AIS โชว์ศักยภาพผู้นำนวัตกรรม IoT อันดับ 1 ของไทย บนโครงข่าย NB-IoT ที่ครอบคลุมแล้วทั่วประเทศ โดยมีองค์กรชั้นนำทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง ให้ความไว้วางใจใช้บริการ IoT โซลูชันส์อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ผนึก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมพัฒนานวัตกรรม IoT ยกระดับโครงการ TU Smart City สู่มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ ด้วยขีดความสามารถของเทคโนโลยีจากเครือข่าย AIS NB-IoT, อุปกรณ์ IoT และ IoT แพลตฟอร์ม แบบครบวงจร
TU Smart City เริ่มต้นใช้งานกับ 3 โซลูชั่นส์ ที่ช่วยบริหารจัดการทรัพยากรและพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านระบบมอนิเตอร์อัจฉริยะโดยไม่ต้องใช้เจ้าหน้าที่อีกต่อไป ประกอบด้วย
ทั้งหมดนี้ช่วยตอบโจทย์การใช้ชีวิตของนักศึกษากับบุคลากร รวมถึงระบบบริหารจัดการพื้นที่และทรัพยากรของมหาวิทยาลัยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม สร้างความคุ้มค่าอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
คุณยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กรจาก AIS กล่าวว่า “ วันนี้เรามีความยินดีอย่างยิ่ง ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไว้วางใจเลือกใช้โซลูชันส์ IoT จาก AIS เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโครงการ “TU Smart City” โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ ยกระดับการใช้ชีวิตด้วยเทคโนโลยี ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่ง AIS ได้คัดสรรนวัตกรรมดิจิทัลที่กำลังเป็นเทรนด์ของโลก อย่าง Internet of Things หรือ IoT มาให้บริการเชิงพาณิชย์แล้ว โดยนำศักยภาพเครือข่าย NB IoT ที่ครอบคลุมทั่วประเทศแล้วมาผสมผสานกับอุปกรณ์ NB IoT ที่ใช้พลังงานต่ำ แต่สามารถสื่อสารกับเครือข่ายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แม้อุปกรณ์นั้นจะอยู่ในพื้นที่ปิด พร้อมด้วยการพัฒนาโซลูชันส์ IoT รวมถึงแพลตฟอร์มที่รองรับการให้บริการ IoT โดยความร่วมมือครั้งนี้เป็นตัวอย่างการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้าน IoT ต่างๆ ภายใต้โครงการความร่วมมือ AIAP (AIS IoT Alliance Program) เพื่อคิดค้นและออกแบบโซลลูชันส์ต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการใช้งานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยเฉพาะ ซึ่งมีการทดสอบ พัฒนา เพื่อปรับให้เหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่มหาวิทยาลัยมากที่สุด โดยทยอยเปิดให้บริการแล้วที่ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต”
ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครั้งนี้ จะทำให้ TU Smart City กลายเป็นต้นแบบนวัตกรรม IoT ที่ทำให้เราเห็นภาพของการนำโซลูชันส์ต่างๆ เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างกลมกลืนภายในรั้วมหาวิทยาลัย รวมทั้งภาพของการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องใน IoT Ecosystem ซึ่งจะเป็นการจุดประกายของการนำ IoT ไปใช้ใน Scale ที่ใหญ่ขึ้น จากระดับมหาวิทยาลัย สู่ชุมชน เมือง จังหวัด และประเทศ ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าต่อจากนี้ Internet of Things จะเป็นเทคโนโลยีที่จับต้องได้และสามารถนำมาเพิ่มโอกาสใหม่ๆ ที่จะยกระดับการใช้ชีวิตของคนไทย พร้อมผลักดันประเทศไทยสู่สังคม Smart City อย่างยั่งยืน”
รองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า“มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากจะให้บริการด้านการศึกษาแล้ว เรายังเป็นชุมชนที่มีสมาชิกทั้งนักศึกษาและบุคลากรมากกว่า 10,000 คน ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่หอพักทุกวัน และมีคนเข้าออกตลอดเวลา ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่ออำนวยความสะดวก และดูแลความปลอดภัยอย่างรัดกุม โดยตั้งแต่เราก่อตั้งโครงการ TU Smart City ขึ้นมา เราไม่หยุดนิ่งที่จะสรรหา และพัฒนาโซลูชันส์ต่างๆ เพื่อนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่เข้ามาช่วยจัดการภายในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเราเลือกใช้บริการ IoT จาก AIS เนื่องจากพิจารณาเห็นถึงความพร้อมเครือข่าย NB IoT ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมถึงมี Digital Platform และอุปกรณ์ที่ครบครัน สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดบริการได้หลากหลายรูปแบบ, สามารถปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ และสอดคล้องกับพฤติกรรมของคนในประชาคมธรรมศาสตร์ ซึ่งในอนาคตเรามีแผนพัฒนาโครงการ TU Smart City อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นต่อยอดโอกาสใหม่ๆ จากเทคโนโลยีในโลกยุคปัจจุบัน มาสร้างการเปลี่ยนแปลงของการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน”
AIS พร้อมแล้วที่จะให้บริการ IoT Platform อย่างเต็มรูปแบบและครบวงจร ตั้งแต่เครือข่าย, อุปกรณ์ และแพลตฟอร์ม ให้กับทุกภาคส่วน และพร้อมให้คำปรึกษากับทุกองค์กรที่สนใจนำ IoT ไปใช้ในการทำงาน สนใจติดต่อได้ที่ Corporate call center โทร. 1149 หรือเว็บไซต์ http://business.ais.co.th/iot และผู้ที่สนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกในโครงการความร่วมมือ AIAP (AIS IoT Alliance Program) สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ais.co.th/AIAP
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด