รู้จัก IBM Storage Fusion: โซลูชัน Data Fabric สำหรับ Red Hat OpenShift เพื่อการใช้งานข้อมูลอย่างเต็มศักยภาพ | Techsauce

รู้จัก IBM Storage Fusion: โซลูชัน Data Fabric สำหรับ Red Hat OpenShift เพื่อการใช้งานข้อมูลอย่างเต็มศักยภาพ

Cloud-Native Application ได้กลายเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจองค์กรในปัจจุบัน ทำให้เทคโนโลยีอย่าง Red Hat OpenShift ซึ่งเป็นโซลูชันระดับธุรกิจองค์กรสำหรับ Container และ Kubernetes กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับระบบ IT Infrastructure ของธุรกิจองค์กรหลายแห่ง

อย่างไรก็ดี การบริหารจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับ Red Hat OpenShift นั้นก็ยังคงเป็นประเด็นปัญหาสำหรับธุรกิจองค์กรหลายแห่ง ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพ, ค่าใช้จ่าย, การเพิ่มขยายระบบ ไปจนถึงการรองรับการใช้งานข้อมูลในระดับที่เข้มข้นขึ้น

ด้วยเหตุนี้ IBM จึงได้ทำการพัฒนาโซลูชัน IBM Storage Fusion โซลูชัน Data Fabric ที่ออกแบบโดยเฉพาะสำหรับ Red Hat OpenShift เพื่อตอบโจทย์ที่ธุรกิจองค์กรทั่วโลกกำลังต้องเผชิญ ไม่ว่าระบบเหล่านั้นจะทำงานแบบ On-Premises หรืออยู่บน Cloud ก็ตาม ซึ่ง DCS ก็พร้อมนำโซลูชันนี้มาตอบโจทย์ให้กับธุรกิจองค์กรไทยแล้ว

โจทย์สำคัญของการวางระบบ IT Infrastructure เพื่อรองรับ Red Hat OpenShift ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า


ที่ผ่านมา ธุรกิจองค์กรหลายแห่งนั้นมักจะนิยมติดตั้งใช้งาน Red Hat OpenShift บนสถาปัตยกรรมระบบ IT ที่มีอยู่เดิม เช่น

  • การติดตั้ง Red Hat OpenShift บนระบบ Virtualization Infrastructure ที่มีอยู่ และเชื่อมต่อกับ SAN Storage, NAS Storage หรือ Object Storage ขององค์กร
  • การติดตั้ง Red Hat OpenShift บนระบบ Hyper-Converged Infrastructure (HCI) ที่มีอยู่ และเชื่อมต่อกับ Storage ภายในระบบ
  • การติดตั้ง Red Hat OpenShift บน Compute Node ของ Cloud และเชื่อมต่อกับระบบ Cloud Storage ของผู้ให้บริการ Cloud รายนั้นๆ

แม้ว่าแนวทางเหล่านี้จะเป็นแนวทางมาตรฐานที่ธุรกิจหลายแห่งได้นำไปใช้งาน แต่แนวทางดังกล่าวทั้งหมดนี้ต่างก็ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายแฝงหลายส่วน เช่น

  • ค่าใช้จ่ายของ License ระบบ Virtualization ซึ่งไม่จำเป็นต่อการใช้งาน Red Hat OpenShift มากนัก เนื่องจากคุณสมบัติของ Container ที่สามารถเคลื่อนย้ายหรือเพิ่ม Workload ได้อย่างรวดเร็ว ง่ายดาย และเป็นอัตโนมัติ ซึ่งซ้ำซ้อนกับความสามารถในการทำ High Availability ของ Virtualization
  • ค่าใช้จ่ายของระบบ Storage ภายนอกหรือ HCI ที่สูง เพื่อแลกมากับความมั่นคงทนทานในการจัดเก็บข้อมูล และอิสระในการเคลื่อนย้ายระบบและข้อมูล

ประเด็นเหล่านี้เองได้เริ่มทำให้ธุรกิจองค์กรหลายแห่งทั่วโลกหันไปสู่การวาง IT Infrastructure เพื่อรองรับ Red Hat OpenShift ให้ได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าเดิม ซึ่งที่ผ่านมาก็มีผู้พัฒนาเทคโนโลยี Enterprise Storage หลายรายที่พยายามตอบโจทย์นี้ด้วยแนวทางที่ต่างกัน

