การช้อปปิ้งในทุกวันนี้มีช่องทางที่หลากหลายมากขึ้น ผู้บริโภคเองต่างก็มองหาความสะดวกสบายและไร้ซึ่งอุปสรรค แม้ยอดขายส่วนใหญ่ในประเทศไทยยังคงเกิดขึ้นในร้านค้า การซื้อของออนไลน์ก็มีการขยับขยายเช่นเดียวกันโดยอัตราการเติบโตของอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มสูงขึ้นราว 4 เท่าเมื่อเทียบกับยอดขายการค้าปลีกทั่วทั้งเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากข้อมูลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยนับว่าเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในภูมิภาคนี้ โดยมีอัตราการเติบโตคงที่ในทุกๆ ปี อยู่ที่ร้อยละ 8-10 สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองนั้น ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ราวๆ 4 เท่าของการค้าปลีกในภาพรวม
เทรนด์ดังกล่าวนี้แสดงถึงความท้าทายให้กับแบรนด์ต่างๆ ที่ไม่มีเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเป็นของตนเอง แบรนด์ที่ขายของโดยอาศัยช่องทางออนไลน์ของพันธมิตรค้าปลีกยังต้องเผชิญปัญหาในการกำหนดกลุ่มลูกค้าที่เหมาะสมผ่านการใช้โฆษณาที่เกี่ยวข้องกับความสนใจของผู้บริโภคและสามารถตอบสนองความชื่นชอบส่วนบุคคล ซึ่งโฆษณาประเภทนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าบนเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นของผู้ค้าปลีก
Collaborative Ads หรือโฆษณาร่วมจะช่วยนำเสนอวิธีใหม่ๆ ให้แบรนด์และเหล่าผู้ค้าปลีกได้ทำงานร่วมกันอย่างง่ายดายและปลอดภัยเพื่อสร้างยอดขายที่มากขึ้น รูปแบบของการโฆษณาร่วมนั้นสร้างขึ้นเพื่อให้แบรนด์สามารถดึงดูดลูกค้ามาเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือแอพของผู้ค้าปลีก ดังนั้น เมื่อผู้ค้าปลีกมีการแบ่งปันกลุ่มสินค้าจากแคตตาล็อก แบรนด์จะสามารถเข้าถึงเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่แสดงความสนใจในผลิตภัณฑ์ของแบรนด์และผ่านทางโฆษณาร่วมซึ่งดำเนินการโดยผู้ค้าปลีกเท่านั้น สิ่งนี้ช่วยให้แบรนด์สามารถใช้ Dynamic Ads หรือโฆษณาแบบไดนามิกเพื่อโปรโมทสินค้าได้โดยตรงบนแพลทฟอร์ม Facebook โดยอาศัยแคตตาล็อกของผู้ค้าปลีก โดยที่แบรนด์ไม่จำเป็นต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลใดๆ ของลูกค้า ดังนั้น ข้อมูลประเภทเดียวที่แบรนด์จะมองเห็นได้คือจำนวนการซื้อที่ได้จากการโฆษณานั่นเอง
เมื่อผู้บริโภคมีตัวเลือกจำนวนมากให้ต้องตัดสินใจ เป็นต้นว่า จะซื้ออะไรและซื้อได้จากที่ไหน พวกเขามักเลือกจากประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับความต้องการและสะดวกสบายมากที่สุด ด้วย Collaborative Ads ผู้ค้าปลีกจะได้รับผลประโยชน์โดยสามารถดึงดูดลูกค้าจำนวนมากสู่เว็บไซต์ และสำหรับแบรนด์เองนั้นจะสามารถกระตุ้นยอดขายบนช่องทางออนไลน์ได้มากขึ้นนั่นเอง
การรัน Collaborative Ads ต้องอาศัยพาร์ทเนอร์ค้าปลีกเพื่อร่วมแชร์แคตตาล็อกสินค้า และเพื่อควบคุมว่าจะมีข้อมูลของสินค้าใดบ้างที่จะปรากฏบนโฆษณา การสร้างชุดสินค้าในคลังแคตตาล็อกที่ใช้ร่วมกันจึงเป็นเรื่องสำคัญชุดสินค้าคือกลุ่มของสินค้าในคลังแคตตาล็อกซึ่งแบรนด์ต่างๆ สามารถเลือกฟิลเตอร์เพื่อกำหนดจำนวนสินค้าในสต็อก ประเภทของสินค้าและราคา ทั้งนี้ เพื่อควบคุมว่าไอเท็มใดบ้างจะปรากฏอยู่บนโฆษณา ชุดสินค้าสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพร่วมกับโฆษณาแบบไดนามิก ซึ่งจะแสดงสินค้าสำหรับกลุ่มคนที่มีแนวโน้มสนใจสินค้านั้นๆ
เมื่อต้องการรันแคมเปญใหม่ในแต่ละครั้ง ให้เริ่มด้วยการตั้งค่ากลุ่มเป้าหมายที่กว้างไว้ก่อนเสมอ เพื่อดึงดูดให้กลุ่มคนจำนวนมากขึ้นกดเข้าชมเพจการขายสินค้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการปรับกลุ่มลูกค้าใหม่ (Retargeting) การปรับการตั้งค่ากลุ่มค้าเป้าหมายจะช่วยให้สามารถเข้าถึงลูกค้าที่เคยกดดูสินค้าบนเว็บไซต์หรือบน แอพพลิเคชั่นมือถือก่อนหน้านี้ ให้ใช้โอกาสนี้ในการออกแบบประสบการณ์การซื้อสินค้าที่สะดวกสบายและไร้อุปสรรคเพื่อให้สามารถตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้า และเพิ่มโอกาสการซื้อสินค้าในท้ายที่สุด
ผู้บริโภคใช้แพลทฟอร์มที่หลากหลายและแตกต่างกันไปทุกๆ วัน ดังนั้น การใช้ฟังก์ชั่นตำแหน่งการจัดวางแบบอัตโนมัติ หรือ Automatic Placements ใน Facebook จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดจากตำแหน่งเริ่มต้นในการวางโฆษณาต่างๆ (ทั้งหน้าฟีด Instagram, Audience Network หรือบน Messenger) นอกจากนี้ แนะนำให้ลองใช้ฟังก์ชั่น Conversion Optimization ซึ่งจะช่วยแนะนำวิธีการโพสต์เพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพที่สุด เช่น การเลือกแสดงโฆษณาอีกครั้ง 7 วันหลังจากที่ลูกค้ากดคลิกอ่านรายละเอียดสินค้าหรือ 1 วันหลังจากที่ลูกค้าเห็นโฆษณานั้นเพื่อกระตุ้นโอกาสในการซื้อ เป็นต้น
เป๊บซี่โคได้ร่วมมือกับลาซาด้า พันธมิตรด้านอีคอมเมิร์ซ โดยได้สร้างเพจบน Facebook สำหรับการโพสต์โปรโมชั่นบนแพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซโดยเฉพาะ และได้วางโฆษณาในรูปแบบ Collaborative Ads เพื่อโปรโมทสินค้าโดยตรงจากลาซาด้า เป๊บซี่โคยังเลือกใช้โฆษณาแบบ Carousel Ads หรือที่สามารถใส่รูปภาพได้หลายๆ ภาพ ร่วมกับ Collection Ads เพื่อแสดงข้อมูลของชนิดผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด