7 ข้อแนะนำพาธุรกิจทุก Sector ฮึดสู้ Covid-19 จาก Mckinsey & Company | Techsauce

7 ข้อแนะนำพาธุรกิจทุก Sector ฮึดสู้ Covid-19 จาก Mckinsey & Company

McKinsey & Company เผยบทวิเคราะห์สถานการณ์ธุรกิจระหว่างเกิดวิกฤติโรคระบาด Covid-19 พร้อมแนะนำ 7 ข้อ แก่องค์กรธุรกิจทุกประเภทเพื่อฝ่าฟันวิกฤติ

ชี้ GDP ทั่วโลกลดอย่างน้อย 0.3 เปอร์เซ็นต์ แย้มมีโอกาสฟื้นตัวเร็ว แต่เจอความท้าทายเรื่องแรงงาน

McKinsey & Company ได้เผยผลวิเคราะห์สถานการณ์จำลอง 3 ระดับ ทั้งการฟื้นตัวเร็ว ระดับปกติ และระดับเลวร้ายที่สุด พบว่า GDP ทั่วโลกอาจลดลงจากที่ประเมินไว้ราว 0.3 ถึง 0.7 เปอร์เซ็นต์ ธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม สายการบิน จะกระทบหนัก รวมถึงการลดการใช้จ่ายลงของผู้บริโภคซึ่งกระทบภาคบริการและสินค้าต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคจะกลับมาซื้ออย่างรวดเร็วหลังเกิดเหตุและได้รับการฟื้นฟูความมั่นใจ

จากแบบประเมินการฟื้นตัวเร็ว พบว่าเหตุการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติภายในสิ้นไตรมาสที่สองของปี ส่วนระดับปกติความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะกลับมาพร้อมการยกเลิกแบนการเดินทางจะเกิดขึ้นภายในกลางไตรมาสที่สามของปี ส่วนระดับเลวร้ายสุด ผู้บริโภคจะยังคงขาดความเชื่อมั่นที่จะใช้จ่าย ส่งผลให้ภาคธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบไปจนถึงสิ้นปี 2020

อย่างไรก็ตาม McKinsey & Company มองว่าจีนกำลังฟื้นตัวจากสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติภายในไตรมาสที่สอง แต่อย่างไรก็ตาม จีนอาจประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานเนื่องจากการขออนุญาตเดินทางที่ล่าช้าเนื่องจากเพื่อควบคุมสถานการณ์

7 ข้อแนะนำสำหรับธุรกิจโดย McKinsey & Company

1. ปกป้องพนักงาน วิกฤตการณ์ โควิด-19 เป็นเรื่องสะเทือนอารมณ์สำหรับหลายคน และเปลี่ยนการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน สำหรับบริษัทต่าง ๆ ต้องรักษาธุรกิจให้ดำเนินไปตามปกติ บริษัทเหล่านี้ควรเริ่มด้วยการจัดทำ และดำเนินแผนช่วยเหลือพนักงานตามแนวทางขั้นต่ำที่บังคับใช้ จากนั้นควรเปลี่ยนนโยบายเมื่อมีสิ่งกระตุ้น ให้สถานการณ์แย่ลง บริษัทบางแห่งเปรียบเทียบการดำเนินการของตน กับบริษัทอื่นเพื่อกำหนดนโยบายและระดับการสนับสนุนที่เหมาะสมสำหรับพนักงาน ผู้บริหารต้องสื่อสารกับพนักงานให้ชัดเจนและสื่อสารบ่อยครั้งตามความเหมาะสม

2. จัดตั้งทีมรับมือกับ โควิด-19 โดยมีพนักงานจากหลายหน่วยงาน บริษัทควรเสนอให้รายงาน โดยตรงต่อประธานกรรมการบริหารหรือผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากประธานกรรมการบริหารเพื่อเป็นผู้นำทีม และควรแต่งตั้ง สมาชิกจากทุกสายงาน พร้อมให้แต่ละหน่วยงานมาเป็นผุ้ช่วย นอกจากนี้ สมาชิกในทีมต้องหยุดงานประจำมาอุทิศเวลาส่วนใหญ่ในการรับมือกับเหตุการณ์ โดยงานหลักๆ มีดังนี้ 

a.) สุขภาพ สวัสดิการ และความสามารถของพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ 

b.) การทดสอบความกังวลด้านการเงินและจัดทำแผนฉุกเฉิน 

c.) การตรวจสอบห่วงโซ่อุปทาน การตอบสนองอย่างรวดเร็ว และการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ในระยะยาว

d.) การตลาดและการขายที่ตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็ว

e.) การประสานงานและสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เหล่านี้ควรกำหนดเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงสำหรับ 48 ชั่วโมงข้างหน้า พร้อมกับปรับอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งดำเนินการเช่นเดียวกับเป้าหมายรายสัปดาห์ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของบริษัทที่วางแผนร่วมกัน ทีมรับมือกับสถานการณ์ควรมีการปฏิบัติการและวินัยที่ปฏิบัติได้ง่าย เน้นผลลัพธ์และการตัดสินใจ และไม่จัดประชุมที่ไม่ก่อให้เกิดผล

3. ดูแลสภาพคล่องให้เพียงพอที่จะฝ่าฟันปัญหาได้ บริษัทต้องกำหนดสถานการณ์ที่เหมาะสมกับบริบทของตน สำหรับตัวแปรสำคัญที่จะส่งผลต่อรายได้และต้นทุน บริษัทกำหนดตัวเลขโดยใช้การวิเคราะห์และตัวเลขที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ ควรสร้างแบบจำลองทางการเงิน (กระแสเงินสด งบกำไรขาดทุน งบดุล) ในแต่ละสถานการณ์ และระบุสิ่งกระตุ้นที่อาจทำให้สภาพคล่องถดถอยอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับสิ่งกระตุ้นที่อาจทำให้สภาพคล่องถดถอยลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ละอย่างบริษัทควรกำหนดว่าต้องดำเนินการอย่างไร ในแต่ละสถานการณ์เพื่อสร้างเสถียรภาพให้องค์กร เช่น เพิ่มประสิทธิภาพบัญชีเจ้าหนี้และลูกหนี้ ลดต้นทุน ถอนการลงทุน หรือควบรวมกิจการ

4. รักษาความมั่นคงของห่วงโซ่อุปทาน บริษัทต้องกำหนดขอบเขตและระยะเวลาที่เป็นไปได้ของห่วงโซ่อุปทาน ในพื้นที่ที่มีการแพร่เชื้อรวมถึงคู่ค้าระดับ 1 ระดับ 2 และระดับ 3 และปริมาณสินค้าคงคลัง บริษัทส่วนใหญ่เน้นการดำเนินงานในทันทีเพื่อรักษาธุรกิจให้มั่นคงแม้ว่าโรงงานของจีนส่วนใหญาจะเริ่มปิดดำเนินการแล้ว โดยต้องพิจารณาแบ่งสรรบันส่วนชิ้นส่วนที่สำคัญ ของบริษัทขนส่งสินค้าทางอากาศหรือทางรถไฟล่วงหน้า นำ Stock ที่เตรียมไว้รองรับงานหลังการขายมาใช้จนกว่าจะเริ่มผลิตใหม่ พร้อมกับหาทางพัฒนาความสัมพันธ์กับคู่ค้าให้ดียิ่งขึ้น และเมื่อกลับมาผลิตได้อีกครั้ง บริษัทควรวางแผนจัดการกับอุปทานสินค้าที่อาจต้องการเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการกักตุนสินค้า ในบางกรณีอาจมีการรับประกันเสถียรภาพในระยะกลางและระยะยาว ซึ่งต้องปรับปรุงการวางแผนความต้องการ เพิ่มประสิทธิภาพเครือข่าย รวมทั้งค้นหาคู่ค้ารายใหม่และเร่งให้มีคุณสมบัติเหมาะสม ขอแนะนำว่าควรทำตามข้อเสนอเหล่านี้แม้ไม่มีวิกฤติ เพื่อมั่นใจว่าห่วงโซ่อุปทานของบริษัทจะยังคงอยู่รอดได้ในสถานการณ์ท้าทาย

