทุนมองดีลควบรวม True-Dtac ลดช่องว่างส่วนแบ่งตลาด

นักลงทุนมองดีลควบรวม True-Dtac ลดช่องว่างส่วนแบ่งตลาด ส่วนความกังวลการฮั้วกันของผู้เล่นน้อยราย ต้องขึ้นกับ กสทช.กำหนดหลักเกณฑ์กำกับหลังการควบรวม ซึ่งมีอำนาจในการกำกับดูแลอยู่แล้ว 

นักลงทุนมองดีลควบรวม True-Dtac ลดช่องว่างส่วนแบ่งตลาด

โดยการควบรวมทรู ดีแทค ถือเป็นการปรับตัวของผู้ประกอบการโทรคมนาคม ที่ก่อนหน้านี้โอเปอร์เรเตอร์ทุกรายได้ประกาศปรับโครงสร้างมาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งทรูและดีแทคจะเป็นกลุ่มล่าสุดที่ออกมาเคลื่อนไหว ด้วยการประกาศการควบรวม ทั้งนี้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมเป็นอุตสาหกรรมที่มีผู้เล่นน้อยรายโดยธรรมชาติ และเป็นเช่นนี้ในทุกประเทศ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนสูง และมีกฎหมาย กฎระเบียบมากมาย 

ทำให้ต้องมีหน่วยงานกำกับดูแล นั่นก็คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ที่มีอำนาจในการดูแลผู้ประกอบการทุกราย ซึ่งในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลก การมีอำนาจเหนือตลาดนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลก ที่จะเห็นได้ในหลายอุตสาหกรรม แต่สิ่งที่สำคัญคือ ต้องมีการกำกับ ไม่ให้นำอำนาจนั้น ไปใช้ในการเอาเปรียบผู้ประกอบการรายอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อต้นปี 61 มีการควบรวมองค์การโทรศัพท์ (TOT) กับ การสื่อสารแห่งประเทศไทย (CAT) 

ซึ่งหลังการควบรวม เป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีอำนาจเหนือตลาด หรือครอบครองปัจจัยการผลิตหรือการเข้าถึงบริการบางประเภท (อาทิ เกตเวย์ระหว่างประเทศ) และ ตลาดค้าปลีกบริการโทรศัพท์ ประจำที่ โดย 

1. ตลาดค้าปลีกบริการโทรศัพท์ประจำที่ภายในประเทศ TOT มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 78.27 และ CAT ร้อยละ 1.73 เมื่อควบรวมแล้วจะมีส่วนแบ่งตลาด 80%  

2. ตลาดค้าปลีกบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ TOT มีมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.9 และ CAT ร้อยละ 64.9 เมื่อควบรวมกันแล้ว มีส่วนแบ่งตลาด ร้อยละ  66.8 เป็นต้น 

ซึ่งการมีอำนาจเหนือตลาดของบริษัทเกิดใหม่ที่ชื่อว่า NT นั้น กสทช.สามารถใช้อำนาจที่มีอยู่กำกับดูแลได้เป็นอย่างดี และเป็นการทำให้ผู้ประกอบการมีความแข็งแรง ดังนั้นกรณีของการควบรวมทรูและดีแทค ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะยังอ้างอิงกฎหมายฉบับเดียวกันที่ออกมาก่อนหน้านี้ถึง 4 ปี ดังนั้น กระบวนการพิจารณา ก็มีหลักการทางปกครองอยู่แล้วซึ่งไม่มีการเลือกปฏิบัติ ดังนั้น  ความท้าทายจึงไปอยู่ที่การกำหนดเงื่อนไขว่า จะทำให้เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียม และ เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคได้อย่างไร และ กสทช. จะดูแลหลังการควบรวมให้มีความโปร่งใสได้อย่างไรบ้าง 

ส่วนมุมมองของนักลงทุน ต่อการควบรวม ทรูและดีแทค ดร.อมรเทพ  จาวะลา   ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เห็นด้วยกับกรณีดีลควบรวมของ ทรู กับดีแทค เพราะภาพรวมทำให้การบริการมีคุณภาพมากขึ้น  ผู้บริโภคได้ประโยชน์ ทั้งนี้การควบรวมนี้มองได้ทั้งมุมที่ส่งผลบวก และ มุมที่ทำให้เกิดความกังวล แต่หากมีการกำกับดูแลหลังการควบรวมที่ดี ก็ทำให้คลายกังวลไปได้  ดร. อมรเทพ กล่าวว่า มุมบวกการควบรวมจะทำให้กิจการที่รวม มีต้นทุนลดลง เนื่องจากลดค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อนลงได้  

