สรุปเวทีผู้นำ ABIS 2019 เผยเศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียนเติบโต คาดภายในปี 2025 โตก้าวกระโดด 3 เท่า | Techsauce

สรุปเวทีผู้นำ ABIS 2019 เผยเศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียนเติบโต คาดภายในปี 2025 โตก้าวกระโดด 3 เท่า

สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ร่วมเป็นเจ้าภาพในจัดการประชุมสุดยอดผู้นำธุรกิจ ASEAN Business and Investment Summit 2019  หรือ ABIS 2019 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2019 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี  โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งผู้นำประเทศ ผู้นำธุรกิจจากประเทศในอาเซียน ผู้แทนจากองค์กรระหว่างประเทศ และสื่อมวลชนให้ความสนใจเข้าร่วมงานรวมกว่า 1,200 คน โดยเวทีดังกล่าวถือเป็นเวทีคู่ขนานสำคัญของการจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2019 ซึ่งเป็นวันที่ 2 ของการประชุมสุดยอดผู้นำธุรกิจ ABIS2019 ได้รับเกียรติจาก  คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเปิดงาน

คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่าต้องชื่นชมต่อภาคเอกชนที่ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาประชาคมอาเซียนไปสู่ยุค 4.0 หรือยุคดิจิทัล เนื่องจากปัจจุบัน คงไม่สามารถปฏิเสธได้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างรวดเร็ว ที่ส่งผลให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสามารถทำได้ในทุกที่และทุกเวลา การติดต่อสื่อสารทำได้อย่างไร้ขีดจำกัด ตลอดจนทำให้เกิดการเข้ามาทดแทนแรงงานมนุษย์โดยปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์

“การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ผมได้กล่าวถึงข้างต้นยังส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบการค้า การบริการ การบริโภคและการผลิต ซึ่งก่อให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่ แต่ในทางกลับกัน เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ก็ส่งผลให้ธุรกิจแบบดั้งเดิมที่ปรับตัวไม่ทันต้องทยอยปิดตัวลง หากมองย้อนมาในภูมิภาคอาเซียน เศรษฐกิจดิจิทัล มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2018 มีมูลค่าสูงถึง 7.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2017 ที่มีมูลค่าราว 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และในอีก 6 ปีข้างหน้า หรือในปี 2025 เศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคถูกคาดการณ์ว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่าตัว” คุณจุรินทร์กล่าว

รองนายกรัฐมนตรี ยังชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าของความร่วมมือที่เกิดจาก ความตระหนักถึงบทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของเทคโนโลยีดิจิทัลของอาเซียนที่จะนำมาซึ่งโอกาสทางเศรษฐกิจต่อประเทศสมาชิก จึงได้มีการดำเนินงานเพื่อมุ่งไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน อาทิ 

1) การจัดทำความตกลงพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน 

2) การจัดทำกรอบบูรณาการด้านดิจิทัลของอาเซียน ซึ่งเป็นแผนดำเนินงานเชิงบูรณาการทางดิจิทัลในภูมิภาค โดยเน้นการอำนวยความสะดวกทางการค้า การคุ้มครองข้อมูล การพัฒนาระบบชำระเงิน การพัฒนาทักษะของบุคลากร และการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาธุรกิจ 

3) การจัดทำแนวทางการพัฒนาแรงงานมีทักษะและผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อรับมือกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4IR) ซึ่งภาคเอกชนได้มีบทบาทนำในการผลักดันการจัดทำแนวทางดังกล่าว

คุณสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมอาเซียนสู่เศรษฐกิจดิจิทัลว่า สิ่งที่ขาดหายไปเวลาพูดถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรืออาเซียน 4.0 นอกจาก คือภาพในปลายทางว่าเศรษฐกิจดิจิทัลและเทคโนโลยีจะนำพาเราไปสู่สิ่งดี ๆ อะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น เรื่องของการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทุกคนจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตนเองได้ ผ่านการศึกษา การเงิน หรือ ระบบสาธารณสุขที่ดีขึ้นและในที่สุดจะนำไปสู่การเพิ่มรายได้ในระยะยาว เรื่องของธุรกิจขนาดเล็กที่เป็นแหล่งจ้างงานสำคัญของประเทศจะสามารถใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงธุรกิจเข้ากับตลาดได้อย่างไร เรื่องของเกษตรกรที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้น หากสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับตลาดและสภาพอากาศ เรื่องของพลังงานสะอาดที่จะทำให้สภาพสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของผู้คนดีขึ้น

“หากหันกลับมาดูอาเซียนจะพบว่าในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานอย่างการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตหรือมือถือถือว่าอยู่ในระดับสูง แต่ในแง่ของการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ยังตามไม่ค่อยทัน นั้นแปลว่าแม้ว่าเราจะใช้งานดิจิทัลมาก แต่โดยพื้นฐานเราไม่ได้สร้างงานหรือเตรียมแรงงานของเราที่จะรองรับงานที่เกิดจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ แล้วมันก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าที่เทคโนโลยีดิจิทัลเหล่านี้จะทำลายงานจำนวนมากไปด้วยในอีกด้านหนึ่ง ดังนั้น สิ่งสำคัญคือเราต้องเตรียมพร้อมคนรุ่นใหม่เหล่านี้ ซึ่งมากกว่าครึ่งของอาเซียนยังอายุน้อยกว่า 30 ปี ให้พร้อมทำงานในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านั้น” คุณสุรเกียรติ์กล่าว

