Microsoft ร่วมกับ IDC เผยวิจัย ทักษะสำคัญในโลกยุค AI คือ 'ความคิดสร้างสรรค์' | Techsauce

Microsoft ร่วมกับ IDC เผยวิจัย ทักษะสำคัญในโลกยุค AI คือ 'ความคิดสร้างสรรค์'

  • รายงานวิจัยที่ไอดีซีจัดทำขึ้นร่วมกับไมโครซอฟท์ เผยทักษะซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต
  • มีองค์กรในไทยเพียง 20เท่านั้นที่เดินหน้าแผนพัฒนาบุคลากรเพื่อเข้าสู่ยุคของ AI อย่างเต็มที่

รายงานวิจัยโดยไมโครซอฟท์และไอดีซีได้เผยถึงช่องว่างที่ยังต้องเติมเต็มในแง่ของทักษะและศักยภาพบุคลากรในตลาดแรงงานไทย โดยผลวิจัยดังกล่าว ซึ่งมีที่มาจากการสำรวจองค์กรธุรกิจ 101 แห่งในประเทศ ยังพบอีกว่า เกือบครึ่งหนึ่งของธุรกิจเหล่านั้นยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ เพื่อพัฒนาทักษะของบุคลากรให้ใช้ประโยชน์จาก AI ได้

“เทคโนโลยี AI มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงโลกของทั้งธุรกิจและผู้บริโภค ในโลกยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานี้ ยิ่งนับวันก็ยิ่งมีสายงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีน้อยลงเรื่อยๆ ขณะที่นักเรียนนักศึกษาจำนวนมากในปัจจุบันจะเรียนจบออกมาสู่ตลาดแรงงานที่เต็มไปด้วยตำแหน่งงานที่เกิดขึ้นใหม่ ยังไม่มีอยู่ในปัจจุบัน” คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด

ธุรกิจจำนวนมากได้เริ่มให้ความสนใจกับศักยภาพของ AI ในการขับเคลื่อนและยกระดับขีดความสามารถของพวกเขา จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่องค์กรเหล่านั้นจะลงทุนไม่ใช่เพียงในด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการพัฒนาคนเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนในอนาคตด้วย

รายงานวิจัยร่วมระหว่างไมโครซอฟท์และไอดีซีระบุว่า มีองค์กรธุรกิจไทยเพียง 20% เท่านั้นที่วางแผนและเริ่มต้นการพัฒนาบุคลากรให้พร้อมสำหรับเทคโนโลยี AI อย่างครอบคลุมและเต็มที่แล้ว ขณะที่ 32% เริ่มการพัฒนาในบางส่วน ขณะที่ องค์กรที่ีร่วมในการสำรวจความคิดเห็นถึง 48% ยังไม่เริ่มดำเนินการใดๆ โดยในกลุ่มนี้ มีถึง 21% ที่ยังไม่มีแผนดำเนินงานด้านทักษะของพนักงานเลย

Microsoft and IDC

มร.ไมเคิล อะราเน็ตตา รองประธานบริหาร ไอดีซี ไฟแนนเชียล อินไซต์ เสริมว่า “เรายังมีข่าวดีอยู่บ้างในด้านของการยอมรับว่าบุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับธุรกิจในอนาคต ซึ่งเป็นแนวคิดที่ชัดเจนและค่อนข้างแพร่หลายในประเทศไทย โดยธุรกิจไทย 77% ระบุว่าพวกเขาจะลงทุนในตัวพนักงานให้ทัดเทียมกับหรือมากกว่าเทคโนโลยี AI นอกจากนี้ บริษัทและพนักงานยังมีความเห็นพ้องกันเกี่ยวกับบทบาทหลักของผู้ว่าจ้างในการเสริมสร้างทักษะให้กับแรงงาน โดย 93% ของผู้นำองค์กร และ 89% ของพนักงานมองว่าองค์กรต้องเป็นผู้นำในเรื่องนี้”

เมื่อกล่าวถึงผลกระทบจากเทคโนโลยี AI ต่อการทำงานในอนาคต ทั้งสองฝ่ายต่างมองไปในทางเดียวกัน โดย 77% ของผู้นำองค์กร และ 58% ของพนักงาน คาดหวังว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยเพิ่มศักยภาพให้พวกเขาสามารถทำงานได้ดีขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะที่ผู้นำธุรกิจ 13% และแรงงาน 19% มองเห็นโอกาสใหม่ๆ จากตำแหน่งงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ และมีผู้นำธุรกิจเพียง 5% และพนักงาน 13% เท่านั้นที่เชื่อว่า AI จะมาแย่งงานจากมนุษย์

ทักษะสำคัญซึ่งเป็นที่ต้องการสำหรับตำแหน่งงานในอนาคต

จากรายงานวิจัยฉบับดังกล่าว ผู้นำองค์กรธุรกิจไทยระบุว่าทักษะที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับบุคลากรในอนาคต ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ (52%) ทักษะทางดิจิทัล (51%) และทักษะการคิดวิเคราะห์หรือทักษะด้านสถิติ (50%)

นอกจากนี้ ผลวิจัยยังคาดการณ์ว่าปริมาณแรงงานที่มีทักษะในทั้งสามด้านนี้ และความสามารถในการวิจัยและการพัฒนาเชิงวิทยาศาสตร์  จะไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในอีก 3 ปีข้างหน้า

“อีกข้อมูลสำคัญที่น่าสังเกตคือความแตกต่างระหว่างความคาดหวังของผู้นำธุรกิจและพนักงาน ในการเลือกทักษะสำคัญที่ต้องพัฒนาเพื่ออนาคต ผู้บริหารในองค์กรไทยเชื่อว่า บุคลากรที่มีความสามารถจำเป็นต้องมีมากกว่าแค่ทักษะทางเทคนิค โดยสามทักษะที่มีช่องว่างมากที่สุดระหว่างมุมมองของผู้นำและพนักงานในเรื่องความสำคัญคือ การบริหารจัดการโครงการ (แตกต่างกัน 16%) ความเป็นผู้นำและการบริหารจัดการคน (แตกต่างกัน 14%) และความคิดสร้างสรรค์ (แตกต่างกัน 13%)” มร. อะราเนตตาเสริม

Skills for an AI Future

ยิ่งไปกว่านั้น พนักงานจำนวนไม่น้อยยังรู้สึกไม่เชื่อมั่นในด้านความพร้อมของวัฒนธรรมองค์กรสำหรับการนำเทคโนโลยี AI มาใช้มากกว่าผู้บริหาร โดยพนักงานกว่า 72เชื่อว่าองค์กรของตนไม่อนุญาตให้พนักงานรับมือกับความเสี่ยง ทำการตัดสินใจ หรือปรับเปลี่ยนระบบงานให้รวดเร็วฉับไวยิ่งขึ้น ขณะที่ราว 45มองว่าผู้บริหารในองค์กรของตนยังขาดการผลักดันให้ทุกคนร่วมกันผลักดันการเปลี่ยนแปลงเชิงรุกจากระดับผู้นำ

คุณธนวัฒน์กล่าวเสริมอีกว่า “ไมโครซอฟท์ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะของบุคคลทุกเพศทุกวัยมาเป็นอันดับแรก เราส่งเสริมคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถด้วยเครื่องมือและทักษะที่เหมาะสม ผ่านโครงการต่างๆ เช่น Hour of Code #MakeWhatsNext และการแข่งขัน Imagine Cup เพื่อเปิดโอกาสให้พวกเขาได้สร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ที่มีความพิเศษและโดดเด่นด้วยศักยภาพของเทคโนโลยี

ส่วนนักพัฒนาซึ่งต้องการเริ่มต้นใช้งาน AI ก็สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ในอีกหลายโครงการ เช่น Microsoft AI School โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และเพื่อความก้าวหน้าในอนาคต ทั้งองค์กรและบุคคลต้องมองการณ์ไกลกว่าแค่การใช้เทคโนโลยี แต่ต้องมุ่งมั่นที่จะบุกเบิกเส้นทางแห่งความสำเร็จตามแนวทางของตนเอง”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทีทีบี จับมือ databricks ผสานพลัง Data และ AI สร้างอนาคตการเงินที่ดีขึ้นให้คนไทย

ทีทีบี ตอกย้ำความมุ่งมั่นผลักดันดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับวงการธนาคารไทย จับมือพันธมิตร databricks พร้อมเดินหน้าสร้าง Data-driven Culture ปักธงก้าวสู่ธนาคารที...

Responsive image

LINE SCALE UP เปิดรับสตาร์ทอัพทั่วโลก ต่อยอดธุรกิจกับ LINE ก้าวสู่ระดับสากล

LINE SCALE UP เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน LINE Thailand Developer Conference 2024 ที่ผ่านมา เฟ้นหาสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ และพร้อมต่อยอดธุรกิจร่วมกับ LINE สู่เป้าหมายยกระดับธุรกิจสตา...

Responsive image

MarTech MarTalk 2024 EP.3 จากต้นกล้าสู่ความสำเร็จ ด้วยการพัฒนาคนและ MarTech

ChocoCRM จัดงานใหญ่ส่งท้ายปีกับงาน MarTech MarTalk 2024 EP.3 From Seeds to Success: Driving Business Growth with People and Marketing Technology ได้รับการตอบรับดีอย่างต่อเนื่องเป็น...