5. ใกล้ชิดกับลูกค้าของคุณ บริษัทที่ดำเนินการรับมือกับ Disruption แต่เนิ่นๆ มักประสบความสำเร็จ เพราะลงทุนในกลุ่มลูกค้าหลักของตนในประเทศจีน แม้ว่าความต้องการของผู้บริโภคจะลดลง แต่ก็ไม่ได้หายไป ผู้คนจำนวนมากหนีไปซื่อสินค้าออนไลน์ทุกประเภท รวมถึงการจัดส่งอาหารและผลิตผลทางการเกษตร บริษัทจึงควรลงทุนในระบบออนไลน์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกิดการจัดจำหน่ายสินค้าในช่องทางออนไลน์และ Omnichannel รวมถึงการประกันคุณภาพสินค้าที่จำหน่ายออนไลน์ หากความชอบของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่อาจกลับไปสู่จุดเดิมก่อนเกิดเหตุโรคระบาด

6. ฝึกปฏิบัติตามแผน ทีมชั้นนำหลายทีมไม่ได้ใช้เวลาทำความเข้าใจสิ่งที่ต้องใช้ในการวางแผนรับมือกับ Disruption จนกว่าจะตกที่นั่งลำบากจริงๆ ดังนั้น การประชุม Roundtable และการจำลองสถานการณ์จึงมีประโยชน์มาก บริษัทอาจจะใช้การจำลองสถานการณ์แบบ Tabletop เพื่อกำหนดและตรวจสอบระเบียบวิธีเริ่มใช้แผนของตนสำหรับการรับมือในขั้นต่างๆ การจำลองสถานการณ์ช่วยให้ผู้ตัดสินใจรับมือง่ายขึ้น บทบาทสำหรับวมาชิกในทีมแต่ละคนจะชัดเจน ชี้ให้เห็นปัญหาใหญ่ที่เป็นเหตุให้รับมือช้าลง และสมาชิกต้องเข้าใจชัดเจนว่าต้องดำเนินการใดบ้าง และพร้อมลงทุน

7. ช่วยเหลือชุมชนด้วยกำลังที่ตนมี ธุรกิจจะแข็งแกร่งได้เมื่อชุมชนที่ตนตั้งอยู่แข็งแรง บริษัทต้องหาวิธีช่วยรับมือวิกฤติด้วย เช่น สนับสนุนเงินหรืออุปกรณ์ หรือแม้แต่ความเชี่ยวชาญบางอย่าง เราจะเห็นบางบริษัทที่มีความรู้ด้านการผลิตวัสดุต่างๆ หันมาสนับสนุนการผลิตหน้ากากอนามัยและเสื้อผ้านทางการแพทย์ในช่วงนี้

ภาพประกอบจาก Reproductive Health Supplies Coalition on Unsplash

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SCB 10X เปิดเวที “Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand” เดินหน้าวิจัย AI ไทย พร้อมเปิดตัว ‘ไต้ฝุ่น 2.0’ เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด

SCB 10X เปิดตัว "ไต้ฝุ่น 2" โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สุดล้ำในงาน Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand พร้อมยกระดับวิจัย AI ไทยสู่เวทีโลก...

Responsive image

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future”

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 มุ่งขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทยด้วยเทคโนโลยี AI สู่ยุคดิจิทัล...

Responsive image

ส.อ.ท. เตรียมจัด FTI EXPO 2025 รวมสุดยอดนวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผนึกกำลังพันธมิตรองค์กรชั้นนำ จัดงาน FTI EXPO 2025 ภายใต้แนวคิด “4GO” ที่ครอบคลุม 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ ดิจิทัล นวัตกรรม การขยายตลาดสู่ต่างประเทศ แ...