IDC InfoBrief เผย 4 เทรนด์สำคัญสำหรับผู้ค้าปลีกเพื่อฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด | Techsauce

IDC InfoBrief เผย 4 เทรนด์สำคัญสำหรับผู้ค้าปลีกเพื่อฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด

ในขณะที่การระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 กำลังคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ผู้ค้าปลีกจำนวนมากจึงให้ความสำคัญกับวิถีชีวิตแบบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยที่เปลี่ยนไป ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่ออุตสาหกรรมการค้าปลีก ซึ่งเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นสืบเนื่องจากผลการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กระทบต่อการซื้อของที่หน้าร้านค้าของผู้บริโภค และส่งผลให้ผู้ค้าปลีกบางรายต้องสูญเสียรายได้และปิดตัวลงในที่สุด อย่างไรก็ดี ผู้ค้าปลีกที่เหลืออยู่ในตลาดบางราย สามารถค้นพบวิธีปรับตัวและเติบโตในช่วงวิกฤติ ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนต่อการซื้อขายสินค้าของผู้คนในปัจจุบันต่อไป

Infobip ร่วมมือกับ IDC ในการวิเคราะห์แนวทางการซื้อสินค้าและความคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคในปัจจุบันและอนาคต ผ่านรายงานฉบับย่อ IDC Infobrief ภายใต้หัวข้อ “จากยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่วิกฤติ และการฟื้นตัวอีกครั้ง: การปรับตัวของผู้ค้าปลีกในสภาพแวดล้อมแบบใหม่” ที่ตอกย้ำถึงแนวโน้มที่ผู้ค้าปลีกกำลังเผชิญในขณะที่กลับมาเปิดธุรกิจในตลาด หลังการเกิดโรคระบาดของไวรัสโควิด-19 ดังนี้เพื่อที่จะช่วยให้ลูกค้าและผู้ค้าปลีกรายย่อยพร้อมรับมือกับวิถีชีวิตแบบใหม่นี้ได้ Infobip จึงร่วมมือกับ IDC ในการวิเคราะห์แนวทางการซื้อสินค้าและความคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคในปัจจุบันและอนาคต ผ่านรายงานฉบับย่อ IDC Infobrief ภายใต้หัวข้อ “จากยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง สู่วิกฤติ และการฟื้นตัวอีกครั้ง: การปรับตัวของผู้ค้าปลีกในสภาพแวดล้อมแบบใหม่” ที่ตอกย้ำถึงแนวโน้มที่ผู้ค้าปลีกกำลังเผชิญในขณะที่กลับมาเปิดธุรกิจในตลาด หลังการเกิดโรคระบาดของไวรัสโควิด-19 ดังนี้

เทรนด์ #1: การใช้จ่ายค้าปลีกกำลังกลับมา – แต่ยังคงต่ำกว่าช่วงก่อนปี 2020

การใช้จ่ายการค้าปลีกโดยรวมลดลงจาก 34% เหลือ 23% ในระหว่างการเกิดโรคระบาด แต่คาดการณ์ว่าตัวเลขดังกล่าวกำลังกลับมาเพิ่มสูงขึ้นหลังผ่านพ้นช่วงโควิด-19 ถึงแม้จะยังไม่เทียบเท่าระดับก่อนการเกิดการระบาดก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ผู้ค้าปลีกสามารถส่งเสริมให้ผู้บริโภคเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยได้ โดยการค้นหาวิธีมัดใจและตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อให้ตรงจุด

ยกตัวอย่างเช่น ผู้ค้าปลีกอย่าง Tops Markets และ Villa Market ในประเทศไทย มุ่งคว้าโอกาสในการเอาใจผู้บริโภคด้วยบริการการจัดส่งสินค้าถึงบ้านภายในวันเดียว หรือแม้กระทั่งผู้ค้าปลีกรายย่อยอย่าง Lululemon ที่จำหน่ายเสื้อผ้าออกกำลังกาย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสินค้าฟุ่มเฟือย ก็สามารถขายชุดลำลอง ผ่านการปรับตัวและใช้ประโยชน์จากพฤติกรรม ‘การออกกำลังกายที่บ้าน’ ของผู้คนในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี โดยเทรนด์ดังกล่าวจะยังคงอยู่ต่อไป ถึงแม้การระบาดจะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม

เทรนด์ #2: Segment (การจัดกลุ่มเป้าหมาย) มีส่วนสำคัญ  – ร้านค้าปลีกบางประเภทเติบโตได้ดีกว่าในระหว่างการระบาด

เช่นเดียวกับแนวโน้มทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา การระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้เร่งการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านการค้าปลีกในไทยให้เพิ่มสูงยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกบางประเภทดำเนินธุรกิจได้แย่ลง หรือดีขึ้น ตาม Segment หรือประเภทของการค้าปลีกนั้น ๆ

ทั้งนี้ จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า กลุ่มค้าปลีกสินค้าจำเป็น อาทิ ร้านค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป ร้านขายของชำ และร้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ มียอดขายเพิ่มขึ้น 18% ในทางตรงกันข้าม ร้านค้าปลีกสินค้าไม่จำเป็น เช่น รองเท้าและเครื่องแต่งกาย มียอดขายตกลงเกือบ 16% และเป็นกลุ่มธุรกิจค้าปลีกรายแรก ๆ ที่ต้องปิดตัวลง ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ ถือเป็นโอกาสทองของเหล่าธุรกิจ e-commerce ซึ่งพร้อมที่จะตอบสนองต่อความต้องการแบบใหม่ ผ่านการเพิ่มการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนการใช้จ่ายของผู้บริโภคทางออนไลน์ให้เพิ่มสูงขึ้น หลังจากเกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19

ยิ่งไปกว่านั้น การปรับตัวเข้าสู่การทำงานแบบไฮบริด หรือการผสมผสานระหว่างการทำงานในออฟฟิศและการทำงานจากบ้าน จะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่หลังการระบาดของไวรัสโควิด-19 ดังนั้นผู้ค้าปลีกที่เชี่ยวชาญในการทำงานแบบ ‘ไฮบริดโมเดล’ ที่ให้บริการซื้อขายและส่งคืนสินค้าทั้งทางหน้าร้านและออนไลน์ จะสามารถชนะใจและเงินในกระเป๋าของลูกค้าได้อย่างแน่นอน

เทรนด์ #3: ความคาดหวังของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงโควิด-19 และมีแนวโน้มจะคงอยู่อย่างถาวร

ผู้บริโภคเกิดความคาดหวังใหม่ ๆ ในการมีปฏิสัมพันธ์กับร้านค้า ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะกลายเป็น ความปกติใหม่ หรือ วิถีชีวิตแบบใหม่ ภายหลังการระบาด

เหล่านักช้อปทั้งหลายอาจเปลี่ยนการจับจ่ายใช้สอยส่วนใหญ่สู่แพลตฟอร์มออนไลน์ แต่ก็ยังไม่ได้เลิกการซื้อสินค้าผ่านทางหน้าร้านโดยสิ้นเชิงแต่อย่างใด เพราะผู้บริโภคในยุคนี้กำลังมองหาการเข้าถึงการซื้อสินค้าผ่านช่องทางแบบ omnichannel ในรูปแบบใหม่ หรืออาจเรียกได้ว่า กระแสการซื้อออนไลน์ รับของหน้าร้าน (Buy Online, Pick Up In-Store: BOPIS) หรือการรับของระหว่างทาง ต่อยอดจากบริการจัดส่งสินค้าภายในวันเดียวหลังจากกดซื้อทางออนไลน์ กำลังมาแรงและอำนวยความสะดวกต่อประสบการณ์การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคให้ง่ายดายและรวดเร็วทันใจยิ่งขึ้น

