Digital Ventures Company Limited ผู้พัฒนานวัตกรรมทางการเงินในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ และวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมสนับสนุนโครงการ “บัณฑิตพันธุ์ใหม่” เพื่อพัฒนาความสามารถของนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่ตอบโจทย์ภาคธุรกิจในยุคของการแข่งขันทางเศรษฐกิจในเชิงดิจิทัลของประเทศ ด้วยการสนับสนุนต่างๆ ทั้งด้านเงินทุน การร่วมออกแบบเนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอน การจัดสรรที่ปรึกษาพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ รวมถึงให้นักศึกษาได้เข้าปฏิบัติงานจริงกับบริษัทฯ ตลอดระยะเวลา 1 ปีเต็ม พร้อมต่อยอดโครงการกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในอนาคต
คุณอรพงศ์ เทียนเงิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวว่า นอกจากภารกิจหลักของบริษัทฯ ในการพัฒนาเทคโนโลยีและสรรหานวัตกรรมเพื่อนำมาขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงให้กับภาคธุรกิจและสังคมของไทยแล้ว เรายังเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะในกลุ่มนักศึกษา อันเป็นปัจจัยพื้นฐานให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะเชิงลึก พร้อมที่จะรองรับความท้าทายต่างๆ ทางธุรกิจที่เกิดขึ้นในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลนี้ การร่วมมือกับ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่นี้ ในโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะสามารถพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ให้กลายเป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะและทักษะที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เกิดขึ้นจากความร่วมมือ 3 ส่วน ได้แก่ มหาวิทยาลัย (วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ภาคธุรกิจ (บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด) และนักศึกษา (จากวิทยาลัยฯ)
โดยบริษัทฯ ให้การสนับสนุนโครงการในต่างๆ ทั้งด้านเงินทุน การร่วมออกแบบเนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอน เป็นที่ปรึกษาพร้อมกับจัดสรรผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ รวมถึงให้นักศึกษาได้เข้าปฏิบัติงานจริงกับบริษัท ตลอดระเวลา 1 ปีเต็ม เพื่อให้น้องนักศึกษาได้มีโอกาสนำความรู้มาประยุกต์และเรียนรู้การทำงานจริงได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ หากนักศึกษาในโครงการผ่านเกณฑ์การคัดเลือก นักศึกษาจะได้รับข้อเสนอให้เป็นพนักงานประจำของบริษัทฯ ต่อไป ระยะเวลาของโครงการออกเป็น 3 ช่วง ดังต่อไปนี้
ในอนาคต บริษัทฯ มีความยินดีที่จะเปิดรับความร่วมมือในลักษณะนี้กับมหาวิทยาลัยอื่นๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะแรงงานและมุ่งมั่นเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้สังคมไทยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในโลกดิจิทัลต่อไป คุณอรพงศ์ กล่าวเสริม
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด