Huawei เปิดตัว บริการชำระเงินผ่านมือถือและไมโครไฟแนนซ์ เพื่อให้เข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น

หัวเว่ยเปิดตัวโซลูชันทางการเงินที่บูรณาการการชำระเงินผ่านมือถือและไมโครไฟแนนซ์เข้าไว้ด้วยกัน ณ งาน HUAWEI CONNECT 2021 โดยโซลูชันนี้ช่วยให้สถาบันการเงินสามารถให้บริการที่รวดเร็วและราคาไม่แพง เพื่อเพิ่มโอกาสให้โลกเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น หัวเว่ยจะประสานงานกับพันธมิตรในระบบนิเวศต่อไป พร้อมใช้เทคโนโลยี ICT ใหม่ ๆ เพื่อยกระดับการชำระเงินผ่านมือถือ และสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจที่เจริญรุ่งเรือง

ธนาคารต่าง ๆ ใช้โซลูชันการชำระเงินผ่านมือถือและไมโครไฟแนนซ์ ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีคลาวด์และ SaaS เพื่อสร้างโมเดลธุรกิจที่ปรับให้เหมาะสมกับองค์กรและระบบนิเวศอันล้ำสมัยบนซูเปอร์แอป (Super App) โซลูชันการเงินแบบบูรณาการของหัวเว่ยครอบคลุมถึงโมบายล์วอลเลท แพลตฟอร์มการชำระเงินผ่านมือถือ เฟรมเวิร์กแบบเปิดของซูเปอร์แอป และแพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ด้วยฟีเจอร์เหล่านี้ ธนาคารจึงแนะนำบริการทางการเงินต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

ณ งาน HUAWEI CONNECT 2021 หัวเว่ยได้กล่าวบรรยายถึงอนาคตของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จาก 3 มุมมอง ซึ่งได้แก่ สถานการณ์ แบบจำลอง และระบบนิเวศ นอกจากนี้ หัวเว่ยได้เปิดตัวโซลูชันอุตสาหกรรมใหม่ 11 รายการ หนึ่งในนั้นคือโซลูชันการชำระเงินผ่านมือถือและไมโครไฟแนนซ์ ซึ่งใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการช่วยสถาบันการเงินทั่วโลกยกระดับการชำระเงินผ่านมือถือ ทั้งในแง่ของการเชื่อมต่อผู้ใช้งาน ผู้ค้า พันธมิตรช่องทาง และนักพัฒนา พร้อมระบบนิเวศที่เจริญรุ่งเรือง

1. ซูเปอร์แอปเชื่อมต่อผู้ใช้งานและผู้ค้าเข้าด้วยกัน หัวเว่ยนำเสนอเทคโนโลยีหลายช่องทาง (SuperAPP, HTML5, บริการ USSD ของผู้ให้บริการ, ตัวแทน และ API แบบเปิด) เพื่อช่วยให้ธนาคารเข้าถึงลูกค้าได้เร็วขึ้น และมีค่าใช้จ่ายน้อยลง นอกจากนี้ หัวเว่ยยังสนับสนุนผู้ค้ารายย่อยในการยกระดับการดำเนินการดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชันที่ปรับแต่งให้เข้ากับความต้องการของแต่ละบุคคล ขณะเดียวกัน สิ่งเหล่านี้ยังช่วยให้ธนาคารนอกประเทศจีนพัฒนาเครือข่ายตัวแทนเพื่อเข้าถึงลูกค้าทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ โซลูชันของ Huawei ช่วยให้สถาบันการเงินออกแบบเส้นทางของผู้บริโภคออนไลน์ที่สมบูรณ์ได้ พร้อมมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้าด้วยเช่นกัน

2. แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์ทางการเงินเชื่อมต่อผู้ใช้และผู้ให้ทุน ผู้ให้บริการนอกประเทศจีนมีผู้ใช้จำนวนมาก ดังนั้นพวกเขาจึงมีแรงผลักดันในการสร้างการเติบโตของธุรกิจ และเป็นองค์ประกอบสำคัญในการใช้สร้างรายได้ อย่างไรก็ตาม พวกเขายังขาดแพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อกับธนาคาร แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์ทางการเงินช่วยให้ผู้ให้บริการแนะนำผู้ใช้งานกับธนาคาร ซึ่งสามารถให้บริการผลิตภัณฑ์ทางการเงินโดยตรงแก่ผู้ใช้