IBM Storage Fusion - โซลูชัน Data Fabric สำหรับ Red Hat OpenShift โดยเฉพาะ

IBM ในฐานะของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีระบบ IT สำหรับธุรกิจองค์กร ได้นำเสนอแนวคิดใหม่ในการพัฒนาโซลูชัน Data Fabric โดยเฉพาะสำหรับการใช้งาน Red Hat OpenShift ภายใต้โซลูชัน IBM Storage Fusion ซึ่งไม่เพียงแต่จะนำแนวคิดของระบบ HCI มาประยุกต์ใช้สำหรับ Red Hat OpenShift โดยเฉพาะเท่านั้น แต่ยังมีการเสริมความสามารถด้านการปกป้องสำรองข้อมูล และการบริหารจัดการการเข้าถึงใช้งานข้อมูลสำหรับ Data Scientist เข้าไปอีกด้วย ทำให้การจัดการและใช้งานข้อมูลภายในระบบเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ง่ายดาย และมั่นใจมากยิ่งขึ้น

แนวทางดังกล่าวของ IBM Storage Fusion ช่วยให้การวางระบบ IT Infrastructure สำหรับ Cloud-Native Application ในระดับธุรกิจองค์กรนั้นซับซ้อนน้อยลง มีความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังรองรับการทำ Hybrid Multi-Cloud ได้อย่างครบถ้วน ด้วย Environment เดียวกันสำหรับการใช้งาน Red Hat OpenShift บน Platform ใดๆ ส่งผลให้ธุรกิจองค์กรมีอิสระในการออกแบบ IT Infrastructure ได้อย่างคล่องตัวยิ่งกว่าที่เคย เพิ่มขยายระบบได้อย่างง่ายดาย และบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ความสามารถของ IBM Storage Fusion

โดยรวมแล้วความสามารถของ IBM Storage Fusion มีด้วยกัน 5 ประการ ดังนี้

1. Data Persistence

IBM Storage Fusion นั้นได้เปลี่ยนให้การทำ Data Storage Provisioning สำหรับรองรับ Workload ใดๆ บน Red Hat OpenShift ให้กลายเป็นอัตโนมัติด้วยการทำงานแบบ Automation ทำให้การบริหารจัดการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำหรับ Cloud-Native Application นั้นเป็นไปได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องวุ่นวายกับการ Integrate ระบบเข้ากับ Storage ภายนอกหรือ HCI ใดๆ อีกต่อไป

2. Data Resilience

IBM Storage Fusion นั้นทำงานในรูปแบบ HCI ที่จะผสานรวมพื้นที่จัดเก็บข้อมูลภายใน Physical Server จำนวนหลายเครื่อง หรือ Compute Node จำนวนหลายชุดเข้าด้วยกันเป็นผืนเดียว พร้อมจัดการด้านการทำ High Availability ภายในตัว ทำให้การวางระบบในแบบ On-Premises, Private Cloud หรือ Public Cloud นั้นเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกัน และทุกๆ Container ที่ถูกสร้างขึ้นมาสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อยู่เสมอไม่ว่าระบบ Hardware หรือ VM ใดจะเกิดปัญหาก็ตาม

ความสามารถนี้นอกจากจะช่วยเพิ่มความมั่นคงทนทานให้กับข้อมูลสำหรับ Workload บน Red Hat OpenShift ให้ทัดเทียมกับการใช้งาน Storage ภายนอกหรือ HCI อื่นๆ ได้แล้ว แนวทางนี้ยังไม่จำเป็นต้องใช้งานเทคโนโลยี Hypervisor ใดๆ ในการทำงาน ซึ่งการทำงานในลักษณะ Bare Metal ดังกล่าวนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้าน License สำหรับ Hypervisor ลงได้เป็นอย่างดี และสามารถใช้ประสิทธิภาพของ Hardware หรือ Compute Node ได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ยังคงสามารถทำงานร่วมกับระบบ Virtualization ได้ เพิ่มอิสระในการออกแบบระบบและใช้งานได้อีกด้วย

3. Data Security

ภายใน IBM Storage Fusion นี้จะมาพร้อมกับเทคโนโลยี Data Encryption สำหรับการเข้ารหัสข้อมูลในแต่ละส่วนให้มีความมั่นคงปลอดภัยสูงขึ้น อีกทั้งยังมีเทคโนโลยี Data Protection เพื่อปกป้องสำรองข้อมูลภายในตัว พร้อมการทำ Data Recovery กู้คืนข้อมูลได้ตามต้องการ ทำให้ธุรกิจองค์กรไม่จำเป็นต้องลงทุนในระบบสำรองข้อมูลสำหรับ Red Hat OpenShift โดยเฉพาะอย่างในอดีตอีกต่อไป

4. Data Mobility

ด้วยความสามารถในการติดตั้งใช้งานได้บนทุกๆ Platform ทั้ง On-Premises, Private Cloud และ Public Cloud โดยมี Environment ในการทำงานรูปแบบเดียวกันทั้งหมด ทำให้การโยกย้าย Workload และ Data ข้าม Platform นั้นสามารถเกิดขึ้นได้อย่างอิสระ ต่างจากในอดีตที่ Container นั้นมักจะรองรับการย้าย Workload แต่ยังคงมีปัญหาด้านการย้าย Data

5. Data Cataloging

อีกความสามารถใหม่ที่ถูกเสริมเข้ามาใน IBM Storage Fusion เพื่อตอบโจทย์ Data Scientist โดยเฉพาะนั้นก็คือความสามารถในการทำ Metadata Curation และ Data Insight สำหรับข้อมูลที่ถูกจัดเก็บอยู่ภายใน IBM Storage Fusion ได้ด้วยเครื่องมือ Data Visualization สำหรับแสดงข้อมูลภายใน Data Repository ต่างๆ เพื่อให้สามารถทำ Data Discovery สำหรับเข้าถึงและใช้งานข้อมูลที่จำเป็นได้อย่างง่ายดายยิ่งกว่าที่เคย

รูปแบบการใช้งาน IBM Storage Fusion

IBM Storage Fusion นั้นสามารถติดตั้งใช้งานได้ใน 2 รูปแบบ ได้แก่

1. IBM Storage Fusion HCI

เป็นโซลูชัน HCI สำเร็จรูปที่ผสานรวมทั้ง Physical Server, Red Hat OpenShift และ IBM Storage Fusion เข้าด้วยกัน โดยจะทำงานแบบ Bare Metal ไม่มีการติดตั้งใช้งาน Hypervisor แต่อย่างใด และเชื่อมรวมพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของ Physical Server ทั้งหมดในลักษณะของ HCI เพื่อนำข้อมูลไปให้บริการแก่ Red Hat OpenShift บนแต่ละ Physical Server โดยตรง

การใช้งาน IBM Storage Fusion HCI นี้ ธุรกิจองค์กรสามารถเริ่มต้นได้จาก Physical Server จำนวน 6 ชุด และเพิ่มขยายสูงสุดได้ 20 ชุดต่อระบบ ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะเป็น Physical Server ที่ใช้ CPU เพียงอย่างเดียว หรือมี GPU ผสมผสานสำหรับรองรับ AI Workload ได้ตามต้องการ

2. IBM Storage Fusion SDS

เป็นโซลูชันในแบบ Software Defined Storage (SDS) ที่จะผสานรวม Red Hat OpenShift และ IBM Storage Fusion เข้าด้วยกัน โดยสามารถนำไปติดตั้งใช้งานบน Physical Server, Virtual Machine หรือ Cloud Compute Node ได้อย่างอิสระ เพื่อให้ Environment ของระบบนั้นเหมือนกันบนทุก Platform อีกทั้งยังสามารถทำงานร่วมกับ IBM Storage Fusion HCI ได้อีกด้วย

แนวทางการใช้งานทั้ง 2 รูปแบบนี้ สามารถนำมาผสมผสานเพื่อก้าวไปสู่ภาพของการทำ Hybrid Multi-Cloud สำหรับรองรับ Cloud-Native Application ได้อย่างสมบูรณ์

สนใจ IBM Storage Fusion ติดต่อทีมงาน DCS ได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจโซลูชัน IBM Storage Fusion หรือโซลูชันอื่นๆ จาก IBM สามารถติดต่อทีมงาน DCS ได้ทันทีที่คุณดวงเดือน [email protected] Tel: 02-684-8484 หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ DCS ที่ https://www.datapro.co.th/  

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักกับซิม IoT จาก SoftBank และ 1NCE จ่ายครั้งเดียว ใช้งานได้ต่อเนื่องถึง 10 ปี

รู้จักซิมการ์ด IoT จาก 1NCE เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ทั่วโลกใน 173 ประเทศ ด้วยค่าใช้จ่ายครั้งเดียวใช้งานได้นาน 10 ปี เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการโซลูชันคุ้มค่าและจัดการง่าย...

Responsive image

AIS คว้ารางวัล Creative Equality Award ยกระดับชีวิต ส่งต่อพลังสร้างสรรค์เพื่อสังคม

AIS ตอกย้ำความเป็นเลิศทางความคิดสร้างสรรค์ คว้ารางวัล Creative Equality Award Creative ประเภท Social Impact Awards จากเวที Creative Excellence Awards 2024 ซึ่งเป็นผลจากความสำเร็จขอ...

Responsive image

กรุงศรีตั้ง ปาลิดา อธิศพงศ์ นั่งรักษาการกรรมการผู้จัดการของ Krungsri Finnovate เดินหน้าสตาร์ทอัปไทย

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ประกาศแต่งตั้ง นางสาวปาลิดา อธิศพงศ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งรักษาการกรรมการผู้จัดการ Krungsri Finnovate...