ผลสำรวจจาก Mastercard ชี้ กรุงเทพฯ ยังคงครองอันดับ 1 เมืองยอดนิยมของนักเดินทางทั่วโลก | Techsauce

ผลสำรวจจาก Mastercard ชี้ กรุงเทพฯ ยังคงครองอันดับ 1 เมืองยอดนิยมของนักเดินทางทั่วโลก

  • ผลสำรวจสุดยอดจุดหมายปลายทางโลกของ Mastercard ระบุ กรุงเทพฯ ครองอันดับหนึ่งอีกครั้งในฐานะจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักเดินทางทั่วโลกและนักเดินทางในเอเชียแปซิฟิก โดยดึงดูดนักเดินทางประเภทค้างแรมกว่า 22 ล้านคน
  • กรุงเทพฯ เป็นเมืองสุดยอดจุดหมายปลายทางอันดับ 1 ของโลกต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 4 และเป็นปีที่ 9 ในฐานะเมืองยอดนิยมในเอเชียแปซิฟิก
  • กรุงเทพฯ สิงคโปร์ กัวลาลัมเปอร์ โตเกียว และโซล ครองความเป็น 5 เมืองยอดนิยมในเอเชียแปซิฟิก ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่
  • ในปี 2018 เอเชียแปซิฟิกได้ต้อนรับนักเดินทางถึง 342.2 ล้านคนที่เดินทางมาเพื่อท่องเที่ยวและธุรกิจ เพิ่มจาก 159.1 ล้านคนในปี 2009 คิดเป็นอัตราการเติบโตประจำปีที่ 8.9% ตลอดช่วง 9 ปีที่ผ่านมา

การสำรวจสุดยอดจุดหมายปลายทางโลกของ Mastercard (GDCI) ประกอบด้วยการสำรวจเพื่อข้อมูลเฉพาะของภูมิภาคคือ ผลสำรวจจุดหมายปลายทางในเอเชียแปซิฟิก หรือ APDI นับเป็นปีที่ 4 แล้วที่กรุงเทพฯ ครองอันดับ 1 อย่างต่อเนื่องในการสำรวจทั่วโลก ซึ่งเป็นการจัดอันดับเมืองในแง่ของจำนวนนักเดินทางจากทั่วโลกที่มาพักแรม การจับจ่ายใช้สอยในระหว่างเดินทาง และข้อมูลน่าสนใจอื่นๆ กรุงเทพฯ ยังครองอันดับหนึ่งติดต่อกันเป็นปีที่ 9 ในผลสำรวจของเอเชียแปซิฟิกอีกด้วย

ทั้งนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวพักแรมในปี 2018 ในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2017 ซึ่งอยู่ที่ 21.1 ล้านคน ทำให้นำสิงคโปร์ซึ่งอยู่ในอันดับสองด้วยจำนวนนักท่องเที่ยว 14.7 ล้านคนในปี 2018 จุดหมายปลายทางอีก 2 แห่งในประเทศไทย หรือ ภูเก็ตและพัทยา ก็อยู่ใน 10 อันดับเมืองยอดนิยมในเอเชียแปซิฟิกที่มีนักท่องเที่ยวมาค้างแรม โดยภูเก็ตอยู่ในอันดับ 7 (มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ค้างแรม 9.9 ล้านคน) และพัทยาอันดับ 8 (9.4 ล้านคน) ทำให้ประเทศไทยเป็นเป็นประเทศเดียวในเอเชียแปซิฟิกที่มีเมืองยอดนิยมของนักท่องเที่ยวถึง 3 เมือง

นอกจากจัดอันดับให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองสุดยอดจุดหมายปลายทางในเอเชียแปซิฟิกแล้ว APDI ในปีนี้ยังให้ข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆ เกี่ยวกับการเติบโตด้านการท่องเที่ยวของไทย รวมทั้งข้อมูลเรื่องการเดินทางท่องเที่ยวของคนไทย การสำรวจระบุว่า ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักเดินทางจากจีนแผ่นดินใหญ่ โดยร้อยละ 21.1 เลือกประเทศไทยเป็นเป้าหมายการเดินทางอันดับ 1 ตามมาด้วยญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ประเทศไทยยังเป็นจุดหมายปลายทางอันดับ 1 ของนักเดินทางประเภทพักค้างคืนจากมาเลเซียและอินเดียอีกด้วย ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นว่านักท่องเที่ยวไทยเดินทางท่องเที่ยวในภูมิภาคมากขึ้น โดยมาเลเซียเป็นประเทศที่คนไทยนิยมเดินทางไปเป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยญี่ปุ่นและลาว