3. แพลตฟอร์มสำหรับนักพัฒนาช่วยสร้างระบบนิเวศ นักพัฒนามีมากมายหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นนักพัฒนาระบบบริการชั้นนำระดับโลก บริการในท้องถิ่น และบริการระดับกลาง เช่น ปลั๊กอินขนาดเล็ก หัวเว่ยนำเสนอโซลูชัน SaaS ในระบบคลาวด์ ซึ่งสนับสนุนนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน รวมถึงระบบ API ที่เปิดกว้าง ซึ่งช่วยให้พันธมิตร SaaS รายอื่นและผู้เล่นในระบบนิเวศที่แตกต่างกันสามารถให้สามารถเชื่อมต่อบนแพลตฟอร์ม HUAWEI CLOUD ได้ นอกจากนี้ ธนาคารและพันธมิตรยังสามารถสำรวจบริการใหม่ ๆ ได้อย่างง่ายดายและรวมระบบนิเวศที่หลากหลายได้อย่างรวดเร็วเพื่อเปิดตัวโครงการร่วมกันได้สำเร็จ

โซลูชันบริการทางการเงินที่ครอบคลุมของหัวเว่ยมีการใช้งานอย่างประสบความสำเร็จในหลายประเทศแล้ว

ตัวอย่างเช่น หัวเว่ยได้ร่วมกับ KBZ Bank ซึ่งเป็นธนาคารท้องถิ่นที่ใหญ่ที่สุดในเมียนมา เพื่อสร้างกระเป๋าเงินดิจิทัลใหม่ที่เรียกว่า KBZPay โดยต่อยอดจากคลาวด์สาธารณะ KBZPay ได้ผสมผสานเครื่องมือทางการตลาดที่หลากหลายเพื่อมอบประสบการณ์ทางดิจิทัลที่สมบูรณ์ให้แก่ผู้ใช้และช่วยผู้ค้าดึงดูดลูกค้า โดยในเวลาเพียงสองปีครึ่ง KBZPay มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนแล้วกว่า 8 ล้านคน ส่งผลให้ KBZPay ก้าวขึ้นเป็นแบรนด์ผู้ให้บริการด้านการชำระเงินเพื่อชีวิตดิจิทัลชั้นนำในประเทศ

ส่วนในเคนยา หัวเว่ยได้ร่วมมือกับ Safaricom ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดในประเทศ เพื่อสร้างแบรนด์ด้านการชำระเงินที่เรียกว่า M-Pesa นอกจากจะรองรับการโอนเงินผ่านธนาคารแล้ว แพลตฟอร์มนี้ยังครอบคลุมบริการหลายอย่างในชีวิตประจำวันด้วย ในขณะเดียวกันก็ช่วย KCB Bank, NCBA Bank และ Safaricom ในการให้สินเชื่อวงเงินกู้ขนาดเล็กและขนาดย่อมแก่บุคคลและผู้ค้าต่าง ๆ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่เปิดตัวสู่ตลาด 14 ปี M-Pesa มีส่วนสำคัญในการเพิ่มความทั่วถึงของบริการทางการเงินในเคนยา จาก 23% เป็น 85%

หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นในการยกระดับความทั่วถึงของบริการทางการเงิน นับจนถึงปัจจุบัน หัวเว่ยได้ให้บริการมากกว่า 30 แห่งในกว่า 20 ประเทศ ครอบคลุมผู้ใช้ 300 ล้านคนในภูมิภาคต่าง ๆ เช่น แอฟริกาตอนใต้ แอฟริกาเหนือ และเอเชียแปซิฟิก หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะให้บริการทางการเงินที่สะดวกและหลากหลายแก่ทุกคน หัวเว่ยได้ช่วยให้สถาบันการเงินสร้างกระบวนการทางธุรกิจที่เป็นดิจิทัล ประยุกต์ใช้บริการทางการเงินแบบดิจิทัล และบรรลุการพัฒนาทางการเงินที่ยั่งยืน โดยใช้การเชื่อมต่อและแพลตฟอร์มที่ล้ำหน้า

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...