JobsDB เผย ความต้องการแรงงานในไทย เพิ่ม 6.7% จากปี 63 กลุ่ม IT ครองตลาด ประกาศหางานสูงที่สุด | Techsauce

JobsDB เผย ความต้องการแรงงานในไทย เพิ่ม 6.7% จากปี 63 กลุ่ม IT ครองตลาด ประกาศหางานสูงที่สุด

JobsDB รายงานสถิติข้อมูลสถานการณ์การจ้างงานในช่วงครึ่งปีแรก พบว่า ข้อมูล อัตราการว่างงานไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 สูงสุดในประเทศไทยเมื่อเทียบกับ 5 ปีย้อนหลัง และสูงที่สุดตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด อยู่ที่ 1.96% จากการลดจำนวนแรงงานและฤดูกาลโยกย้ายประจำปี ในทางกลับกันความต้องการแรงงานในประเทศไทยทั้งจากบนแพลตฟอร์มหางาน และช่องทางสื่อกลางออนไลน์อื่น ๆ ในช่วงครึ่งปีแรก ของปี 2564 กลับฟื้นขึ้นมา 6.7% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 โดยมีอัตราการแข่งขันที่ 80 ใบสมัครต่อ 1 ประกาศงาน

โดยกลุ่มสายงานที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ 

  1. สายงานขาย บริการลูกค้า และพัฒนาธุรกิจ คิดเป็น 15.3% 
  2. สายงานไอที คิดเป็น 14.8% 
  3. สายงานวิศวกรรม คิดเป็น 10.0%  

ในด้านมุมมองกลุ่มธุรกิจพบว่า ธุรกิจที่มีอัตราการฟื้นตัวสูงสุดพิจารณาจำนวนความต้องการแรงงาน ได้แก่ 

  1. กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 
  2. กลุ่มธุรกิจประกันภัย 
  3. กลุ่มธุรกิจการผลิต 

ในขณะที่ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ 

  1. กลุ่มธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยว คิดเป็น 51% 
  2. กลุ่มธุรกิจบริการเฉพาะกิจ คิดเป็น 22% 
  3. กลุ่มธุรกิจสินค้าอุตสาหกรรม คิดเป็น 21% 

อย่างไรก็ตาม JobsDB มีกำหนดจัดมหกรรมหางานออนไลน์ ในช่วงเดือนกันยายน ที่กำลังจะมาถึง

นางสาวพรลัดดา เดชรัตน์วิบูลย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท จัดหางาน JobsDB (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า JobsDB ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ตลาดแรงงานไทยหลังวิกฤตการณ์โควิดระลอกที่ 3 และ 4 ในช่วงครึ่งปีแรก ของปี 2564 พบว่า ไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 อัตราการว่างงานรายไตรมาสในประเทศไทยสูงสุดเมื่อเทียบกับ 5 ปีย้อนหลัง และสูงที่สุดตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด อยู่ที่ 1.96% ในขณะที่จำนวนความต้องการแรงงานในประเทศไทยทั้งจากบนแพลตฟอร์มหางาน และช่องทางสื่อกลางออนไลน์อื่น ๆ ในช่วงครึ่งปีแรก ของปี 2564 ฟื้นขึ้นมา 6.7% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 

โดยจากข้อมูลจำนวนประกาศงานบน JobsDB ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 พบว่า กลุ่มสายงานที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่ 

  1. สายงานขาย บริการลูกค้า และพัฒนาธุรกิจ คิดเป็น 15.3% 
  2. สายงานไอที คิดเป็น 14.8% 
  3. สายงานวิศวกรรม คิดเป็น 10.0% 

ในขณะที่กลุ่มสายงานที่มีจำนวนประกาศงานเติบโตขึ้นมากที่สุด ได้แก่ 

  1. สายงานการจัดซื้อ คิดเป็น +43.0% 
  2. สายงานขนส่ง คิดเป็น +37.4% 
  3. สายงานประกันภัย คิดเป็น +36.4%

ในด้านการฟื้นตัวของภาคธุรกิจโดยพิจารณาจำนวนความต้องการแรงงาน พบว่า ธุรกิจที่มีสัดส่วนจำนวนประกาศงานสูงสุด ได้แก่ 

  1. กลุ่มธุรกิจไอที คิดเป็น 9.6% 
  2. กลุ่มธุรกิจการผลิต คิดเป็น 6.2% 
  3. กลุ่มธุรกิจการค้าปลีก-ส่ง คิดเป็น 5.5% 

และธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2563 ได้แก่ 

  1. กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็น +52.6% 
  2. กลุ่มธุรกิจประกันภัย คิดเป็น +48.0% 
  3. กลุ่มธุรกิจการผลิต คิดเป็น +41.7% 

นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราการแข่งขันลดลงในเชิงจำนวนอยู่ที่ 80 ใบสมัครต่อ 1 ประกาศงาน และยอดจำนวนใบสมัครงานเพิ่มขึ้น 12%

นอกจากนี้ JobsDB ยังได้ร่วมมือกับบริษัทชั้นนำของโลกอย่าง Boston Consulting Group และ The Network ได้ทำแบบสำรวจ “ถอดรหัสลับ จับทิศทางความต้องการคนทางานยุคใหม่” (Global Talent Survey) ซึ่งมีบทสรุปรายงานด้วยกัน 3 ฉบับ ได้แก่ “รายงานฉบับที่ 1 : Where – สถานที่ทำงานแบบไหนที่คนทำงานยุคใหม่ต้องการ และการทำงานแบบเวอร์ชวล” “รายงานฉบับที่ 2 : How - วิถีชีวิตเปลี่ยน พนักงานต้องการทำงานแบบไหน” และ “รายงานฉบับที่ 3 : What – เจาะลึกความต้องการ งานอะไรที่คนทำงานอยากทำมากที่สุด” โดยสำรวจความคิดเห็นคนทำงานกว่า 200,000 คน ใน 190 ประเทศ จาก 20 กลุ่มอาชีพ จัดทำขึ้นในช่วงปลายปี 2020 เพื่อศึกษาเทรนด์ของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนไปในหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์โควิด-19

จากรายงานพบว่า หลังวิกฤตโควิด คนทำงานเปลี่ยนความคิดเรื่องวิถีในการเลือกสถานที่ทำงาน โดยคนทำงานสามารถปรับตัวกับการทำงานระยะไกลได้ดีขึ้น โดยกว่า 73% ของคนทำงานเลือกที่จะทำงานแบบผสมผสานระหว่างการทำงานที่ออฟฟิศสลับกับการทำงานระยะไกล และความต้องการในการเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศแบบเต็มเวลา ลดลงเหลือเพียงแค่ 7% นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยหลักที่คนทำงานให้ความสำคัญมากที่สุดในการเข้าทำงานหลังวิกฤตโควิด-19 ได้แก่ 

  1. อัตราเงินเดือนและผลตอบแทน 
  2. ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน 
  3. ความรู้สึกภาคภูมิใจกับงาน

ในส่วนของการเปิดรับต่อการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่เพิ่มเติม พบว่า 71% ของคนไทยในช่วงอายุ 21 – 40 ปี มีความพร้อมในการพัฒนาทักษะเดิมและการสร้างทักษะสำหรับบทบาทงานใหม่ โดยสายงานที่ต้องการฝึกอบรมทักษะใหม่ อาทิ  สายงานช่างและการผลิต สายงานสื่อและสารสนเทศ สายงานขาย ในด้านช่องทางการเรียนรู้ที่คนทำงานในประเทศไทยใช้ในการพัฒนาทักษะด้านอาชีพมากที่สุด ได้แก่ 

  1. การสอนงานขณะปฏิบัติงาน 
  2. การเรียนรู้ด้วยตัวเอง 
  3. สถาบันการศึกษาออนไลน์ ตามลำดับ

ยิ่งไปกว่านั้นจากวิกฤตโควิด-19 ยังได้ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนดัชนีเชิงบวกในการทำงาน ได้แก่ 

  1. การใช้เครื่องมือดิจิทัล อยู่ในระดับ 0.80 คะแนน 
  2. ความร่วมมือภายในทีม อยู่ในระดับ 0.46 คะแนน 
  3. ความยืดหยุ่นในการทำงาน อยู่ในระดับ 0.44 คะแนน 

ซึ่งดีกว่าค่าคะแนนทั่วโลก รวมถึงยังพบว่าคนทำงานรุ่นใหม่จำนวน 53% จะไม่เลือกเข้าทำงานกับองค์กรที่ไม่มีค่านิยมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตามที่คาดหวัง และคนทำงานในภาพรวมจำนวน 63% จะไม่เลือกเข้าทำงานกับองค์กรที่ไม่สนับสนุนเรื่องความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศและวัฒนธรรมความเชื่อ นางสาวพรลัดดา กล่าวทิ้งท้าย

อย่างไรก็ตาม ล่าสุด JobsDB ในฐานะแพลตฟอร์มหางานชั้นนำของเอเชีย กำหนดการจัดมหกรรมหางานออนไลน์ ในช่วงเดือนกันยายน ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งจะเป็นงาน Virtual Career Fair ครั้งที่ 2 โดยได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในงานครั้งที่ 1 ที่มีผู้สนใจเข้าร่วมงานรูปแบบออนไลน์นี้กว่า 4 แสนครั้ง โดยผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมงานในครั้งที่ 2 สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ JobsDB (ประเทศไทย) โทรศัพท์ 02-670-0700 หรือเข้าไปที่ http://bit.ly/JobsDBTH


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

WHA Group ดึงไฮเออร์ลงทุน 10,000 ล้านบาท ตั้งฐานการผลิตในไทย

WHA Group ดึงไฮเออร์ลงทุน ปักหมุดฐานการผลิตเครื่องปรับอากาศครบวงจรมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาทในไทย ที่นิคมอุตสาหกรรม ดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์น ซีบอร์ด 3...

Responsive image

NITMX เปิดตัว Hack to the Max Digital Infrastructure ชวนคนรุ่นใหม่ร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินดิจิทัลของไทย

NITMX เปิดตัวโครงการ "Hack to the Max: Digital Infrastructure" Hackathon ระดับชาติ เน้นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สนใจนวัตกรรมการเงินดิจิทัล เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการเงินของไทยให้ก้าวไก...

Responsive image

SCB ‘Tap To Pay’ รับเงินผ่านบัตรเครดิต-เดบิต ง่ายแค่แตะผ่านแอปฯ ไม่ต้องพึ่งเครื่องรูดบัตร!

ธนาคารไทยพาณิชย์เปิดตัว ‘SCB Tap To Pay’ นวัตกรรมรับชำระเงินที่เปลี่ยนสมาร์ทโฟนให้เป็นเครื่องรับชำระเงินได้ทันที ตอบรับกระแสสังคมไร้เงินสดที่กำลังมาแรง...