“JobsDB” ชี้สัญญาณดีมานด์แรงงานเดือน พ.ค. ฟื้น รับคลายล็อคเฟส 3 งานไอที ขาย ยังมีความต้องการ ด้านธุรกิจโลจิสติกส์ คว้าแชมป์ดีมานด์เติบโต 23% | Techsauce

“JobsDB” ชี้สัญญาณดีมานด์แรงงานเดือน พ.ค. ฟื้น รับคลายล็อคเฟส 3 งานไอที ขาย ยังมีความต้องการ ด้านธุรกิจโลจิสติกส์ คว้าแชมป์ดีมานด์เติบโต 23%

“JobsDB” เปิดโครงการ #TogetherAhead  ช่วยคนหางาน ช่วยภาคธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ประกาศงานเงินเดือนต่ำกว่า 15,000 ฟรี ถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2563

จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) เผยภาพรวมความต้องการงานทั่วประเทศไทย 3 เดือนตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม แม้จะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จนส่งผลกระทบในหลายภาคส่วนจนทำให้เกิดอัตราคนว่างงานที่เพิ่มมากขึ้น แต่ในวิกฤตดังกล่าวพบว่ามีภาคธุรกิจที่ยังคงมีความต้องการแรงงาน อาทิ ธุรกิจไอที ธุรกิจขายปก ธุรกิจบริการด้านการเงิน ธุรกิจจัดจำหน่าย ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ฯลฯ และล่าสุดข้อมูลสิ้นเดือนพฤษภาคมพบสัญญาณการรับสมัครงานเพิ่มขึ้นใน 5 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ 1.ธุรกิจโลจิสติกส์ เพิ่มขึ้น 23% 2.ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพิ่มขึ้น 13% 3.ธุรกิจโฆษณา ธุรกิจการตลาด ธุรกิจประชาสัมพันธ์ เพิ่มขึ้น 6% 4.ธุรกิจประกันภัย เพิ่มขึ้น 5% และ 5.ธุรกิจขายส่ง ธุรกิจขายปลีก เพิ่มขึ้น 2%นอกจากนี้อัตราการสมัครงานยังเพิ่มขึ้น 20% เมื่อเทียบกับในเดือนเมษายน ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นไปตามกลไลของสถานการณ์ที่เริ่มดีขึ้นตามลำดับ

ในขณะที่ข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรคนไทยเมื่อเดือนมีนาคมจะแสดงให้เห็นถึงจำนวนคนว่างงานกว่า 3.92 แสนคน (ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบในหลายภาคส่วนทำให้เกิดอัตราคนว่างงานที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งมีการคาดการณ์จากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย (กกร.) ว่ามีพนักงาน 7 ล้านคนที่จะออกจากงานภายในเดือนมิถุนายน เนื่องจากการปิดตัวลงของภาคธุรกิจและส่งผลกระทบต่อคนทำงานที่มีรายได้น้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน

ทั้งนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยภาคคนหางานและภาคธุรกิจให้เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง จ๊อบส์ ดีบี ได้เปิดตัวโครงการ “ทูเก็ตเทอร์อเฮด” (#TogetherAhead) ช่วยเหลือผู้หางานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยผู้ประกอบการสามารถลงประกาศงานฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ในขณะที่ผู้หางานที่ได้รับผลกระทบสามารถมองหาตำแหน่งงานใหม่ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตดังกล่าว ถือเป็นอีกช่องทางให้ผู้ประกอบการได้คนทำงานที่ตรงใจ รวมถึงผู้หางานได้พบงานที่ดี มีคุณภาพจากองค์กรชั้นนำที่น่าเชื่อถือ ล่าสุดได้รับความสนใจจากองค์กรและผู้ประกอบการชั้นนำเข้าร่วมกว่า 600 บริษัท มีประกาศงานที่เปิดรับกว่า 1,500 อัตรา และมีใบสมัครเข้ามาในระบบแล้วมากกว่า 30,000 ใบสมัคร ซึ่งองค์กรหรือผู้ประกอบการที่สนใจสามารถรับขอสิทธิ์ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://th.jobsdb.com/togetherahead  

นางสาวพรลัดดา เดชรัตน์วิบูลย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัดกล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นไปทั่วโลก ปฏิเสธไม่ได้ว่าได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจรวมถึงธุรกิจเกือบทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นฝั่งองค์กร ผู้ประกอบการ ตลอดจนฝั่งคนหางาน แต่ในวิกฤตดังกล่าวก็ยังพบว่ามีธุรกิจหลายประเภทที่ยังมีความต้องการแรงงาน เพื่อมาช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรสามารถข้ามผ่านสถานการณ์ดังกล่าวไปได้ ด้วยเหตุนี้ จ๊อบส์ ดีบี จึงได้เผยภาพรวมความต้องการคนทำงานทั่วประเทศไทยช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม 2563 พบข้อมูลดังนี้ 

5 ธุรกิจที่ยังมีความต้องการคนทำงาน ได้แก่ 

  1. ธุรกิจไอที (Information Technology) 
  2. ธุรกิจการผลิต (Manufacturing)
  3. ธุรกิจขายส่ง ธุรกิจขายปลีก (Wholesale / Retail)
  4. ธุรกิจบริการด้านการเงิน (Financial Services)
  5. ธุรกิจ Trading ธุรกิจจัดจำหน่าย (Trading and Distribution)

5 สายอาชีพที่ยังคงมีความต้องการคนทำงาน ได้แก่ 

  1. งานขาย งานบริการลูกค้า งานพัฒนาธุรกิจ (Sales, CS & Business Devpt)
  2. งานไอที (Information Technology) 
  3. งานวิศวกรรม (Engineering)
  4. งานการตลาด งานประชาสัมพันธ์ (Marketing / Public Relations)
  5. งานธุรการ งานทรัพยากรบุคคล (Admin & HR)

 จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่ากลุ่มธุรกิจและสายงานไอทีเป็นกลุ่มที่มีความต้องการคนทำงานสูง เนื่องจากหลายองค์กรมีการปรับตัวรับ New Normal รวมถึงการทำงานให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ในขณะที่ธุรกิจผลิตและจัดจำหน่าย มีการเตรียมความพร้อมรับคนกลับมาทำงานหลังภาพรวมต่าง ๆ เริ่มส่งสัญญาณในทิศทางที่ดีขึ้น 

 ทั้งนี้จากข้อมูลล่าสุดสิ้นเดือนพฤษภาคมพบว่ามีตัวเลขความต้องการแรงงาน เริ่มฟื้นตัวกลับมา แบ่งตามกลุ่มธุรกิจ ได้แก่

  • ธุรกิจโลจิสติกส์ (Logistic) เพิ่มขึ้น 23% 
  • ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Property Development) เพิ่มขึ้น 13% 
  • ธุรกิจโฆษณา ธุรกิจการตลาด ธุรกิจประชาสัมพันธ์ (Advertising/Public Relations/Marketing Services) เพิ่มขึ้น 6%
  • ธุรกิจประกันภัย (Insurance/Pension Funding) เพิ่มขึ้น 5%
  • ธุรกิจขายส่ง ธุรกิจขายปลีก (Wholesale/Retail) เพิ่มขึ้น 2%

จะเห็นได้ว่าการเติบโตของของภาคธุรกิจเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับวิถีการใช้ชีวิตของผู้คนมากขึ้น เช่น ธุรกิจโลจิสติกส์ ที่มีการเติบโตจากการขนส่งสินค้าออนไลน์ รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการสั่งอาหารเดลิเวอรี่เพิ่มมากขึ้น ส่วนธุรกิจประกันภัยมีการเติบโตเนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญกับประกันสุขภาพมากในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงธุรกิจขายส่ง ธุรกิจขายปลีก ที่มีแน้วโน้มเติบโตอันเป็นไปตามเทคโนโลยีดิจิทัล

ในขณะที่ 5 กลุ่มธุรกิจที่มีจำนวนประกาศงานลดเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ธุรกิจท่องเที่ยว (Tourism/Travel Agency) ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจบริการ ธุรกิจจัดเลี้ยง (Hospitality/Catering) ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจสถาปัตยกรรม (Architecture/Building/Construction) ธุรกิจยานยนต์ (Motor Vehicles) ธุรกิจวิศวกรรมก่อสร้าง-ธุรกิจวิศวกรรมโยธา-ควบคุมอาคาร (Engineering - Building, Civil, Construction/Quantity Survey)

นางสาวพรลัดดา กล่าวต่อว่า สำหรับภาพรวมของฝั่งคนหางาน พบว่าในเดือนพฤษภาคมผู้สมัครงานมีจำนวนการสมัครงานเพิ่มขึ้น คิดเป็น 20% เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน ทั้งจากคนทำงานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ รวมถึงผู้สมัครงานบางส่วนเริ่มมีความเชื่อมั่นในสถานการณ์และมองหาโอกาสในการทำงานเพิ่มขึ้น  ซึ่งพิจารณาจากใบสมัครเติบโตสูง พบว่า 1.ธุรกิจ Trading ธุรกิจจัดจำหน่าย (Trading and Distribution) เพิ่มขึ้น 32%  2.ธุรกิจสารเคมี พลาสติก กระดาษ ปิโตรเคมี (Chemical / Plastic / Paper / Petrochemical) เพิ่มขึ้นสูงถึง 13% 3.ธุรกิจไอที (Information Technology) เพิ่มขึ้น 10% และ 4.ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจจัดเลี้ยง (Food and Beverage / Catering) เพิ่มขึ้น 2%

 และในช่วงเวลาเดียวกันยังแสดงให้เห็นถึง 5 กลุ่มสายงานเป็นที่ต้องการของผู้สมัครงานสูงคือ 1.อีคอมเมิร์ซ (E-commerc) เพิ่มขึ้น 75% 2.งานขาย งานบริการลูกค้า งานพัฒนาธุรกิจ (Sales, CS & Business Development) เพิ่มขึ้น 3% 3.งานบัญชี (Accounting) เพิ่มขึ้น 3% 4.งานไอที (IT) เพิ่มขึ้น 3% 5.งานการตลาด งานประชาสัมพันธ์ (Marketing / Public Relations) เพิ่มขึ้น 2% ตามลำดับ ซึ่งการแข่งขันเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจในการจ้างงาน ให้สามารถเลือกคนทำงานได้ตรงตามเป้าหมาย โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่ต้องการก้าวสู่ดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซในอนาคตต่อไป นางสาวพรลัดดา กล่าวทิ้งท้าย



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

กรุงศรีตั้ง ปาลิดา อธิศพงศ์ นั่งรักษาการกรรมการผู้จัดการของ Krungsri Finnovate เดินหน้าสตาร์ทอัปไทย

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ประกาศแต่งตั้ง นางสาวปาลิดา อธิศพงศ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งรักษาการกรรมการผู้จัดการ Krungsri Finnovate...

Responsive image

ทีทีบี จับมือ databricks ผสานพลัง Data และ AI สร้างอนาคตการเงินที่ดีขึ้นให้คนไทย

ทีทีบี ตอกย้ำความมุ่งมั่นผลักดันดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับวงการธนาคารไทย จับมือพันธมิตร databricks พร้อมเดินหน้าสร้าง Data-driven Culture ปักธงก้าวสู่ธนาคารที...

Responsive image

LINE SCALE UP เปิดรับสตาร์ทอัพทั่วโลก ต่อยอดธุรกิจกับ LINE ก้าวสู่ระดับสากล

LINE SCALE UP เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน LINE Thailand Developer Conference 2024 ที่ผ่านมา เฟ้นหาสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ และพร้อมต่อยอดธุรกิจร่วมกับ LINE สู่เป้าหมายยกระดับธุรกิจสตา...