IWG เผยการทำงานที่ยืดหยุ่น คือคำตอบสำหรับพนักงานยุคใหม่และยังพัฒนาองค์กรให้เติบโตยิ่งขึ้น | Techsauce

IWG เผยการทำงานที่ยืดหยุ่น คือคำตอบสำหรับพนักงานยุคใหม่และยังพัฒนาองค์กรให้เติบโตยิ่งขึ้น

  • ผลสำรวจใหม่ล่าสุดแสดงให้เห็นว่าร้อยละ 83 ของพนักงานทั่วโลกจะปฏิเสธตำแหน่งงานที่มีสภาพการทำงานที่ไม่ยืดหยุ่น
  • จากผลสำรวจร้อยละ 54 ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า การเลือกสถานที่ทำงานได้มีความสำคัญต่อพวกเขามากกว่าการทำงานในบริษัทที่มีชื่อเสียง
  • ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาร้อยละ 85 ของธุรกิจได้ประกาศใช้นโยบายพื้นที่ทำงานที่ยืดหยุ่นหรือกำลังวางแผนที่จะนำนโยบายนี้มาใช้

IWG ผู้ดำเนินการบริหารแบรนด์ผู้ให้บริการพื้นที่สำนักงานชั้นนำระดับโลก อย่างRegus (รีจัส) และ Spaces (สเปซเซส) ได้จัดทำผลสำรวจกลุ่มนักธุรกิจจำนวนกว่า 15,000 คน ใน 80 ประเทศ ทั่วโลก พบว่าร้อยละ 83ของผู้ตอบแบบสำรวจมองว่า 'การทำงานที่ยืดหยุ่น' ถือเป็นบริบทใหม่ (New Normal) ของคนทำงานในยุคปัจจุบันและยังเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกองค์กรเข้าร่วมทำงาน โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ให้ความยืดหยุ่นมากกว่าจำนวนวันหยุด อีกทั้งองค์กรที่ขาดนโยบายด้านความยืนหยุ่นในการทำงานมีแนวโน้มที่จะสูญเสียพนักงานที่มีความรู้ความสามารถสูงกว่าองค์กรที่มีความยืดหยุ่นในการทำงานทั้งในด้านเวลาทำงาน และ สถานที่ทำงาน ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมากว่าร้อยละ 85 ขององค์กรต่างๆ ได้มีการปรับเพิ่มนโยบายในการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 60 ของผู้ตอบแบบสำรวจเห็นว่า ในบางองค์กรมีแนวโน้มที่ไม่สามารถประยุกต์แนวคิดการทำงานที่ยืดหยุ่นได้ ดังเช่นองค์กรที่มีการทำงานมายาวนาน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีข้อจำกัดในการเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน เพราะเกรงว่าการทำงานในรูปแบบดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมองค์กรและแนวทางการทำงานที่มีมาอย่างยาวนาน

มร. ลาส์ วิททิก รองประธานฝ่ายขายประจำภูมิภาคอาเซียนของ IWG กล่าวว่า “จากรายงานการสำรวจ Global Workspace Survey ในปีที่ผ่านมา ได้กล่าวถึงการก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ แต่จากผลสำรวจในครั้งนี้ทำให้เห็นได้ชัดว่าปัจจุบันการทำงานที่ยืดหยุ่นถือเป็นบริบทใหม่ในการทำงานที่องค์กรต่างๆ นั้นมุ่งเน้นเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ความคล่องตัวในการทำงาน และการเสาะหาทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถ โดยมากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ตอบแบบสำรวจมีความต้องการในการทำงานนอกสถานที่อย่างน้อย 2 - 3 วันต่อสัปดาห์”

ในปัจจุบันองค์กรต่างๆทั่วโลก จำเป็นต้องเพิ่มความคล่องตัวในการปรับตัวให้สอดคล้องรับกับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้น ซึ่งจากผลสำรวจแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นของการพิจารณาเอาแนวคิดการทำงานแบบยืดหยุ่นเข้ามาประยุกต์ใช้ในองค์กร เพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ ขององค์กร อาทิ ประโยชน์เชิงกลยุทธ์และการเงิน การสร้างความได้เปรียบในการดึงดูดพนักงานที่เป็นคนรุ่มใหม่ให้มีความสนใจในองค์กรยิ่งขึ้น และการรักษาพนักงานที่มีความรู้ความสามารถได้

การดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความรู้ความสามารถ

จากผลสำรวจร้อยละ 71 ของผู้ตอบแบบสำรวจมองว่า การนำแนวคิดการทำงานที่ยืดหยุ่นมาใช้กับองค์กรสามารถช่วยดึงดูดและเฟ้นหาพนักงานที่มีความรู้ความสามารถและตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรได้ดี พร้อมทั้งช่วยรักษาพนักงานที่มีความสามารถขององค์กรไว้ได้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของพนักงานที่มีต่อการทำงานที่ยืดหยุ่น โดยคิดเป็นร้อยละ 32 ของผู้ตอบแบบสำรวจพบว่าแนวคิดดังกล่าวมีความสำคัญและตอบโจทย์ความต้องการพนักงานได้ดีกว่าการมอบหมายงานที่มีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่สูงขึ้น

ซึ่งในปัจจุบันพนักงานส่วนมากให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work/Life Balance) โดยจากผลสำรวจพบว่า แนวคิดการทำงานที่ยืดหยุ่นมีส่วนช่วยในการสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้ถึงร้อยละ 78 รวมไปถึงการช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีขึ้น ในกลุ่มพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากความเครียด มีปัญหาด้านสุขภาพจิต พนักงานสูงอายุ เป็นต้น

การปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน

แนวคิดการทำงานที่ยืดหยุ่น ไม่เพียงจะช่วยให้พนักงานมีความสุขในการทำงานและมีสุขภาพที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานอีกด้วย โดยยืนยันได้จากผู้ตอบแบบสำรวจกว่าร้อยละ 85 เห็นว่าความยืดหยุ่นถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ดีที่สุด รองลงมาคือร้อยละ 21 กล่าวว่าประสิทธิภาพการทำงานที่ดีเป็นผลมาจากรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสอดคล้องกับข้อมูลขององค์การสหประชาชาติที่ได้มีการระบุไว้ว่า ประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงไม่กี่ปีผ่านมา

ความคล่องตัวในการทำงาน

ในช่วงภาวะเศรษฐกิจที่มีการผันผวนอยู่ขณะนี้ ทำให้องค์กรต่างๆ และผู้ประกอบการกำลังให้ความสำคัญในด้านความคล่องตัวของการดำเนินธุรกิจและการประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยร้อยละ 55 ของผู้ตอบแบบสำรวจยืนยันว่า ในปี 2562 นี้องค์กรต้องการความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้นและมีแนวโน้มในการมองหาช่องทางการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ และกว่าร้อยละ 64 ของผู้ตอบแบบสำรวจ ระบุว่าการทำงานแบบยืดหยุ่นมีส่วนช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพและย่นระยะเวลาในการขยายธุรกิจสู่ตลาดใหม่ในต่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น โดยร้อยละ 66 ของผู้ตอบแบบสำรวจเลือกใช้แนวคิดการทำงานที่ยืดหยุ่นเพื่อรองรับความต้องการในการขยายธุรกิจ จำนวนร้อยละ65 เผยว่าต้องการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการทำงานโดยเลือกใช้พื้นที่สำนักงานที่มีความยืดหยุ่นและการบริการอย่างครบวงจร

ย่นระยะเวลาในการเดินทางไปทำงาน

จากผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่าร้อยละ 40 ของผู้ตอบแบบสำรวจมองว่าระยะเวลาในการเดินทางไปทำงานในแต่ละวันถือเป็นส่วนที่เลวร้ายที่สุดในการทำงานและเชื่อว่าการเดินทางไปทำงานอาจเป็นเรื่องที่ล้าสมัยในอีก 10 ปีข้างหน้า (ปี พ.ศ. 2573)โดยร้อยละ 22 ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่า พวกเขาเดินทางไปทำงาน ‘สายเป็นประจำ’ เนื่องจากการจราจรในช่วงเช้าติดขัดและหยุดชะงักบ่อยครั้ง อีกทั้งยังใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเดินทางไปทำงานจึงมองว่าองค์กรควรปรับระเบียบเวลาในการเข้างานของพนักงานโดยรวมเวลาที่ใช้ในการเดินทางเข้าไปกับเวลาการทำงาน

บริบทใหม่ในการทำงาน

สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจและพนักงาน กว่าร้อยละ 50 ของผู้ตอบแบบสำรวจมองว่าการทำงานที่ยืดยุ่นถือเป็นบริบทใหม่ของคนทำงานในยุคปัจจุบัน เพราะพนักงานส่วนใหญ่ใช้เวลาทำงานนอกสถานที่มากกว่าอยู่ในออฟฟิศถึง 3-4 วันต่อสัปดาห์หรือมากกว่านั้น โดยสามารถเห็นผลได้ชัดเจนจากกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามกว่าร้อยละ 70 ให้เหตุผลว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานถือเป็นปัจจัยสำคัญในตัดสินใจเปลี่ยนงานและแนวคิดการทำงานที่ยืดหยุ่นนี้มีส่วนช่วยให้องค์กรต่างๆ มีโอกาสในการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานและดึงดูดพนักงานที่มีความรู้ความสามารถได้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SCB 10X เปิดเวที “Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand” เดินหน้าวิจัย AI ไทย พร้อมเปิดตัว ‘ไต้ฝุ่น 2.0’ เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด

SCB 10X เปิดตัว "ไต้ฝุ่น 2" โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สุดล้ำในงาน Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand พร้อมยกระดับวิจัย AI ไทยสู่เวทีโลก...

Responsive image

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future”

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 มุ่งขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทยด้วยเทคโนโลยี AI สู่ยุคดิจิทัล...

Responsive image

ส.อ.ท. เตรียมจัด FTI EXPO 2025 รวมสุดยอดนวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผนึกกำลังพันธมิตรองค์กรชั้นนำ จัดงาน FTI EXPO 2025 ภายใต้แนวคิด “4GO” ที่ครอบคลุม 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ ดิจิทัล นวัตกรรม การขยายตลาดสู่ต่างประเทศ แ...