‘ไฮโดรเจน’ เทคโนโลยีทางเลือก Net Zero BIG ผนึกพันธมิตรสร้าง Ecosystem | Techsauce

‘ไฮโดรเจน’ เทคโนโลยีทางเลือก Net Zero BIG ผนึกพันธมิตรสร้าง Ecosystem

BIG ชูนวัตกรรม Climate Technology เน้นความร่วมมือทุกภาคส่วน เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มสู่ความยั่งยืน ชี้พลังงานไฮโดรเจนเป็นเทคโนโลยีใหม่ หนุนสู่เป้าหมายเน็ตซีโร่ ปตท.หนุนเทคโนโลยีเปลี่ยนผ่านธุรกิจ มั่นใจอนาคตใช้ไฮโดรเจนมากขึ้น “โตโยต้า-ซีพี”ผนึกกำลังผลิตไฮโดรเจนจากมูลสัตว์ “กลุ่มดาว”เร่งเดินหน้า Climate Tech ลุยเป้าหมายลดคาร์บอน

“กรุงเทพธุรกิจ” ร่วมกับ "บีไอจี" ผู้นำนวัตกรรมก๊าซอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อสภาพภูมิอากาศ (Climate Technology Company) จัดเวทีสัมมนา Climate Tech Forum : Infinite Innovation...Connecting Business to Net Zero เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.2566

เวทีสัมมนาครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านสภาพภูมิอากาศ พร้อมสร้างพลังขับเคลื่อนร่วมกันทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพื่อย้ำความตั้งใจของบีไอจี ในการผลักดันเทคโนโลยีการลดผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศ และมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ที่สอดรับเป้าหมายของไทยและทั่วโลก

นายปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บีไอจี กล่าวว่า บีไอจีในบริบทใหม่จะเน้นลงมือทำเพื่อสร้างความยั่งยืน เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นทั่วโลก และแม้แต่กรุงเทพมหานครก็ตกอยู่ในความเสี่ยงน้ำทะเลสูงขึ้นทุกปี รวมถึงปัญหาภัยแล้งที่ในเดือน มิ.ย.2566 แต่ฝนยังตกน้อย

ทั้งนี้ สาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีปริมาณก๊าซปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศมาก ซึ่งมาจากการผลิตสินค้าและบริการทั้งภาคพลังงาน ขนส่ง อุตสาหกรรมและการเกษตร

“ธุรกิจหลักบีไอจีคือนำเอาก๊าซไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน มาเป็นรากฐานเพื่อผลิตสินค้าให้คนไทย ซึ่งเติบโตมาพร้อมกับโชติช่วงชัชวาลกว่า 35 ปี ทำให้อุตสาหกรรมเติบโต และได้รับความไว้วางใจจนเป็นผู้นำก๊าซอุตสาหกรรม และได้รับการยอมรับจากเวทีโลกเรื่องความยั่งยืน”

สำหรับหลักความยั่งยืนของบีไอจี และแอร์โปรดักส์ ที่เป็นบริษัทแม่ในสหรัฐเน้นหลักความยั่งยืนที่ดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งไฮโดรเจนจะช่วยดึงกำมะถันเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยช่วงวิกฤติพบว่าผลิตภัณฑ์บีไอจี ช่วยชีวิตทีมหมูป่า และช่วยแก้ปัญหาขาดออกซิเจนช่วงโควิด-19 รวมถึงช่วยบำบัดบึงน้ำให้สะอาดขึ้นจากความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ซึ่งลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 50%

ทั้งนี้ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาใหญ่ที่ ซึ่งมองว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องลุกขึ้นมาลงมือทำเพื่อสร้างความแตกต่างที่หลากหลายจากความมุ่งมั่นที่ไม่ได้แค่ผลิต แต่จะนำความเชี่ยวชาญที่มีมาแก้ปัญหาด้วยนวัตกรรม อาทิ การผลิตให้คุ้มค่ามีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนมากขึ้น

“เป้าหมายบีไอจี เชื่อว่าสอดคล้องกับทุกภาคส่วน คือบรรลุเป้าหมาย Net Zero ที่บางบริษัทวางเป้าไว้สอดคล้องกันปี 2050 ไวกว่าเป้าหมายประเทศ และวันนี้เราลงมือทำไปแล้ว สามารถลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิได้ 20% และในปี 2030 จะได้ลด 30% และปี 2040 และปี 2050 จะสามารถเป็นศูนย์ จากการใช้ Climate Technology”

ชู5แนวทางลดการปล่อยคาร์บอน

นายปิยบุตร กล่าวว่า สิ่งที่อยากเน้นย้ำใน 5 เรื่อง คือ

  1. เทคโนโลยีการดักจับการใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) ที่ประยุกต์ใช้ได้ในภาคอุตสาหกรรมที่กำลังปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นเทคโนโลยีนี้จึงเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการลดการปล่อยคาร์บอน และการมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
  2. ไฮโดรเจน โดยบีไอจี เชี่ยวชาญและเป็นรายใหญ่สุดของโลก บริษัทแม่ลงทุน 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยเน้นบลูไฮโดรเจนและกรีน ไฮโดรเจน ซึ่งคืบหน้า 20-30% และพร้อมใช้งานเต็มรูปแบบปี 2026-2027
  3. โซลูชั่นลดผลกระบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจประเทศ
  4. แพลตฟอร์ม เพื่อตอบโจทย์ภาคธุรกิจที่ตรวจจับว่าภาคอุตสาหกรรมปล่อยคาร์บอนปริมาณเท่าไหร่ รวมถึงการตรวจจับการใช้พลังงาน วิธีการลดคาร์บอนในรูปแบบตามความเหมาะสมของธุรกิจ และซื้อขายคาร์บอนเคดิตผ่านแพลตฟอร์มของบีไอจีได้
  5. การนำ BCG Model (เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว) มาใช้เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

“บีไอจี”นำร่องปั๊มจ่ายไฮโดรเจน

ทั้งนี้ เพื่อตอบรับกับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ที่ปัจจุบันใช้ลดการปลดปล่อยกำมะถัน โดย บีไอจี ร่วมกับกลุ่ม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดสถานีนำร่องทดลองใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV) แห่งแรกของไทยที่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

สำหรับการนำรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง รุ่นมิไร (Mirai) ของโตโยต้า มาทดสอบใช้งานให้บริการรับส่งระหว่างสนามบินอู่ตะเภา จ.ชลบุรี สำหรับนักท่องเที่ยวและผู้โดยสารในพัทยาและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อลดการใช้ฟอสซิลฟิลจากภาคไฟฟ้า 30% โดยเฉลี่ยมีคาร์บอนต่ำถึง 60% และสร้างไฮโดรเจน อีโคโนมี โดยนำไปใช้ในตอนกลางคืน รวมถึงภาคผลิตไฟฟ้าไฟฟ้าและหลายอุตสาหกรรมในมาบตาพุด

นอกจากนี้ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใหญ่เกินกว่าที่จะทำคนเดียวได้จึงต้องอาศัยความเชี่ยวชาญที่หลากหลายมาร่วมเป็นอีโคซิสเต็ม และหากนำอีโคซิสเต็มมาจับภาคธุรกิจจะทำให้ระบบนิเวศภาคธุรกิจอุตสาหกรรมดีขึ้น เพราะปัญหาความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องอาศัยความหลากหลาย ความเป็นมนุษย์และภาวะผู้นำ จะดึงประโยชน์จากความแตกต่างที่เข้าใจความเป็นมนุษย์มาใช้ปัญหา คิดสร้างสรรจากการใช้หัวใจทำงานร่วมกัน

“ต้องการทุกคนที่มีส่วนร่วมและมีเป้าหมายเดียวกัน ไม่อยากให้มองเป็นภัยคุกคาม แต่อยากให้มองปัญหาคือโอกาสธุรกิจ เพื่อให้โลกยั่งยืน จึงทำได้ทันทีเพื่อให้พรุ่งนี้มีอนาคตที่ดีขึ้น”

ปตท.หนุนเทคโนโลยีเปลี่ยนผ่านธุรกิจ

นายบุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความยั่งยืนถือเป็นระดับนานาชาติ ซึ่งบริษัทในไทยและระดับโลกต้องทำเรื่องนี้ และ ปตท.ใส่ความยั่งยืนในแผนธุรกิจมา 10 ปีแล้ว โดยได้รับการจัดอันดับด้านความยั่งยืนเป็นปีที่ 11

ทั้งนี้ การจะถึงเป้าหมายและดำเนินตามวิสัยทัศน์ใหม่มีเรื่องสำคัญ คือ การตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจ 15% เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2040 และ 2050 เป็น Net Zero ถือว่าเร็วกว่าคนอื่น เพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สำหรับเทคโนโลยีที่ ปตท.ใช้ลดคาร์บอนดำเนินการผ่าน 3 ประเด็น คือ 1.การเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงาน 2.การปรับพอร์ทธุรกิจที่ปล่อยคาร์บอนโดยเพิ่มธุรหกิจใหม่เสริม 3.การปลูกป่าเพิ่ม 2 ล้านไร่ เพื่อดูดซับก๊าซเรือนกระจก