คุณไอลีน ชูว ผู้จัดการประจำประเทศไทยและเมียนมาร์ มาสเตอร์การ์ด กล่าว “ปีนี้เป็นปีที่ 45 ที่มาสเตอร์การ์ดดำเนินธุรกิจในประเทศไทย เราภาคภูมิใจและมีความกระตือรือร้นที่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยที่ให้การต้อนรับนักเดินทางจากทั่วโลกด้วยความเป็นมิตรในระดับสากล เปี่ยมด้วยมรดกทางวัฒนธรรม รวมถึงมอบประสบการณ์การมาเยือนที่หลากหลาย ในปีนี้ มาสเตอร์การ์ดจะเปิดตัวโปรแกรมใหม่ 2 โปรแกรมเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวของไทยคือ ‘Destination Thailand’ และ ‘Priceless Bangkok’ ซึ่งจะมุ่งเน้นให้ความงามอันน่าทึ่งและความเป็นมิตรของประเทศไทยและคนไทยเป็นที่ประจักษ์ต่อชาวโลกมากขึ้น”

ข้อมูลแนวโน้มของเอเชียแปซิฟิก

ผลการสำรวจจาก APDI ระบุว่า จุดหมายปลายทางยอดนิยม 5 แห่งในเอเชียแปซิฟิกของนักเดินทางทั่วโลกในปี 2018 คือ กรุงเทพฯ สิงคโปร์ กัวลาลัมเปอร์ โตเกียว และโซล โดยทั้ง 5 เมืองได้ต้อนรับนักเดินทางถึง 1 ใน 5 หรือร้อยละ 22 ของนักเดินทางประเภทค้างแรมที่เดินทางมายัง 161 เมืองและศูนย์กลางของภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ ทั้ง 5 เมืองยังทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยของนักเดินทางจากทั่วโลกกว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25.2 ที่เดินทางมายังภูมิภาคนี้

นักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่เดินทางสำรวจทุกซอกมุมของภูมิภาคนี้มากเป็นประวัติการณ์ จนเปลี่ยนยักษ์ที่หลับมานานให้เป็นภูมิภาคยอดนิยมด้านการท่องเที่ยว และสร้างโอกาสที่ดีแก่รัฐบาล คณะกรรมการการท่องเที่ยว แบรนด์สินค้า และธุรกิจต่างๆ ในการวางแผนโปรโมทการท่องเที่ยว การเดินทางและการเสนอขายสินค้าต่างๆ นับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา นักท่องเที่ยวประเภทค้างแรมจากจีนแผ่นดินใหญ่ที่เดินทางมายังเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้นจาก 10.5 ล้านคนเป็น 62.4 ล้านคนในปี 2018 เป็นอัตราการเติบโตประจำปีที่ร้อยละ 21.9 ในช่วงเวลาดังกล่าว เห็นได้ชัดว่า จีนแผ่นดินใหญ่เป็นหนึ่งในสามอันดับแรกของประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายัง 82 เมืองในเอเชียแปซิฟิก หรือกว่าครึ่งของจุดหมายปลายทางทั้ง 161 แห่งใน APDI

ในปี 2018 เอเชียแปซิฟิกมีโอกาสต้อนรับนักเดินทางถึง 342.2 ล้านคนที่เดินทางมายังภูมิภาคนี้ด้วยจุดประสงค์ทางธุรกิจและเพื่อการท่องเที่ยว เพิ่มจากปี 2009 ซึ่งมีนักท่องเที่ยว 159.1 ล้านคน ถือเป็นอัตราการเติบโตประจำปีที่ร้อยละ 8.9 ในช่วง 9 ปี และในช่วงเดียวกัน การใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้นเท่าตัว โดยเพิ่มจาก 117.6 พันล้านเหรียญสหรัฐเป็น 281.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราการเติบโตประจำปีที่ร้อยละ 10.2

ในโอกาสนี้ รูเพิร์ธ เนย์เลอร์ รองประธานอาวุโส ด้านข้อมูลและการบริการ เอเชียแปซิฟิกของมาสเตอร์การ์ด กล่าวว่า “แม้ว่าเศรษฐกิจ ภูมิศาสตร์การเมือง เทคโนโลยีและสังคมทั่วโลกจะเปลี่ยนไปนับตั้งแต่เริ่มมีการสำรวจนี้เมื่อ 10 ปีก่อน แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงเดิมคือ ความต้องการออกสำรวจโลกของผู้คนและจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางออกนอกประเทศ การที่ 20 เมืองแรกจาก 161 จุดหมายปลายทางสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยงต่างชาติที่มาค้างแรมได้มากถึงร้อยละ 49.8 นั้น ต้องทำความเข้าใจด้วยว่า จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมีผลในทางที่ดี แต่ก็เป็นความท้าทายสำหรับเมืองและจุดหมายปลายทางเหล่านี้เช่นกัน การสำรวจนี้จึงให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่รัฐบาล นักธุรกิจและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั่วโลกเพื่อให้สามารถเตรียมมาตรการรองรับที่ดีแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้”

วิธีการสำรวจ

การสำรวจจุดหมายปลายทางในเอเชียแปซิฟิกของ Mastercard (APDI) จัดอันดับเมือง 161 แห่งโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิเช่น จากสภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก (World Travel & Tourism Council WTTC) สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association IATA) องค์การท่องเที่ยวโลก (UNWTO) สหประชาชาติ IMF และคณะกรรมการการท่องเที่ยวของประเทศต่างๆ ข้อมูลจากภาครัฐถูกนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์จำนวนนักเดินทางที่ค้างแรมและการจับจ่ายใช้สอยในประเทศต่างๆ ในเมืองจุดหมายปลายทางทั้ง 161 แห่ง การคาดการณ์อยู่บนพื้นฐานของการคาดการณ์ด้านการท่องเที่ยวในแต่ละประเทศและตัวเลขจริงในแต่ละเดือนในปี 2019 จากเมืองเป้าหมาย ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลเหล่านี้ได้ในเดือนสุดท้ายก่อนการประกาศผลสำรวจ ข้อมูลและรายงานการสำรวจเหล่านี้ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของจำนวนและข้อมูลการทำธุรกรรมผ่าน Mastercard

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

GMM Music เผย Digital Streaming ตัวเร่งสำคัญในการเติบโตของอุตสาหกรรมเพลงไทย

อุตสาหกรรมเพลงไทยยุคดิจิทัล
อุตสาหกรรมเพลงไทยกำลังเข้าสู่ยุคทองของการเติบโตแบบก้าวกระโดด จากพลังแห่งโลกดิจิทัลที่ทำให้ดนตรีไทยทะยานสู่ระดับโลก โดยปี 2023 ตลาดเพลงไทยขยายตัว 16% เที...

Responsive image

รู้จัก MoneyThunder แก้หนี้นอกระบบด้วย AI แอปสินเชื่อออนไลน์จาก ABACUS Digital

สำรวจปัญหาหนี้นอกระบบในไทยที่ส่งผลกระทบต่อคนกว่า 21 ล้านคน พร้อมทำความรู้จัก MoneyThunder แอปสินเชื่อ AI ที่ช่วยคนไทยเข้าถึงเงินทุนอย่างปลอดภัยและยั่งยืน...

Responsive image

Freshket ระดมทุนเพิ่ม กว่า 273 ล้านบาท เดินหน้าขยายแพลตฟอร์มสู่ Food Supply Chain ครบวงจร

เฟรชเก็ต (freshket) แพลตฟอร์มจัดการวัตถุดิบออนไลน์สำหรับร้านอาหารแบบครบวงจร (Food Supply Chain Platform) สัญชาติไทย เดินหน้าสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมระดมทุนเพิ่มจากผู้ลงทุ...