NTT DATA เผยผลวิจัย Generative AI หมดช่วง “ลองใช้” พบองค์กรทั่วโลกกำลังเปลี่ยนจากการทดลอง สู่การลงทุนจริงจังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ
กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 15 พฤศจิกายน 2024 – NTT DATA (เอ็นทีที ดาต้า) ผู้นำระดับโลกด้านบริการธุรกิจดิจิทัลและ IT เปิดเผยผลการวิจัยครั้งสำคัญเกี่ยวกับ Generative AI (GenAI) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าองค์กรหลายแห่งกำลังเปลี่ยนจากการทดลองไปสู่การใช้งานจริงที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ รวมถึงยกระดับวัฒนธรรมองค์กร การปฏิบัติตามกฎระเบียบ ความปลอดภัย และความยั่งยืน
รายงานเรื่อง GenAI ระดับโลก: องค์กรกำหนดเส้นทางชีวิต GenAI ในปี 2025 ไว้อย่างไร? หรือ “Global GenAI Report: How organizations are mastering their GenAI destiny in 2025” พบว่าเกือบทุกองค์กรที่ทำการสำรวจได้เริ่มลงทุนใน GenAI แล้ว โดย 83% (94% ใน APAC) ได้จัดตั้งทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน GenAI เพื่อพัฒนาและใช้งานเทคโนโลยีนี้ในระดับองค์กรผ่าน 3 ด้านหลัก ประกอบด้วย:
สำหรับเอเชียแปซิฟิก ยูสเคสการใช้งานหลักของ GenAI ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ประกอบด้วย:
ยูทากะ ซาซากิ ประธานและ CEO ของ NTT DATA Group กล่าวว่า “อนาคตนั้นชัดเจน Generative AI ไม่ใช่แค่เครื่องมือธรรมดา แต่เป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง เมื่อเราก้าวข้ามช่วงการทดลองไปแล้ว องค์กรต้องเดินหน้าด้วยความรอบคอบ หากเราดำเนินการเร็วเกินไป อาจเกิดผลกระทบที่ไม่คาดคิด แต่ถ้าช้าเกินไปก็อาจล้าหลัง การใช้ GenAI อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพจึงไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำ นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราจัดทำแผนงานเพื่อช่วยให้ลูกค้าใช้ประโยชน์จากศักยภาพของ GenAI อย่างเต็มที่ เพื่อความสำเร็จที่ยั่งยืน”
การสำรวจพบสองในสามของผู้บริหารระดับ C-level ระบุว่า GenAI จะเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างมากใน 6 ด้าน ได้แก่:
สำหรับเอเชียแปซิฟิก สองในสามของผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นผู้บริหารระดับ C-suite เชื่อว่า GenAI จะช่วยปรับปรุง 5 ด้านหลัก ได้แก่:
การสำรวจพบว่าวงจรการรวมและบูรณาการเทคโนโลยี GenAI กำลังเริ่มเปลี่ยนแปลง โดยจากการผสมผสานแนวทางการทดลอง การปรับใช้โดยแบ่งเป็นระยะ และการทำโปรเจ็กต์แบบเฉพาะเจาะจง มีแนวโน้มว่าแผนการใช้จ่ายที่เน้นเฉพาะเจาะจงจะเข้ามาแทนที่การทดลองแบบกระจัดกระจายในช่วงไม่นานนับจากนี้ ผลการวิจัยที่สำคัญในส่วนนี้ประกอบด้วย:
ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมดเห็นด้วยว่า GenAI สามารถจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ และปรับปรุงกระบวนการทางการวิจัยและพัฒนาได้ ดังนั้น ในขณะที่เทคโนโลยี GenAI ถูกนำมาใช้และมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว องค์กรทั้งหลายจึงต้องประเมินและพัฒนากลยุทธ์ รวมถึงปรับรูปแบบการดำเนินงานอยู่เสมอ ผลการวิจัยที่สำคัญในส่วนนี้ประกอบด้วย:
การสำรวจพบว่า 96% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลก (97% ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก) กำลังพิจารณาว่า GenAI สามารถปรับกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร รวมถึงรองรับการทำงานของพนักงานให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม กว่า 67% (64% ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก) ระบุว่าพบปัญหาพนักงานในองค์กรขาดทักษะที่จำเป็นในการทำงานร่วมกับ GenAI และประมาณครึ่งหนึ่งมีแผนพัฒนาทักษะให้พนักงาน
ความท้าทายในการนำ GenAI ไปใช้งาน ประกอบด้วย:
ในขณะที่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สิ่งที่เป็นอุปสรรคในการนำ GenAI ไปใช้งานมากที่สุด ได้แก่:
ข้อกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของ GenAI
เมื่อ GenAI เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การสร้างสมดุลระหว่างความรับผิดชอบและนวัตกรรมถือเป็นสิ่งจำเป็นทางศีลธรรม และเป็นกลยุทธ์สำคัญสำหรับผู้นำ องค์กร และสังคมโดยรวม ผู้บริหารส่วนใหญ่ตระหนักถึงพันธกิจในการสร้างสมดุลนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากผลการสำรวจต่อไปนี้:
แม้จะเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญ ผู้ตอบแบบสำรวจ 68% (75% ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก) ยอมรับว่ารู้สึก “ตื่นเต้น” และ “ทึ่ง” กับศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงที่ GenAI ทำได้
อภิชิต ดูเบย์ (Abhijit Dubey) CEO ของ NTT DATA, Inc. กล่าวว่า “สถานการณ์นี้เป็นจุดสำคัญในประวัติศาสตร์โลก เนื่องจาก GenAI กำลังก้าวขึ้นมาเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อนโลกยุคถัดไปที่กำลังจะมาถึง NTT DATA รู้สึกถึงความรับผิดชอบอย่างยิ่งต่อทั้งลูกค้า พนักงานของเรา และสังคม ในการทำให้แน่ใจว่าทุกสิ่งที่เราออกแบบ และนำไปใช้งานหรือจัดการนั้นมีความยืดหยุ่น มีความสามารถ และมีความรับผิดชอบสูง”
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด