“จับมือกันในยุคความหลากหลาย” บัน คี มูน กล่าวเปิดตัว UN Global Compact Network Thailand

“ร่วมมือกันในยุคแห่งความหลากหลาย” บัน คี มูน กล่าวรับการเปิดตัว UN Global Compact Network Thailand

  • เปิดตัวสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพคแห่งประเทศไทยหรือ Global Compact Network Thailand คุณศุภชัย เจียรวนนท์ รับตำแหน่งนายกสมาคมเครือข่าย พร้อมจับมือเอกชน 38 องค์กร พัฒนาไทยและภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืนหลัก SDGs
  • บัน คีมุน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ แสดงปาฐกถาในงานเปิดตัว ย้ำถึงความสำคัญของการร่วมมือระดับโลก (Global Partnership) ของภาคเอกชน
  • UN Global Compact จัดตั้งเพื่อให้ภาคธุรกิจมีส่วนร่วมกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีสมาชิกกว่า 13,000 องค์กรใน 160 ประเทศทั่วโลก

องค์กรธุรกิจชั้นนำของไทย ร่วมเปิดตัวสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (Global Compact Network Thailand – GCNT) เพื่อร่วมกันในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้มีความสมดุลและยั่งยืน ภายใต้ United Nations Global Compact เครือข่ายของภาคเอกชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีสมาชิกกว่า 13,000 องค์กรใน 160 ประเทศทั่วโลก

คุณศุภชัย เจียรวนนท์ นายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย

คุณศุภชัย เจียรวนนท์ นายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย กล่าวว่า Global Compact Network Thailand เริ่มต้นหารือกันตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2015 จาก 9 องค์กรขยายความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ จนมีทั้งหมด 38 องค์กร โดยหลังจากเกิด Platform ข้างต้นนี้ ทำให้เอกชนทั้งหมดมีเป้าหมายเดียวกัน ตั้งเป้าหมายร่วมกัน วัดผลร่วมกันตามเป้าหมาย SDGs

“โกลบอลคอมแพ็ก เป็นโครงการสำคัญขององค์การสหประชาชาติที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อส่งเสริมให้องค์กรทุกภาคส่วนทั่วโลกตระหนักและ ร่วมกันนำแนวคิดเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในแต่ละประเทศ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ทรงพลัง ยกระดับมาตรฐานการทำธุรกิจอย่างมีธรรมา ภิบาลโดยเน้นแกนหลัก 4ด้าน คือ สิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต องค์กรธุรกิจชั้นนำของไทยที่เล็งเห็นประโยชน์ของโครงการนี้ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกจัดตั้งเครือข่ายในประเทศไทย”

คุณบัน คี มูน อดีตเลขาธิการองค์การสหประชาติคนที่ 8

คุณบัน คี มูน อดีตเลขาธิการองค์การสหประชาติคนที่ 8 ให้เกียรติมาเป็นประธานการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกของสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กในประเทศไทย กล่าวว่า “ผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นผู้นำจากองค์กรชั้นนำของภาคเอกชนไทยจำนวนมากมารวมตัวกันเพื่อสร้างเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กในประเทศไทยและร่วมกันรับภาระอันยิ่งใหญ่ที่สอดคล้องกับแนวทางการทำงานขององค์การสหประชาชาติ  โลกเราในทุกวันนี้กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ซึ่งนำมาซึ่งความไม่มั่นคงและความเสี่ยงหลายประการ  แต่การที่ทุกท่านหันมาร่วมมือกันเป็นแรงขับเคลื่อนการพัฒนาเช่นนี้ เราจะสามารถรับมือกับปัญหาเร่งด่วนที่โลกของเรากำลังเผชิญอยู่ รวมทั้งสามารถสร้างอนาคตที่ดีกว่าวันนี้ได้”

ในยุคสมัยแห่งความหลากหลาย (Diversity) การร่วมมือกันระดับโลก (Global Partnership)จะพาทุกคนไปสู่เป้าหมายคือความยั่งยืน ตามมาตรฐาน SDGs

สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กในประเทศไทย มีสมาชิกที่ร่วมก่อตั้งจากทุกอุตสาหกรรมหลัก  คือ กลุ่มเกษตรและอาหาร ได้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)  บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)  บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด  และบริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันปิโตรเลียม ได้แก่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)   บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)  บริษัท ไทยออยล์  จำกัด (มหาชน)  บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)  บริษัท ปตท. โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)  และ กลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ได้แก่  บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)กลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ได้แก่ บริษัท  แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) กลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ได้แก่ บริษัท พินนาเคิล โฮเต็ลส์ แอนด์ รีสอร์ท จำกัด  กลุ่มอุตสาหกรรมสื่อและสิ่งพิมพ์ ได้แก่บริษัท พริ้นท์ ซิตี้ จำกัด

การดำเนินกิจกรรมของสมาคมฯ จะเน้นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนให้ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ และขับเคลื่อนเชิงกลยุทธ์ภายใต้เป้าหมายหลัก 4 ด้านของโกลบอลคอมแพ็ก คือสิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน การปกป้องสิ่งแวดล้อม และการต่อต้านทุจริต โดยกิจกรรมหลักได้แก่ การจัดฝึกอบรม เกี่ยวกับความรู้ใหม่ๆ และเทรนด์ของโลกด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน การจัดสัมมนาเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ อาทิ แรงงานเด็ก การจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้องค์กรสมาชิก ได้พบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และหารือเรื่องความ ร่วมมือในการดำเนินการต่างๆ ที่จะยกระดับการทำธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ในการดำเนินงานปี 2019 สมาคมฯ มีภารกิจหลักในการให้ข้อมูลแก่องค์กรต่างๆ โดยเฉพาะองค์กรชั้นนำ และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมฯ เพื่อให้เกิดพลังในการเปลี่ยนแปลง  ทั้งนี้ สมาคมฯจะไปตามกลุ่อุตสาหกรรมต่างๆ และหอการค้าแต่ละจังหวัด โดยมีเป้าหมายจะเพิ่มจำนวนองค์กรสมาชิกจาก 40 ราย เป็น 100 รายภายในสิ้นปี 2019 ตลอดจนสนับสนุนและช่วยเหลือให้องค์กรภาคเอกชนไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกของโกลบอลคอมแพ็กขององค์การสหประชาชาติด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...