และควรนำเงินจากต้นทุนที่สามารถลดลงได้ ไปลงทุนพัฒนา  Product  หรือ Service ใหม่ ๆ ให้ หลากหลายหรือเพิ่ม ทางเลือกและให้ประโยชน์แก่ผู้บริโภค รวมถึงประเทศชาติซึ่งอาจทำให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคม   มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และการให้บริการที่มีคุณภาพมากขึ้นในอนาคต นอกจากนั้น ก็อาจทำให้ผู้ให้บริการรายเล็กมีศักยภาพแข็งแกร่งมากพอที่จะแข่งขันกับรายใหญ่ได้อย่างทัดเทียม  โดยไม่เกิดช่องว่างจากส่วนแบ่งการตลาดที่ห่างกันมากเหมือนปัจจุบัน   แต่ต้องระวังในเรื่องการเลิกจ้างพนักงานในตำแหน่งงานที่ซ้ำซ้อนหลังควบรวม ซึ่งหากทรูและดีแทคประกาศนโยบายดูแลพนักงานให้ชัด ก็น่าจะคลายกังวลไปได้ 

รวมถึงการใช้ต้นทุนที่ลดลงได้ไปใช้สร้างประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้บริหารกิจการ แทนที่จะลงทุนพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่ผู้บริโภค สำหรับมุมมองอีกด้านนั้น การควบรวมจะทำให้มีผู้เล่นในตลาดเหลือน้อยลงอาจทำให้ผู้บริโภคระแวงและไม่มั่นว่าจะมีการแข่งขันกันอย่างแท้จริงหรือไม่  เพราะผู้ประกอบการขนาดใกล้เคียงกัน ทั้ง 2 รายอาจฮั้วกันก็เป็นไปได้  โดยหากผู้เล่นทั้ง 2 รายฮั้วกันทั้งราคาและบริการ 

นั่นหมายถึงผู้บริโภคจะเสียประโยชน์และไม่มีทางเลือกเลยหรือไม่  เพราะหลายอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีผู้เล่นน้อยราย ก็เกิดปัญหาด้านการแข่งขันและการผูกขาดทำให้ผู้บริโภคขาดทางเลือก  ขณะที่การมีผู้เล่นหลาย น่าจะทำให้มีการแข่งขันกันอย่างจริงจัง  เพื่อความอยู่รอดและอาจจับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ในกรณีที่เป็นผู้ประกอบการรายเล็ก 

อย่างไรก็ตาม ความสำคัญอยู่ที่ กสทช. ในการกำกับดูแลหลังการควบรวม ดีลควบรวมระหว่างทรูกับดีแทคนั้น ประเด็นสำคัญน่าจะอยู่ที่ Regulator  และ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่ กสทช.   และกระทรวงพาณิชย์ จะต้องสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภควางใจได้ว่า หากมีการควบรวมแล้ว จะไม่มีการฮั้วกันของผู้เล่น จนทำให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์  โดยจะต้องกำหนดหลักเกณฑ์หรือกติกาคุมเข้ม ผู้เล่นรายใหญ่ ที่มาร์เก็ตแชร์มากที่สุดในตลาดและธุรกิจมีแนวโน้มจะขยายฐานใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ  จนสามารถครอบครองตลาดสูงเกินไป จนกระทบกับผู้เล่นรายเล็ก   เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้เล่นรายใดรายหนึ่งมีขนาดใหญ่มากเกินไป และมีโอกาสครอบงำตลาดได้  

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

4 THAI (For Thailand) Techsauce เผยกลยุทธ์เชื่อมรัฐ เอกชน ดันประเทศไทยเป็น Tech Gateway

Techsauce เผยกลยุทธ์ 4 THAI ผสานรัฐ-เอกชน เร่งไทยเป็น Tech Gateway ของภูมิภาค พร้อมยก Techsauce Global Summit เป็นศูนย์กลางงานเทคโนโลยีระดับโลกจากไทย...

Responsive image

Krungsri Finnovate เปิด 4 ดีลความภาคภูมิใจระดับเอเชีย

Krungsri Finnovate เปิด 4 ดีล แห่งความภาคภูมิใจที่ลงทุนผ่านกองทุน Finnoventure Private Equity Trust I จุดสตารท์วงการ Startup ให้คึกคัก...

Responsive image

สรุป Microsoft Build เยือน ‘ไทย-อินโด-มาเลย์’ ลงทุนประเทศไหน ‘มากที่สุด’

Satya Nadella CEO ของ Microsoft ก็เดินทางมาร่วมแสดงวิสัยทัศน์ในงาน Microsoft Build: AI Day เรามาดูกันว่าในบรรดา 3 ประเทศที่ Microsoft เลือกลงทุนนี้ ใครจะได้อะไรไปบ้าง...