Mahidol คิดค้นนวัตกรรม 'แอนติบอดีจิ๋ว' และ 'แอนติบอดีสายเดี่ยว' รักษาไวรัสตับอักเสบซี เพื่อมนุษยชาติ | Techsauce

Mahidol คิดค้นนวัตกรรม 'แอนติบอดีจิ๋ว' และ 'แอนติบอดีสายเดี่ยว' รักษาไวรัสตับอักเสบซี เพื่อมนุษยชาติ

มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University) ในฐานะมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศได้มีการเปิดเผยว่า กว่า 3 ทศวรรษ ที่ ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C virus) ได้รับการค้นพบโดย 3 นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให้ความสนใจโรคติดเชื้อดังกล่าวอย่างแพร่หลายในฐานะโรคซึ่งเป็นมหันตภัยเงียบคร่าชีวิตมนุษย์อย่างไม่รู้ตัวจนกว่าจะแสดงอาการในระยะท้าย กับตัวเลขผู้ป่วยทั่วโลกที่สูงถึง 70 ล้านรายต่อปี และผู้เสียชีวิตถึง 4 แสนรายต่อปี โดยที่ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนใช้รักษาแต่อย่างใด

Mahidol คิดค้นนวัตกรรม 'แอนติบอดีจิ๋ว' และ 'แอนติบอดีสายเดี่ยว' รักษาไวรัสตับอักเสบซี เพื่อมนุษยชาติ

2 แอนติบอดี ไขรหัสลับพิชิตไวรัส

ดร.กิตติรัฐ กลับอำไพ ผู้ช่วยนักวิจัยระดับปริญญาเอก ประจำศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านโปรตีนรักษาและพันธุวิศวกรรมแอนติบอดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีความพยายามที่จะศึกษาวิจัยเพื่อหาหนทางสู่การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีมาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยที่ยังศึกษาในระดับปริญญาเอก ซึ่งมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณดร.วันเพ็ญ ชัยคำภา ปรมาจารย์ด้านโรคติดเชื้อและภูมิคุ้มกันเมืองไทย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จนสามารถค้นพบวิธีการผลิต 'แอนติบอดีจิ๋ว' และ 'แอนติบอดีสายเดี่ยว' ซึ่งสามารถไขปริศนาสู่หนทางยับยั้งไวรัสชนิดดังกล่าวได้จนเกือบเห็นผล 100%

การศึกษาวิจัยเริ่มขึ้นในห้องปฏิบัติการ จากที่ผู้วิจัยได้ค้นพบว่า การใช้แอนติบอดี หรือเซลล์ภูมิคุ้มกันร่างกาย ซึ่งได้จากโปรตีนของมนุษย์ เป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่าการใช้ยาซึ่งเป็นสารเคมี และหากใช้แอนติบอดีขนาดใหญ่ แทนที่จะช่วยในการรักษา แต่กลับจะไปคอยกระตุ้นให้ร่างกายติดเชื้อมากขึ้นผู้วิจัยจึงได้ตัดเอาบางส่วนของแอนติบอดีที่จะสามารถไปจับกับโปรตีนเป้าหมายเพื่อมุ่งผลในการรักษา ซึ่งเป็นที่มาของการใช้ 'แอนติบอดีจิ๋ว' และ 'แอนติบอดีสายเดี่ยว' เพื่อยับยั้งเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ซึ่งเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ที่เป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งสามารถคว้ารางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) : รางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

คาด 5-10 ปี ผลักดันสู่กระบวนการผลิต

ผู้วิจัยได้วางแผนการทำวิจัยว่าจะแล้วเสร็จสามารถผลักดันสู่กระบวนการผลิตภายใน 5 - 10 ปี ปัจจุบันทดลองแล้วได้เห็นผลใกล้บรรลุเป้าหมาย โดยสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสตับอักเสบซีได้ถึงร้อยละ 80 และได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล Scopus ที่ได้รับการอ้างอิง (citation) อย่างต่อเนื่องแล้วจำนวน 2 เรื่อง

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ในที่สุดโลกจะสามารถค้นพบวัคซีนที่จะสามารถใช้รักษาเชื้อไวรัสตับอักเสบซีได้หรือไม่นั้น ผู้วิจัยได้ชี้ให้เห็นเรื่องที่สำคัญมากกว่า คือ การตระหนักถึงปัจจัยซึ่งจะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีจากการมีเพศสัมพันธ์แบบไร้การป้องกัน ซึ่งมักพบว่านอกจากอาจติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแล้ว ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV อีกด้วย 

และด้วยไวรัสตับอักเสบซีเป็นโรคที่จะไม่แสดงอาการจนกว่าจะถึงนาทีสุดท้ายของชีวิต โดยเชื้อจะเข้าไปทำลายตับ จนกระทั่งเกิดอาการตับอักเสบ แล้วจบลงด้วยการป่วยเป็นโรคมะเร็งตับได้ในที่สุด จึงควรไม่ประมาท หมั่นเข้ารับการตรวจเลือดประจำปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่มีพฤติกรรมเสี่ยง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

HD เพิ่มทุน Series A เป็น 7.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เดินหน้าขยายตลาด Health Care และ AI ใน SEA

HD แพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลซชั้นนำสำหรับบริการสุขภาพและการผ่าตัดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศปิดรอบการระดมทุน Series A-1 โดยมี MSD บริษัทผู้นำด้านเวชภัณฑ์ระดับโลกเข้าร่วมลงทุน ทำให้ก...

Responsive image

Siam AI นำ NVIDIA GB200 NVL72 เข้าไทย ตอกย้ำเป้าหมาย AI Sovereignty

Siam AI ประกาศความสำเร็จในการเป็น NCP รายแรกในเอเชีย ที่นำ NVIDIA GB200 NVL72 สู่ไทย ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐาน AI ในภูมิภาค พร้อมเดินหน้าสร้าง AI Sovereign Cloud เพื่...

Responsive image

ETDA เปิดตัวโปรเจค 'EDC Trainer Season 4' ปั้นเทรนเนอร์ดิจิทัล พร้อมลุ้นเวที EDC Pitching สมัครด่วนก่อน 12 มี.ค.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA ร่วมมือกับ Dek-D เปิดโครงการ “ETDA Digital Citizen Trainer” หรือ EDC Trainer Season 4 ภายใต้แนวคิด “ส่งต่อความรู้ สู่สังคมดิ...