“การใช้เทคโนโลยีสำคัญ คือ สมาร์ทเอ็นเนอจีแพลตฟอร์ม ซึ่งในอนาคตจะมีพลังงานทดแทนที่หลากหลายขึ้นที่มาจากลม แสงอาทิตย์ นิวเคลียร์ ไฮโดรเจนหรือแบตเตอรี่ และสุดท้ายคือการซื้อขายไฟสะอาด ดังนั้น สมาร์ทเอ็นเนอจีแพลตฟอร์ม จึงสำคัญเพราะจะเชื่อมกับพันธมิตรที่เกี่ยวข้องผ่านระบบเอไอทั้งนิคมอุตสาหกรรม”

มั่นใจใช้ไฮโดรเจนมากขึ้น

ทั้งนี้ กลุ่ม ปตท.เป็นผู้ผลิตจากการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจึงเริ่มพัฒนาเทคโนโลยี CCS และ CCUS จากการเป็นผู้ชำนาญการแยกก๊าซที่ทำทั้งไฮโดรเจนและคาร์บอน โดยอนาคตจะใช้ไฮโดรเจนมากขึ้น การแยกคาร์บอนมาใช้จะเกิดประโยชรน์มากมาย อาทิ เมทานอล หรือ นาโนแคลเซียมคาร์บอเนต ดังนั้น ไฮโดรเจนที่ร่วมใช้กับบีไอจี ทำให้เห็นว่าไม่มีอันตราย และหากจะเป็นที่สุดของการใช้ไฮโดรเจนเพื่อยานยนต์นั้น การใช้กับรถบรรทุกดีที่สุด เพราะสามารถเดินทางไกล

“ปตท.เห็นประโยชน์ของการแยกไฮโดรเจนเพื่อส่งผ่านทางท่อก๊าซ จะส่งไฮโดรเจนให้รถบรรทุกแทนการเติม NGV ได้ในอนาคตจะลดค่าขนส่ง ดังนั้นเทคโนโลยีใหม่จะคล้ายหลักดีมานด์กับซัพพลาย ถ้าปริมาณมากต้นทุนจะถูกลง จึงต้องทำให้ความต้องการใช้เพิ่มขึ้นจะทำให้ราคากลายเป็นนิวนอร์มอล ที่ทุกคนต้องใช้”

นอกจากนี้ การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานจะมีปัญหาเรื่องความคาดหวังที่ต่างกัน โดยไม่สามารถใช้พลังงานประเภทใดประเภทหนึ่งได้  ดังนั้น ปตท.คำนึงว่าต้องปรับโมเดลเสมอ

รวมทั้งสิ่งที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐอีกเรื่องที่สำคัญ คือ มาตรฐานไทยกับต่างประเทศต่างกันหรือไม่ หรือบางมาตรฐานเขียนแล้วบางเรื่องเป็นเรื่องของการแข่งขันทางการค้าหรือไม่ เทคโนโลยีสามารถพัฒนาได้ โดย ปตท.เป็นทั้งบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงต้องผสมผสานเพื่อหาสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อเปลี่ยนผ่านพลังงานสู่พลังงานสะอาด และปรับเปลี่ยนตัวเองตลอด

“ถ้าไปถึงอีโคซิสเต็มห่วงโซ่อุปทานมีทั้งแนวดิ่งแนวนอน เราต้องใช้ประโยชน์ส่งต่อซึ่งกันและกัน ถ้าจะไปเน็ตซีโร่ต้องเตรียมตัวและมีความเข้าใจเรื่องนี้ และกำหนดฟังชั่นโครสร้างพิ้นฐาน โดยถ้าเตรียมพร้อมจะวิ่งสู่เป้าหมายเน็ต ซีโร่ปี 2050 โดยผสมผสานการวิ่งผลัดและวิ่งมาราทอน รวมทั้งระหว่างส่งไม้ต้องเข้าใจกันและส่งให้ดี”

“ดาว” เดินหน้า Climate Tech

นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหารกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหา Climate Change มีทั้งความท้ายและโอกาส ซึ่งในส่วนนี้หลายประเทศทั่วโลกออกมาตรการเพื่อลดก๊าซคาร์บอน และปัจจัยที่เห็นชัดสุด คือ มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (CBAM) ของสหภาพยุโรป โดยภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมต้องดำเนินการ 2 เรื่อง คือ

  1. การรอมาตรการมีผลแล้วปรับเปลี่ยน
  2. การดิสรัปหรือเปลี่ยนตัวเองเพื่อสร้างโอกาส

ทั้งนี้ ”ดาว”เลือกดิสรัปตัวเองเพื่อลดคาร์บอนทั้งในโรงงานและผลิตภัณฑ์ของดาว โดยมีแผนงานที่ชัดเจนเป้าหมายปี 2025 คือ การต่อต้านปัญหาโลกร้อนด้วยการลดคาร์บอน การเปลี่ยนขยะให้เป็นผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เน้นการผลิตสินค้าและบริการจากวัตถุดิบที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่

รวมทั้งในปัจจุบันพบว่าเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า แต่สิ่งที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนมี 4 ปัจจัย ประกอบด้วย

  1. เทคโนโลยีต้องผสมผสานอย่างลงตัว
  2. โครงสร้างพื้นฐานต้องพร้อมรองรับเทคโนลียี
  3. เร็กกลูเรชั่น ที่ต้องเป็นตัวสนับสนุนหรือส่งเสริมการนำเทคโนลียีมาใช้ โดยเฉพาะผู้ที่กำกับดูแลไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลใหม่หรือเก่า
  4. การเปลี่ยนความคิดหรือมายเซ็ทให้ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และความร่วมมือของทุกฝ่าย รวมทั้งสร้างระบบอีโคซิสเต็มโดยการจับมือกับพันธมิตร พร้อมจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

“โตโยต้า-ซีพี”ศึกษาผลิตไฮโดรเจน

นายสุรศักดิ์ สุทองวัน ผู้ช่วยบริหารกรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้ช่วยบริหารประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ไทยถือเป็นประเทศแรกที่เรานำโครงการทดลองพลังงานไฮโดรเจนมาใช้ โดยได้รับความช่วยเหลือจากบีไอจี และไทยเป็นประเทศจุดตั้งต้นในการนำพลังงานทดแทนมาใช้เพื่อไปสู่เป้าหมาย Climate Change

นอกจากนี้โตโยต้าร่วมมือกับบริษัทรถยนต์ของญี่ปุ่นอีก 5 บริษัท เพื่อทำสัญญาร่วมกับพาร์ทเนอร์ของไทย คือ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และเครือเอสซีจี โดยร่วมกับซีพีเพื่อศึกษาผลิตไฮโดรเจนจากมูลสัตว์ และในอีกไม่นานจะมีการนำเข้าอุปกรณ์ผลิตโฮโดรเจน ขณะที่ความร่วมมือกับเอสซีจีจะร่วมกันทดลองใช้ไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้การเลือกยานยนต์ที่เหมาะสมมาใช้ เช่น รถปิกอัพไฟฟ้า รถบรรทุกไฟฟ้า เพื่อร่วมมือกับพันธมิตรในการทดลองใช้งาน และหาโซลูชั่นที่ดีที่สุด รวมทั้งการขนส่งที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจากคาร์บอนให้น้อยที่สุดโดยการใช้ดาต้าไอที ซึ่งคาดว่าสิ่งที่ดำเนินการทั้งหมดจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้

“ในช่วงการเปลี่ยนผ่านถือว่ามีความท้าทายมากไม่ว่าการมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเทศ ทั้งไฮโดรเจน ไฟฟ้า ความคุ้มค่า การลงทุน การสร้างความเข้าใจกับผู้บริโภค โดยสิ่งที่เรายังขาดอยู่คือการสนับสนุนจากภาครัฐไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาษีการนำเข้า และการเอื้อให้เกิดการทดลองเทคโนโลยีใหม่ เช่น เทคโนโลยีด้านไฮโดรเจน”นายสุรศักดิ์ กล่าว

อ้างอิง : https://www.bangkokbiznews.com/environment/1075894 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Cloudflare เปิดผลสำรวจ ภัยคุกคามไซเบอร์ยังทวีความรุนแรง องค์กรไทยกังวล AI ยิ่งซ้ำเติมปัญหา

Cloudflare เปิดเผยรายงาน “สำรวจภูมิทัศน์ความปลอดภัย: การศึกษาความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในเอเชียแปซิฟิก” พร้อมเผยให้เห็นวิธีการที่องค์กรต่าง ๆ นำมาใช้เพื่อรับมือกับปัญหาแรนซัม...

Responsive image

รวมพลัง GEN S ถอดรหัสความยั่งยืนไปกับ GC Sustainable Living Symposium 2024

รวมพลังคน GEN S Generation Sustainability ตัวจริงด้านความยั่งยืน กับภารกิจกู้โลกเดือดความร่วมมือครั้งสำคัญ กว่า 30 วิทยากร ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมแชร์ความคิด สร้างไอเดีย สู่การลงมื...

Responsive image

โบลท์เปิดตัว "Bolt Business" โซลูชันเพื่อการเดินทางของธุรกิจในไทย

โบลท์ (Bolt) เปิดตัวบริการ Bolt Business ในประเทศไทย มุ่งตอบโจทย์ธุรกิจที่ต้องการจัดการการเดินทางได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพผ่านแอปพลิเคชันโบลท์ บริการนี้ช่วยองค์กรควบคุมต้นทุน เ...