Rockwell Automation ผู้นำระบบ automation ระดับโลก เสนอแนวทางการปรับตัวในภาวะ VUCA สำหรับอุตฯ ซัพพลายเชน | Techsauce

Rockwell Automation ผู้นำระบบ automation ระดับโลก เสนอแนวทางการปรับตัวในภาวะ VUCA สำหรับอุตฯ ซัพพลายเชน

rockwell automation

คุณ Chandramouli K.L. ที่ปรึกษาอาวุโสด้านอุตสาหกรรมของ Rockwell Automation นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้เล่นในห่วงโซ่อุปทานสามารถสร้างความยืดหยุ่นท่ามกลางภาวะที่เต็มไปด้วยความผันผวน (volatility), ความไม่แน่นอน (uncertainty), ความซับซ้อน (complexity) และความคลุมเครือ (ambuiguity) หรือ VUCA ทั้งนี้ Rockwell Automation Inc. (NYSE: ROK) เป็นผู้นำระดับโลกด้านระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ความคิดเห็นต่อไปนี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว ไม่ได้สะท้อนถึงความคิดเห็นของ Rockwell Automation โดยรวมเสมอไป

ในขณะที่การระบาดรอบที่ 3 ของโควิด-19 กำลังดำเนินไปนั้น บรรดาผู้ผลิตไม่ว่าจะอยู่ในภูมิภาคใดหรือภาคส่วนใดก็ตาม ต่างประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ ชิ้นส่วนขั้นกลาง รวมถึงส่วนประกอบอื่น ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางธุรกิจของลูกค้าปลายทาง นอกจากนี้ ปัญหาคอขวดในด้านการคมนาคมขนส่ง การโจมตีที่สร้างความเสียหายมหาศาลของแรนซัมแวร์ ตลอดจนการขาดแคลนแรงงาน ล้วนกระทบต่อระบบห่วงโซ่อุปทานทั่วทั้งโลก

เพื่อแก้ไขปัญหา VUCA ผู้เล่นในห่วงโซ่อุปทานสามารถนำแนวทาง 3 ประการที่สำคัญไปปรับใช้ ดังนี้

1. กระบวนการผลิตที่ยืดหยุ่นช่วยลดขั้นตอนในการตอบสนอง

ในช่วงที่โควิด-19 ระบาดนั้น มีความท้าทาย 3 ประการที่ผู้ผลิตมักเผชิญอยู่บ่อยครั้ง ได้แก่ ความต้องการของลูกค้า ความพร้อมของวัสดุ รวมถึงการสรรหาแรงงานและการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งมีแรงหนุนจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ดี ความท้าทายเหล่านี้ยังพบในภาคอุตสาหกรรมด้วย ในขณะที่ความต้องการปิโตรเลียม ไม้ เหล็ก และเซมิคอนดักเตอร์เกิดความผันผวนเนื่องจากการมาตรการล็อกดาวน์ทั่วโลก

การผสานการผลิตที่ยืดหยุ่นเข้ากับซัพพลายเออร์ที่ได้รับพัฒนามีความสำคัญต่อการแสวงหาโอกาสในภาคส่วนนี้ โดยซัพพลายเออร์ควรใช้ระบบการจัดการการปฏิบัติงานด้านการผลิต (MOM) ในระดับโลกระบบเดียว เพื่อแก้ไขปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ รูปแบบการทำงานที่ขาดความยืดหยุ่นก็ควรได้รับการออกแบบใหม่ โดยปรับปรุงการควบคุมและการตอบสนองที่เอื้อให้ผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนรุ่นและผลิตภัณฑ์ได้รวดเร็ว เมื่อผสานการดำเนินงานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน MOM ช่วยให้ผู้เล่นในอุตสาหกรรมสามารถรับมือความติดขัดได้มีประสิทธิภาพ โดยแจ้งให้ผู้เล่นเหล่านั้นทราบถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านการประกอบชิ้นส่วน ความต้องการด้านการฝึกอบรมในองค์กร รวมถึงปัญหาอื่น ๆ

การทำงานเชิงบูรณาการกับซัพพลายเออร์ให้มากขึ้นก็สำคัญเช่นกัน โดยร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและผู้รับเหมาเพื่อพัฒนาโมดูลที่ประกอบมาเสร็จแล้ว แทนการแกะจากกล่องแล้วมาประกอบ ตัวอย่างเช่น ลูกค้ารายหนึ่งของเราซึ่งเป็นผู้ผลิตของเล่นที่มีโรงงานอยู่ทั่วเอเชีย ได้ทำการออกแบบสินค้าใหม่โดยแชร์แบบจำลองและรูปทรงที่สร้างขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยออกแบบ (CAD) โดยส่งให้แบบเรียลไทม์ถึงนักออกแบบ วิศวกร ซัพพลายเออร์ และนักการตลาด พร้อมร่วมมือกับทีมฝ่ายบริหารเพื่อสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลให้สามารถทำงานร่วมกันได้ภายในทีม ทำให้สามารถลดเวลาในการจัดการข้อมูลและการทำธุรกรรมลดลงไปได้ 30% จึงช่วยร่นระยะเวลาที่ใช้ในกระบวนการ และลดต้นทุนลงได้

2. การจัดการพนักงานที่อัจฉริยะกว่าเดิม

ผลกระทบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คือการขาดแคลนพนักงานอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ นายจ้างจำนวนมากยังเผชิญปัญหาพนักงานที่มีทักษะทางอุตสาหกรรมน้อยในจำนวนมากขึ้น มีพนักงานใหม่และไม่คุ้นชินกับหน้าที่มากขึ้น รวมถึงปัญหาในการจัดตารางเข้ากะที่มีค่าใช้จ่ายสูง

การเพิ่มขีดความสามารถแรงงานและเทคโนโลยีสนับสนุนแรงงานเข้ามามีบทบาทสำคัญมากกว่าที่เคย โดยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจความพร้อมและทักษะของพนักงานได้ดียิ่งขึ้น พร้อมสร้างแบบจำลองเพื่อกำหนดการจัดการทรัพยากรที่เหมาะสมสำหรับการใช้อุปกรณ์และกระบวนการที่ซับซ้อน ณ เวลาที่กำหนด สิ่งนี้ช่วยยกระดับการทำงาน รวมถึงประสิทธิภาพและความพึงพอใจของพนักงาน นอกจากนี้ หุ่นยนต์อัตโนมัติยังสามารถช่วยทำงานง่าย ๆ ที่ต้องทำด้วยตนเอง เพื่อให้พนักงานเข้าถึงเพื่อนร่วมงานจากตลาดต่าง ๆ เพื่อยกระดับการแบ่งปันความรู้และการฝึกอบรม ขณะเดียวกันก็รักษามาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมด้วย

3. การวิเคราะห์ช่วยรับมือปัญหาขาดแคลนวัสดุ

ปัญหา VUCA ที่เกี่ยวข้องกับความคลาดเคลื่อนของวัตถุดิบ เช่น การขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตรถยนต์ สามารถจัดการได้ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบของซอฟต์แวร์การจัดการวงจรผลิตภัณฑ์ (PLM) การควบคุมเชิงทำนายแบบจำลอง (MPC) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแม้แต่ฟังก์ชัน "วิศวกรรมความโกลาหล" ที่จำลองปัญหาในกระบวนการผลิต ก็ช่วยให้ผู้ผลิตปรับตัวได้มากขึ้น

PLM เป็นแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อน ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนแกนหลักของการจัดการต่าง ๆ โดยผู้ใช้สามารถใช้ข้อกำหนดการผลิตดิจิทัล ฟังก์ชันการจัดการแรงงาน และการแสดงภาพชั้นสูง เพื่อเชื่อมต่อวงจรการผลิตและวงจรชีวิตอุปกรณ์ของตนเองเข้ากับระบบตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ควบคุมการเปลี่ยนแปลงได้

เครือข่ายซัพพลายที่รองรับกับอนาคต เพื่อส่งเสริมความยืดหยุ่นในระยะยาว

เมื่อการเปลี่ยนแปลงคือสิ่งเดียวที่แน่นอน ความรับผิดชอบจึงอยู่ที่ผู้เล่นในซัพพลายเชนในการเปลี่ยนสู่ดิจิทัล เพื่อรับมือกับ VUCA และเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบอื่น ๆ การสร้างความคล่องตัว ความยืดหยุ่น และความยั่งยืนที่มากกว่าเดิมเข้าในกระบวนการซัพพลายเชน ช่วยเร่งการเข้าถึงข้อมูลที่จัดการได้ ช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ ตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อเกิดปัญหา


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

LINE SCALE UP เปิดรับสตาร์ทอัพทั่วโลก ต่อยอดธุรกิจกับ LINE ก้าวสู่ระดับสากล

LINE SCALE UP เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน LINE Thailand Developer Conference 2024 ที่ผ่านมา เฟ้นหาสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ และพร้อมต่อยอดธุรกิจร่วมกับ LINE สู่เป้าหมายยกระดับธุรกิจสตา...

Responsive image

MarTech MarTalk 2024 EP.3 จากต้นกล้าสู่ความสำเร็จ ด้วยการพัฒนาคนและ MarTech

ChocoCRM จัดงานใหญ่ส่งท้ายปีกับงาน MarTech MarTalk 2024 EP.3 From Seeds to Success: Driving Business Growth with People and Marketing Technology ได้รับการตอบรับดีอย่างต่อเนื่องเป็น...

Responsive image

ทีทีบี เปิดตัว ttb smart shop พร้อม “ปังปัง” มังกรน้ำเงินมงคล ผู้ช่วยร้านค้าแบบครบวงจร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี นำโดย นายศรัณย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ พร้อมด้วย นางกนกพร จูฑา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าบริหารผลิตภัณฑ์ธุรกิจ เปิดตัวฟีเจอร...