แนวทางปฏิบัติของธุรกิจ Healthcare ในการรับมือวิกฤต COVID-19

ถึงเวลาที่ธุรกิจเฮลท์แคร์ต้องทบทวนกลยุทธ์เพื่อรับมือวิกฤต COVID-19

อุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ ยังมีความไม่แน่นอนในการปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นอย่างสมบูรณ์ แต่ก็ยังมีความพยายามในการจัดการการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดกับธุรกิจอย่างรวดเร็ว การเกิดขึ้นของ COVID-19 ทำให้องค์กรต่างๆต้องทิ้งคู่มือทางธุรกิจที่มีอยู่เพื่อสร้าง Customer engagement ขณะที่เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดกลยุทธ์เพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วย

ธุรกิจเฮลท์แคร์มีความจำเป็นในการให้บริการ และการเข้าถึงประชาชนด้วยข้อมูลสำคัญต่างๆ ธุรกิจเฮลท์แคร์สามารถใช้กลยุทธ์ประสบการณ์ลูกค้าจากอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมค้าปลีกได้ อะโดบีมีความมุ่งมั่นในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า หรือผู้ป่วย วันนี้เราได้เห็นความต้องการของอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ในการเข้าสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการให้บริการในสถานการณ์ COVID-19 ได้ทันเวลา

อะโดบีเผยแนวทางปฏิบัติในการสร้างคอนเทนต์ และการบริการเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ สำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ให้บริการ ร้านขายยา ฯลฯ เพราะ “ความต้องการของผู้ป่วย” เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุดในขณะนี้

ความท้าทายที่ธุรกิจเฮลท์แคร์ต้องเผชิญมีอะไรบ้าง?

การให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์มีความสำคัญเสมอเมื่อต้องสื่อสารกับผู้ป่วยในช่วงวิกฤต โดยเฉพาะในช่วงที่รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินที่สร้างความตึงเครียดให้กับผู้คนและกระบวนการทำงานมากขึ้น จากวิกฤต COVID-19 ผู้ป่วยมีการค้นหาข้อมูลมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อเวชภัณฑ์ ยา ของใช้ในครัวเรือน ไปจนถึง test kit เพื่อตรวจหาเชื้อ COVID-19 แล้วคุณสามารถให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องได้อย่างไร

ช่องทางการสื่อสารแบบเดิมที่มีอยู่มักจำกัดความเร็วของการนำเสนอเนื้อหาที่จำเป็นในช่วงวิกฤต องค์กรจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์การสื่อสารทั้งออนไลน์และออฟไลน์ (Omni-channel) เพื่อส่งเนื้อหาและข้อมูล แล้วองค์กรพร้อมที่จะมีช่องทางการสื่อสารใหม่ ที่พร้อมจะให้ลูกค้าหรือผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วมได้หรือยัง?

เมื่อภาครัฐออกมาตรการ Social Distancing ทำให้บทบาทการใช้งานดิจิทัลมีมากขึ้น คุณจะใช้ Digital self-service ในการตอบสนองความต้องการที่ไม่เร่งด่วน และกิจวัตรประจำวันได้อย่างไร ขณะเดียวกันก็ต้องให้ข้อมูลใหม่ๆ เช่น ค้นหาโรงพยาบาลที่ตรวจเชื้อ COVID-19 ขณะที่ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นรายชื่อโรงพยาบาล คุณสมบัติของผู้ป่วย หรือกระบวนการตรวจ เป็นต้น

4 ขั้นตอนปฏิบัติของธุรกิจเฮลท์แคร์ในช่วง COVID-19

ขั้นที่ 1 : เสนอรายชื่อทีมเพื่อนำ “ประสบการณ์ลูกค้า” ไปปรับใช้ อุปสรรคที่เจอบ่อยในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ป่วยคือ “กระบวนการภายในที่ซับซ้อน และการอนุมัติที่ล่าช้า” ในช่วงเวลาวิกฤตนี้ ธุรกิจจำเป็นต้องพักขั้นตอนที่ซับซ้อนและการใช้เวลานานในการตัดสินใจไว้ก่อน โดยแต่งตั้งทีมที่สามารถตัดสินใจ และปฏิบัติการอย่างรวดเร็ว เช่น ทีมไทเกอร์ ซึ่งมีความสามารถในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นในการทดสอบ เรียนรู้ และดำเนินการได้อย่างทันที

ในทีมนี้ควรแต่งตั้งบุคคลที่สามารถให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ชี้แนะ และอนุมัติแนวคิดของทีม โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางกฎหมายที่จำเป็นเกี่ยวกับสุขภาพ รวมถึงบุคคลสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ “คนสร้างและพัฒนาคอนเทนต์” ที่ใช้และเผยแพร่ในองค์กร รวมถึงนักวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งจะเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์เพื่อให้คำแนะนำ และปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าและผู้ป่วยได้ทันที

