Grab ประเทศไทยเดินหน้าสู่การเข้าถึงบริการทางการเงินด้วย E-wallet | Techsauce

Grab ประเทศไทยเดินหน้าสู่การเข้าถึงบริการทางการเงินด้วย E-wallet

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น การเชื่อมต่อ การติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ยังเรียกได้ว่าเศรษฐกิจดิจิทัลสร้างการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทั่วโลกเช่นกัน โดยมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียนจะมีมูลค่าสูงถึง 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี พ.ศ. 2568

สำหรับในประเทศไทย ได้มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างแพร่หลาย ซึ่งช่วยให้ประเทศไทยเป็นตลาดที่มีความได้เปรียบจากการแข่งขันในภูมิภาคอาเซียน จากการที่ประเทศไทยกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ ไทยแลนด์ 4.0 การเข้าถึงบริการทางการเงินที่ทั่วถึงจึงเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ทั้งนี้ในระหว่างงานดิจิทัลไทยแลนด์บิ๊กแบง 2019 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของบิ๊กดาต้าและการเชื่อมโยงระหว่างกันแบบไร้รอยต่อระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในยุคการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล เพื่อผลักดันการเดินหน้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

ในการที่ Grab เป็นแอปสำหรับทุกความต้องการในทุกวันของคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Grab มีวิสัยทัศน์ในการสนับสนุนการเข้าถึงรวมถึงสร้างทักษะความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยสิ่งที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญคือการเข้าถึงบริการทางการเงินของคนในประเทศ

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่า ร้อยละ 30 ของครัวเรือนในประเทศไทยเป็นผู้ที่ไม่มีบัญชีธนาคารและนิยมใช้เงินสดในการจับจ่ายซื้อของ ในขณะที่ร้อยละ 80 นิยมใช้จ่ายด้วยเงินสด ซึ่งคิดเป็นมูลค่าร้อยละ 1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ อยู่ที่ 50,000 ล้านบาทในแต่ละปี   

“อีโคซิสเต็มของ Grab ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค หนึ่งในปัญหาที่เราเห็นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทยคือการบริการชำระเงิน เนื่องจากการชำระเงินเป็นสิ่งที่เชื่อมต่อบริการต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันทำให้ระบบอีโคซิสเต็มของ Grab  มีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น ไม่ว่าผู้บริโภคจะใช้บริการใดของ Grab  ก็ตาม โดยมีวิสัยทัศน์ในการเชื่อมต่อระหว่างผู้ที่ไม่มีบัญชีธนาคาร รวมถึงไม่สามารถเข้าถึงประกันหรือเครดิตให้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ การที่ผู้คนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้นนอกจากจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและเล็กแล้ว ยังเป็นการตอบสนองแนวทางของรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยในการเดินหน้าสู่สังคมไร้เงินสดด้วย” นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ โรจน์ กรรมการผู้จัดการ Grab pay ประจำประเทศไทย Grab  ไฟแนนเชียล กรุ๊ป กล่าวในขณะการเสวนาระหว่างงานดิจิทัลไทยแลนด์บิ๊กแบง 2019

“Grab มีความมุ่งมั่นในการร่วมมือกับพันธมิตรและการปรับบริการของเราให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในประเทศที่เราดำเนินธุรกิจอยู่ นอกจากข้อมูลทางด้านเทคนิคแล้ว เรายังให้ความสำคัญในการศึกษาความต้องการของลูกค้าด้วย และด้วยกลยุทธ์การประยุกต์สินค้าหรือบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคท้องถิ่น (Hyperlocal) ของ Grab นี่เองทำให้เราสามารถพัฒนาการให้บริการของเราให้ตอบสนองความต้องการในทุกวันของผู้บริโภคอย่างแท้จริง”

“Grab เปิดให้บริการ Grab pay e-wallet พาวเวอร์ บาย เคแบงก์ ในประเทศไทย เมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ลูกค้าสามารถชำระเงินสำหรับทุกบริการในแอปพลิเคชันของเราได้อย่างไร้ร้อยต่อ ทั้งนี้บริการ Grab pay e-wallet พาวเวอร์ บาย เคแบงก์ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดีจนทำให้บริการ e-wallet ในประเทศไทยเป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดใน 6 ประเทศที่ Grab ดำเนินธุรกิจอยู่”

“กล่าวได้ว่านอกจากความสะดวกสบายและประสิทธิภาพแล้ว การชำระเงินเป็นบริการหลักที่สนับสนุนบริการอื่นในแอปพลิเคชัน Grab  ในปัจจุบัน เรากำลังร่วมมือมือกับธนาคารกสิกรไทยสำหรับการให้บริการการกู้ยืมให้กับพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตอีกทางหนึ่ง” 

นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ ได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ Grab pay ประจำประเทศไทย Grab ไฟแนนเชียลกรุ๊ป ในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจการธนาคารกว่า17 ปี โดยเคยดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารฝ่าย ฝ่ายบริหารธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อลูกค้ารายย่อย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เป็นเวลา 9 ปี ทำให้มีโอกาสดูแลและรับผิดชอบธุรกิจการธนาคารในหลายๆ ส่วน รวมถึงลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และสถาบัน การชำระเงิน บัตรเครดิต สินเชื่อเพื่อผู้บริโภคและฟินเทค ในปัจจุบัน นายวรฉัตรจะรับผิดชอบดูแลด้านการขยายธุรกิจของ Grab ไฟแนนเชียล รวมถึงสร้างการเติบโตผ่านทางนวัตกรรมทางการเงิน

สำหรับอนาคตของ Grab pay e-wallet นั้น  นายวรฉัตรกล่าวว่า “การช่วยให้ผู้ใช้บริการของ Grab ได้ใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกสบายขึ้นเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ในขณะที่เราเปิดตัวโซลูชั่นส์ใหม่ๆ ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องนั้น เราก็เดินหน้าในการเสริมประสิทธิภาพการใช้งานบริการ e-wallet ให้กับลูกค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้สามารถใช้งาน e-wallet ได้อย่างไร้รอยต่อเช่นกัน”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

มันนี่ทันเดอร์พลิกโฉมสินเชื่อไทย ด้วย AI ฝีมือคนไทย แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

“อบาคัส ดิจิทัล” (ABACUS digital) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน "มันนี่ทันเดอร์" (MoneyThunder) ได้สร้างปรากฎการณ์ในวงการสินเชื่อด้วยการใช้เทคโนโลยี AI ที่พัฒนาจากทีมคนไทยที่เข้าใจถึงความต้อ...

Responsive image

iNT: พันธมิตรเพื่ออนาคต พร้อมเปิดประตูสู่นวัตกรรมและธุรกิจ Start-Up

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT (อิ๊นท์) ตอกย้ำบทบาทผู้นำ ด้านการสนับสนุนธุรกิจ Start-Up และการส่งเสริมการต่อยอดผลงานวิจัย นวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์...

Responsive image

5 ประโยชน์จาก DUSCAP เครื่องมือ AI อัจฉริยะ ยกระดับองค์กรสู่ความสำเร็จในทุกมิติ

เมื่อเทคโนโลยีกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กร การค้นหาโซลูชันที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และตอบโจทย์การทำงานในยุคดิจิทัลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ DUSCAP ...