คุณอรินทร์ จิรา ประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN Business Advisory Council: ASEAN-BAC) กล่าวว่า ในการประชุมสุดยอดผู้นำธุรกิจ ABIS2019 ที่จัดขึ้นตลอด 2 วันที่ผ่านมาภายใต้แนวคิด Empowering ASEAN 4.0 สอดคล้องกับแนวคิดหลักของสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN-BAC) ที่ต้องการสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการดำเนินการของประชาคมอาเซียนในปี 2562  โดยการประชุมมีการนำเสนอประเด็นสำคัญครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่  

1. Digital Infrastructure การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี 

2. Digital Connectivity  การสร้างความเชื่อมโยงทางด้านดิจิทัล เพื่อรองรับการค้า การลงทุนในอาเซียน 

3. Human Empowerment and Development การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดความสามารถใหม่และลดปัญหาการว่างงานในอาเซียน 

4. MSME ผลักดันให้ผู้ประกอบการ MSME เข้าถึงนวัตกรรมและเงินทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน 

ทั้งนี้บรรดาผู้นำประเทศและผู้นำธุรกิจในอาเซียน ยังได้เสนอแนวทางต่างๆ โดยเน้นย้ำเรื่องความเป็นปึกแผ่นของอาเซียนในการเจรจาระหว่างประเทศ การสร้างความร่วมมือผ่านระบบ NSW (National Single Window) ในอาเซียนให้เป็นหนึ่งเดียว  การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจภายในอาเซียน เพื่อสร้างความเข้มแข็งของอาเซียนรับมือกับสงครามทางการค้า นอกจากนี้อาเซียนควรการพัฒนากฎระเบียบใหม่ๆเพื่อดึงดูดนักลงทุน ตลอดจนการพัฒนาทักษะใหม่แก่แรงงาน โดยเฉพาะทักษะที่เกื้อหนุนกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ และ สนับสนุนให้เกิดการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ที่จะสามารถสร้างประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจและเป็นรากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจอาเซียนในอนาคต

“ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะครบรอบ 5 ปีในปีหน้ายังเป็นชุมชนที่อายุน้อยมากซึ่งต้องการการดูแลและการเอาใจใส่ เช่นเดียวกับเด็กเล็ก ๆ นั้นควรจะได้รับความสนใจ ความอดทน ความเข้าใจและความรัก แน่นอนว่าเงินและทรัพยากรจํานวนมากจะต้องได้รับ แต่น่าเศร้าที่สนามเด็กเล่นรอบข้างตอนนี้ไม่ได้เป็นมิตร ความปลอดภัย และเอื้อให้เศรษฐกิจเติบโต จากสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ สงครามการค้า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการรวมตัวและยกระดับเศรษฐกิจ การที่อาเซียนจะรวมตัวและแข็งแกร่งมีได้เพียงต้องยึดมั่นรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแน่นแฟ้นเท่านั้น รวมทั้งเป็นเสียงและพลังเพื่อสิ่งที่ดีและความสงบสุขของเศรษฐกิจโลก” คุณอรินทร์ กล่าว



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

GMM Music เผย Digital Streaming ตัวเร่งสำคัญในการเติบโตของอุตสาหกรรมเพลงไทย

อุตสาหกรรมเพลงไทยยุคดิจิทัล
อุตสาหกรรมเพลงไทยกำลังเข้าสู่ยุคทองของการเติบโตแบบก้าวกระโดด จากพลังแห่งโลกดิจิทัลที่ทำให้ดนตรีไทยทะยานสู่ระดับโลก โดยปี 2023 ตลาดเพลงไทยขยายตัว 16% เที...

Responsive image

รู้จัก MoneyThunder แก้หนี้นอกระบบด้วย AI แอปสินเชื่อออนไลน์จาก ABACUS Digital

สำรวจปัญหาหนี้นอกระบบในไทยที่ส่งผลกระทบต่อคนกว่า 21 ล้านคน พร้อมทำความรู้จัก MoneyThunder แอปสินเชื่อ AI ที่ช่วยคนไทยเข้าถึงเงินทุนอย่างปลอดภัยและยั่งยืน...

Responsive image

Freshket ระดมทุนเพิ่ม กว่า 273 ล้านบาท เดินหน้าขยายแพลตฟอร์มสู่ Food Supply Chain ครบวงจร

เฟรชเก็ต (freshket) แพลตฟอร์มจัดการวัตถุดิบออนไลน์สำหรับร้านอาหารแบบครบวงจร (Food Supply Chain Platform) สัญชาติไทย เดินหน้าสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมระดมทุนเพิ่มจากผู้ลงทุ...