Haier ผนึก SEAC เสริมความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระดับโลก จัดตั้งศูนย์วิจัยและจัดการนวัตกรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | Techsauce

Haier ผนึก SEAC เสริมความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระดับโลก จัดตั้งศูนย์วิจัยและจัดการนวัตกรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สถาบันวิจัยผลิตภัณฑ์ไฮเออร์ (HMI) ร่วมกับศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (SEAC) จัดตั้งศูนย์วิจัยและจัดการนวัตกรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสร้างผู้นำด้านนวัตกรรมองค์กรและการเรียนรู้เชิงประยุกต์ระดับภูมิภาค ก่อเกิดเป็นประโยชน์ในการต่อยอดสำหรับองค์กรรวมไปถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องในอนาคต 

haier seac

เมืองชิงเต่า สาธารณรัฐประชาชนจีน และ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย กลุ่มบริษัทไฮเออร์ (Haier) และ ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (SEAC) ประกาศเจตนารมณ์ร่วมกัน ในระดับประเทศและภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อดำเนินโครงการให้องค์กรขนาดเล็กและใหญ่สามารถบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนทางธุรกิจ ผ่านการออกแบบองค์กร การจัดการนวัตกรรม และความเป็นผู้ประกอบการ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยความร่วมมือครั้งนี้เกิดจากการผนึกกำลังของสององค์กรชั้นนำที่ต้องการสร้างสรรค์ระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน และเสริมศักยภาพความร่วมมือระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศไทย รวมทั้งประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

มร.จาง รุ่ยหมิ่น ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทไฮเออร์ กล่าวว่า “ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ครั้งนี้ เปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของสถาบันวิจัยผลิตภัณฑ์ไฮเออร์ (HMI) และศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (SEAC) ที่ต้องการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่ก่อเกิดคุณค่าทั้งตัวองค์กรและบุคคลที่เกี่ยวข้องของทั้งสององค์กร ซึ่งได้วางเป้าหมายร่วมกัน คือ การยกระดับคุณค่าของ ทั้งสององค์กร โดยการสร้างพันธมิตรในระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ ผ่านความร่วมมือและการสร้างสรรค์นวัตกรรม อย่างไร้ขีดจำกัด”

นางอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (Southeast Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริม การเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า “SEAC มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ร่วมงานกับ สถาบันวิจัยผลิตภัณฑ์ไฮเออร์ ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ปรับให้เหมาะสมตามบริบทของแต่ละองค์กร เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมให้สามารถเกิดขึ้นได้อย่างราบรื่น ผ่านความเป็นผู้นำองค์กร ซึ่งวิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ และเร่งการเติบโตของธุรกิจออนไลน์ด้านการจัดส่งสินค้า การปฏิรูปห่วงโซ่อุปทาน จนเกิดเป็นความท้าทายต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และต่อการศึกษาของประเทศไทย ทั้งนี้ จากการ เก็บข้อมูลของลูกค้า ทำให้เราค้นพบโอกาสในการก่อตั้งศูนย์วิจัยและจัดการนวัตกรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเปิดโอกาสให้องค์กรระดับภูมิภาคเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ผ่านการวางแผน และรังสรรค์นวัตกรรมในระดับองค์กร เพื่อให้ธุรกิจสามารถผ่านพ้นช่วงเวลานี้ได้ พร้อมทั้ง สร้างระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน และเสริมศักยภาพความร่วมมือระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศไทย รวมทั้งประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

KBank เปิดผลงานปี 67 กำไร 48,598 ล้านบาท ท่ามกลางความท้าทายเศรษฐกิจ

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ยังมีสัญญาณฟื้นตัวไม่ทั่วถึง (K-Shaped Recovery) แม้ในภาพรวมสามารถประคองการขยายตัวไว...

Responsive image

SCB 10X เปิดเวที “Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand” เดินหน้าวิจัย AI ไทย พร้อมเปิดตัว ‘ไต้ฝุ่น 2.0’ เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด

SCB 10X เปิดตัว "ไต้ฝุ่น 2" โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สุดล้ำในงาน Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand พร้อมยกระดับวิจัย AI ไทยสู่เวทีโลก...

Responsive image

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future”

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 มุ่งขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทยด้วยเทคโนโลยี AI สู่ยุคดิจิทัล...