เทรนด์การซื้อสินค้าผ่านช่องทางอันหลากหลาย หรือ omnichannel ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นนี้ ส่งผลโดยตรงต่อความต้องการในการสื่อสารกับลูกค้าที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น การส่งข้อความแบบจำเพาะบุคคล บริการการสื่อสารผ่าน SMS การใช้แชทบอท และบริการพิเศษอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคในปัจจุบันคาดหวังการได้รับบริการเหล่านี้จากผู้ค้า และไม่ได้มองการแจ้งเตือนเช่นนี้เป็นเรื่องที่น่ารำคาญ ในช่วงที่พวกเขารอรับสินค้าอยู่ 

ทั้งนี้ รายงานพบว่า ผู้บริโภคกว่าครึ่งต้องการได้รับประสบการณ์การสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางแบบ omnichannel และกว่า 70% ต้องการบริการการชำระเงินแบบไร้การสัมผัส ซึ่งถือเป็นความมุ่งหวังใหม่ที่ลูกค้าต้องการ เมื่อติดต่อกับธุรกิจร้านค้าต่าง ๆ อย่างไม่ต้องสงสัย คำถามคือ ผู้ค้าปลีกพร้อมรับฟังและตอบสนองความต้องการใหม่ ๆ นี้แล้วหรือยัง?

เทรนด์ #4: อนาคตการเติบโตของการใช้จ่ายค้าปลีก – หากผู้ค้าปลีกรู้จัก “วิถี (การช้อปปิ้ง) แบบใหม่” และใช้ให้เกิดประโยชน์

ที่ผ่านมา การค้าปลีกส่วนใหญ่จะตามหลังการเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอลเสมอ แต่การระบาดของไวรัสโควิด-19 บังคับให้ร้านค้าปลีกต้องปรับตัวตามให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งจะสามารถเห็นโอกาสการเติบโตในอุตสาหกรรมการค้าปลีกได้ในระยะยาว แม้การระบาดจะสิ้นสุดลง

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดที่ผู้ค้าปลีกหลายรายได้ระบุและอ้างถึง คือ การเพิ่มการลงทุนเพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า (customer experience: CX) โดยกว่าครึ่งของผู้ค้าปลีกลงความเห็นว่า นวัตกรรม CX จะเป็นปัจจัยหลักต่อการเปลี่ยนแปลงในช่วงสามปีข้างหน้า

ดังนั้น ผู้ค้าปลีกที่สามารถเชื่อมต่อให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางได้อย่างมั่นคงในระยะยาว จะสามารถเติบโตและสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ตอนนี้ยังไม่สายเกินไปสำหรับผู้ค้าปลีกที่จะปรับกลยุทธ์เข้าหาดิจิตอลและตามทันความต้องการใหม่ ๆ ของลูกค้าที่เฟ้นหาการจับจ่ายใช้สอยแบบใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต และการช้อปปิ้งแบบรวดเร็วทันใจ แบบในปัจจุบันของเราทุกคน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมจากรายงานฉบับย่อของ IDC ร่วมกับ Infobip สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ https://www.infobip.com/downloads/resiliency-of-retail-in-a-changed-landscape

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

LINE SCALE UP เปิดรับสตาร์ทอัพทั่วโลก ต่อยอดธุรกิจกับ LINE ก้าวสู่ระดับสากล

LINE SCALE UP เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน LINE Thailand Developer Conference 2024 ที่ผ่านมา เฟ้นหาสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ และพร้อมต่อยอดธุรกิจร่วมกับ LINE สู่เป้าหมายยกระดับธุรกิจสตา...

Responsive image

MarTech MarTalk 2024 EP.3 จากต้นกล้าสู่ความสำเร็จ ด้วยการพัฒนาคนและ MarTech

ChocoCRM จัดงานใหญ่ส่งท้ายปีกับงาน MarTech MarTalk 2024 EP.3 From Seeds to Success: Driving Business Growth with People and Marketing Technology ได้รับการตอบรับดีอย่างต่อเนื่องเป็น...

Responsive image

ทีทีบี เปิดตัว ttb smart shop พร้อม “ปังปัง” มังกรน้ำเงินมงคล ผู้ช่วยร้านค้าแบบครบวงจร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี นำโดย นายศรัณย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ พร้อมด้วย นางกนกพร จูฑา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าบริหารผลิตภัณฑ์ธุรกิจ เปิดตัวฟีเจอร...