ETDA ชวนแพลตฟอร์มดิจิทัล-หน่วยงานของรัฐ แลกเปลี่ยนความเห็น ข้อเสนอแนะ สร้างความน่าเชื่อถือแก่ผู้ใช้บริการ | Techsauce

ETDA ชวนแพลตฟอร์มดิจิทัล-หน่วยงานของรัฐ แลกเปลี่ยนความเห็น ข้อเสนอแนะ สร้างความน่าเชื่อถือแก่ผู้ใช้บริการ

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดประชุม “รับฟังความคิดเห็นจากผู้ให้บริการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ Digital Service Platform” เพื่อให้กลุ่มผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการของ Digital Service มาร่วมระดมสมองเพื่อกำหนดทิศทางการกำกับดูแลและการส่งเสริม สนับสนุนผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลในรูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Focus group) ทั้งทางออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom และออฟไลน์ ณ ห้องประชุม FEGO ชั้น 15 ETDA

นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ ETDA เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ COVID-19 ได้กระตุ้นให้แพลตฟอร์มดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม e-Commerce , Sharing Economy, Streaming ได้รับความนิยมและมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น อีกทั้งแพลตฟอร์มเหล่านี้ยังมีผู้เกี่ยวข้องหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น ผู้บริโภค ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม ผู้ประกอบการ ผู้ค้ารายย่อย เป็นต้น ดังนั้น การสร้างระบบนิเวศน์ (Ecosystem) การทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลให้มีความมั่นคงปลอดภัย น่าเชื่อถือ ลดความเสี่ยงและปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้บริการ ภายใต้มาตรฐานหรือแนวทางการกำกับดูแลที่เหมาะสม เป็นอีกภารกิจสำคัญที่ ETDA ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (คธอ.) ต้องเร่งขับเคลื่อนให้เกิดขึ้น โดยที่ผ่านมาได้มีการศึกษา Business Model ของธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลของภาคเอกชนเหล่านี้ว่า ปัจจุบันให้บริการกันอย่างไร รวมถึงศึกษาแนวทางในการกำกับดูแลของต่างประเทศ เช่น สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น

ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจในธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล รับทราบปัญหาและความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการให้บริการ เพื่อให้สามารถนำไปกำหนดแนวทางในการดูแล สนับสนุนได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจ ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ก่อให้เกิดภาระอันเกินสมควรกับผู้ประกอบการ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของธุรกิจ เศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ และส่งผลต่อผู้บริโภค ETDA จึงจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Focus group) ครั้งนี้ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลใน 3 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย e-Commerce, Sharing economy, Streaming platform ได้มาร่วมสะท้อนปัญหา (pain points) ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการหรือข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจ ความเสี่ยงที่เกิดจากการให้บริการในมิติต่างๆ รวมถึงความต้องการความช่วยเหลือหรือการสนับสนุนจากภาครัฐและ ETDA  นอกจากนี้ยังได้เชิญหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลหรือเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล มาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล แชร์ประสบการณ์ว่า แต่ละหน่วยงานมีความเกี่ยวข้องในมิติใดบ้าง ทั้งมิติการส่งเสริม การกำกับดูแล และในธุรกิจเหล่านั้นมีความเสี่ยงอย่างไร มีเรื่องร้องเรียนจากประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องใด มีบริบทใดที่ยังคงมีความเสี่ยงในขณะที่กฎหมายยังครอบคลุมไปไม่ถึงอย่างเต็มที่ 

โดยการประชุมแบ่งออกเป็น 2 รอบ รอบแรกช่วงเช้า (08.30-12.00 น.) เป็นการรับฟังความเห็นจากกลุ่มผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล และรอบ 2 ช่วงบ่าย (13.00-16.30 น.) เป็นกลุ่มหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นนี้ จะถูกรวบรวม นำไปวิเคราะห์ เพื่อศึกษาดูว่า มีผู้ให้บริการธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัลใดบ้างที่มีความพร้อมในการกำกับดูแลตัวเอง (self-regulation) หรือมีกลุ่มใดบ้างที่มีผลกระทบหรือความเสี่ยงที่จะต้องแจ้งข้อมูล ขึ้นทะเบียน หรือต้องขออนุญาตกับ ETDA ตามที่ พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) มาตรา 32 ได้กำหนดไว้ นอกจากนี้ จะมีการจัดทำแนวทางในการกำกับดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อนำไปรับฟังความคิดเห็นจากผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกลุ่มเดิมที่ได้เชิญมาร่วมให้ข้อคิดเห็นในครั้งแรก ในช่วงเดือนมีนาคม 2564 เพื่อให้ได้แนวทางในการกำกับดูแลผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เหมาะสม ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (คธอ.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบ และเข้าสู่กระบวนการจัดทำร่างกฎหมาย ในลำดับถัดไป

“สำหรับ ETDA แล้ว มุ่งหวังว่า การกำหนดแนวทางการกำกับดูแลจะต้องเป็นไปในลักษณะ win-win model ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders) ทุกฝ่าย ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการกำหนดกฎเกณฑ์ แนวทางดังกล่าว เพื่อร่วมกันสร้าง ecosystem ของธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลไทยให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้บริการรวมถึงนานาประเทศ จนกลายเป็นศูนย์กลางของเอเชียในอนาคต” นายชัยชนะ กล่าวทิ้งท้าย


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ดีอี ผนึก ‘อว.- ศธ.’ ร่วมมือ UNESCO นำเวที UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025

ประเทศไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพงาน “UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025” ครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก ภายใต้แนวคิด “Ethical Governance of AI in Motion” ย้ำบทบาทผู้นำจริยธรรม AI ระดั...

Responsive image

เสริมสร้างความร่วมมือไทย-ฟินแลนด์ ศึกษาดูงานและขยายโอกาสนวัตกรรม

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศและเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ นำคณะผู้แทนไทยศึกษาดูงานที่ฟินแลนด์ เพื่อกระชับความร่วมมือด้านนวัตกรรม พลังงานหมุนเวียน และเศรษฐกิจหมุนเวียน...

Responsive image

ไทยพบเอสโตเนีย แลกเปลี่ยนมุมมองรัฐบาลดิจิทัล ศึกษาต้นแบบ e-Government

ไทยเปิดใจเรียนรู้จากเอสโตเนีย ระบบ e-Government ที่ประชาชนไว้วางใจ...