นักศึกษา มจธ. คว้ารางวัลวิจัยเด่นจากสกสว. นำเทคโนโลยีสแกนวัตถุ 3 มิติ ประเมินสภาพโบราณสถาน | Techsauce

นักศึกษา มจธ. คว้ารางวัลวิจัยเด่นจากสกสว. นำเทคโนโลยีสแกนวัตถุ 3 มิติ ประเมินสภาพโบราณสถาน

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุ 3 มิติ และวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์เพื่อการประเมินและติดตามสภาพโครงสร้างโบราณสถานของไทย กรณีศึกษาวัดหลังคาขาว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับการคัดเลือกเป็น “งานวิจัยเด่น” 1 ใน 25 ผลงาน และได้รับรางวัลชมเชยประเภทความนิยมด้านผลงานวิจัยและความนิยมด้านการนำเสนอจากกลุ่มงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรมจากผลงานทั้งสิ้น 221 ผลงาน ในงานการประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา สกสว. ประจำปี 2019

คุณพีรสิทธิ์ มหาสุวรรณชัย นักศึกษาปริญญาเอกภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้รับทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) โดยมี ผศ.ดร.ชัยณรงค์ อธิสกุล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา เปิดเผยว่า ได้นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการประเมินสภาพโบราณสถานของประเทศไทย นำร่อง ณ วัดหลังคาขาว ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงลึกด้านวิศวกรรมศาสตร์ โดยการนำเทคโนโลยีการสแกนวัตถุ 3 มิติ มาใช้ในการหาขนาดมิติและรูปทรงเจดีย์วัดหลังคาขาว โดยเครื่องสแกนวัตถุ 3 มิติ จะหมุนรอบตัวเอง 360 องศา เมื่อพบวัตถุจะสะท้อนกลับมาเป็นข้อมูลกลุ่มจุด ที่จะสามารถต่อเป็นกลุ่มข้อมูลพิกัด 3 มิติ ได้ ซึ่งข้อมูลที่ได้เทียบเท่ากับขนาดจริงและมีความแม่นยำสูง ทำให้ทราบขนาดความสูง ความกว้าง ความหนา ด้านในและด้านนอกของเจดีย์ เพื่อนำมาประเมินผล นอกจากนั้นยังเก็บตัวอย่างของอิฐก่อและปูนก่อโบราณ เพื่อมาทดสอบในห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมโยธา

เมื่อได้ข้อมูลกลุ่มจุด 3 มิติ และข้อมูลสมบัติของวัสดุโบราณแล้ว จะนำมาประเมินด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ ทำให้สามารถบอกได้ว่าโบราณสถานมีการเอียงตัวในมุมที่โครงสร้างยังอยู่ในสภาวะที่มีเสถียรภาพหรือไม่ รวมถึงวัสดุมีค่ากำลังเพียงพอหรือไม่ เพื่อเป็นแนวทางให้กรมศิลปากรใช้ในการบูรณะโบราณสถาน การประเมินโบราณสถานวัดหลังคาขาว เป็นการพัฒนากระบวนการประเมินและติดตามสภาพโครงสร้าง เพื่อสามารถนำไปใช้สำหรับการศึกษาโบราณสถานแห่งอื่น โดยการติดตามสภาพโครงสร้างด้วยการเก็บซ้ำจากครั้งแรก 6 เดือน เพื่อให้ทราบว่าในระยะเวลา 6 เดือน โบราณสถานเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพื่อการคาดการณ์อนาคต

ที่ผ่านมาการประเมินสภาพโบราณสถานต้องใช้กำลังคน และการตั้งนั่งร้านในการเก็บข้อมูลที่สูง ซึ่งใช้เวลานานและงบประมาณมาก ด้วยเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาช่วยให้การประเมินสภาพโบราณสถาน ใช้ระยะเวลาเก็บข้อมูลลดลง ไม่ต้องตั้งนั่งร้าน ให้ความแม่นยำสูง นอกจากนี้ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้สามารถช่วยให้การประเมินและติดตามสภาพโบราณสถานของไทยตามหลักวิศวกรรมเกิดความยั่งยืน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

PLEX MES ก้าวสู่อนาคต ยกระดับอุตสาหกรรมการผลิต ด้วย Smart Manufacturing Solutions

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา วงการอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ด้วยการแนะนำ PLEX MES โซลูชันที่เปรียบเสมือน "สมองดิจิทัล" สำหรับโรงงานยุคใหม่ ระบบนี้ถูกออกแบบ...

Responsive image

ทีทีบี คว้ารางวัลธนาคารที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้าธุรกิจ Thailand Best Bank for Corporates

ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) คว้ารางวัล Thailand Best Bank for Corporates จาก Euromoney Awards 2024 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนธุรกิจไทยด้วยโซลูชันดิจิทัลและความยั่งยืนผ่านกรอบ B+ESG พร...

Responsive image

AstraZeneca รับรางวัล Most Innovative Company จาก BCCT จากความมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรม AI ด้านสุขภาพ

แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) เข้ารับรางวัล Most Innovative Company (รางวัลบริษัทยอดเยี่ยมด้านนวัตกรรม) จาก สภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทย ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการเป็นผู...