ขั้นที่ 2: แนวทางปฏิบัติที่เรียบง่ายที่สุดแต่มักถูกลืมนั่นคือ “การรู้จักผู้ป่วย” ประสบการณ์ที่ดีที่สุดของผู้ป่วย (Best patient experience) จะช่วยลัดขั้นตอนการทำงานแบบแยกส่วนในองค์กร (Organizational silos) และเพื่อทำความเข้าใจใน journey และปัญหาของผู้ป่วย องค์กรควรแยก journey ที่แตกต่างกันในกลุ่มผู้ป่วย เช่น journey ของกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง จะแตกต่างจากกลุ่มของผู้ดูแล (Caregiver) ที่ต้องการรู้วิธีและขั้นตอนการรักษาโรค COVID-19 อย่างละเอียด

ขั้นที่ 3: มีช่องทางที่ติดต่อกับผู้ป่วยได้ตลอด ไม่ว่าจะเป็นแบนเนอร์ แลนดิ้งเพจ หรือ FAQ ที่นำไปสู่ข้อมูลของ COVID-19 กุญแจสำคัญคือทำอย่างไรที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเชื่อมโยงกับคุณ หรือนึกถึงคุณเป็นอันดับแรกเมื่อพวกเขาประสบปัญหา และคุณจะทำอย่างไรเพื่อให้ข้อมูลกับผู้ป่วยได้ตรงและแม่นยำที่สุดในทุกเวลาที่พวกเขาต้องการ ประสบการณ์เฉพาะบุคคล (Personalized experiences) จะช่วยตอบโจทย์เหล่านี้ และช่วยให้คุณตอบสนองพวกเขาได้ทันที โดยคุณต้องไม่ลืมช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพที่สุดกับผู้ป่วยที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน

ขั้นที่ 4: การวัดประสิทธิภาพของคอนเทนต์ที่คุณนำเสนอให้กับผู้ป่วย หรือสาธารณะชนนั้นมีความสำคัญมาก การทำงานกับทีมข้อมูลและทีมวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจะให้ความรู้ที่คุณต้องให้ความสำคัญเพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ การกำหนดและตั้ง KPI จะช่วยให้คุณสามารถประเมิน conversion จากเครื่องมือ Digital self-service และ Telehealth ยิ่งไปกว่านั้น KPI ที่ถูกต้องจะช่วยให้คุณสามารถประเมินกลยุทธ์การสื่อสารทั้งออนไลน์และออฟไลน์ (Omni-channel) ได้อย่างเหมาะสมในการแบ่งปันข้อมูลให้กับผู้ป่วย เช่น การให้ความรู้ COVID-19 อย่างต่อเนื่อง หรือการให้ข้อมูลของสถานที่ตั้งของผู้ให้บริการ ฯลฯ

ท้ายสุดการเรียนรู้จากผู้ที่เกี่ยวข้อง และการใช้ประโยชน์จากโซลูชั่นต่างๆ จะช่วยเปลี่ยนกลยุทธ์ธุรกิจเฮลท์แคร์ของคุณ และทำให้เข้าถึงความต้องการของผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น รวมถึงช่วยคุณให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพตามความต้องการผู้ป่วยแต่ละคน และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับพวกเขาเหล่านั้นแม้จะอยู่ในช่วงวิกฤต


No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทรู ไอดีซี คว้า Sustainability Impact Award 2024 ตอกย้ำผู้นำดาต้าเซ็นเตอร์รักษ์โลก

ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ (ทรู ไอดีซี) ผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์ภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ สร้างชื่อเสียงในระดับประเทศ คว้ารางวัล Sustainability Impact Award 2024 จา...

Responsive image

AXONS คิดค้น AI อัจฉริยะ ตรวจโรคหมูได้ไวแม่นยำ ยกระดับฟาร์มสู่ยุคใหม่

AXONS เปิดตัวระบบวินิจฉัยโรคสุกรอัจฉริยะ ด้วย AI และ LLM วิเคราะห์อาการแบบเรียลไทม์ เสริมความแม่นยำ ลดภาระสัตวแพทย์ ยกระดับฟาร์มปศุสัตว์ไทยสู่ความยั่งยืน...

Responsive image

รู้จัก “Better AI” จากโรงพยาบาลกรุงเทพ AI เปลี่ยนวงการสุขภาพ ด้วย 3 ฟีเจอร์เด่น

รู้จัก Better AI จากโรงพยาบาลกรุงเทพ กับ 3 ฟีเจอร์สุดล้ำที่ช่วยสรุปบทความสุขภาพให้ฟัง จับเทรนด์สุขภาพล่าสุด และแนะนำแพทย์ที่เหมาะกับคุณ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยทุกคน...