ก่อนหน้าวันหนี้นิเวศโลก (Earth Overshoot Day) ที่ผ่านมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในการจัดการพลังงานและระบบออโตเมชั่น ได้เคยมีการประกาศถึงคำมั่นสัญญาในการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันโดยใช้ทรัพยากรจากโลกเพียงใบเดียว (One-planet compatibility) ในเรื่องของกรอบการทำงานที่จำเป็นต่อความสำเร็จทางธุรกิจในระยะยาว
โดยในเอกสาร White Paper เกี่ยวกับการพัฒนาครั้งยิ่งใหญ่ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่ได้มีการเผยแพร่ไปเมื่อวันที่ 22 กรกฏาคม ได้วางแนวทางโดยละเอียดพร้อมกับมาตรวัดที่สนับสนุนกรอบการทำงานเพื่อการอยู่ร่วมกันและการสร้างความก้าวหน้าของมนุษยชาติโดยใช้ทรัพยากรจากโลกเพียงใบเดียว โดยเป็นการพัฒนาร่วมกับเครือข่ายรอยเท้านิเวศโลก (Global Footprint Network) องค์กรนานาชาติด้านความยั่งยืนที่คิดค้นในเรื่องของรอยเท้าทางนิเวศ หรือ Ecological Footprint ซึ่งเป็นผลกระทบทางระบบนิเวศที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
การอยู่ร่วมกันโดยใช้ทรัพยากรจากโลกเพียงใบเดียว กลายเป็นเข็มทิศอันทรงพลังในการประเมินกลยุทธ์องค์กรท่ามกลางข้อจำกัดด้านทรัพยากรในระบบนิเวศ
วันหนี้นิเวศโลก เป็นวันที่กำหนดขึ้นเมื่อความต้องการของมนุษย์ทั้งในเรื่องอาหาร ไฟเบอร์ ป่าไม้และการดูดซับคาร์บอน (รอยเท้านิเวศทั่วโลก) อยู่ในระดับที่เกินความสามารถที่ระบบนิเวศของโลกจะรองรับหรือผลิตขึ้นมาใหม่ได้ทันในปีนั้นๆ (ความสามารถทางชีวภาพของโลก)
โดยในปีนี้ตามข้อมูลจากเครือข่ายรอยเท้านิเวศโลก วันหนี้นิเวศโลกมาถึงเร็วที่สุดคือวันที่ 29 กรกฏาคมที่ผ่านมา ซึ่งในวันเน้นให้เห็นถึงการใช้ทรัพยากรทางชีวภาพเร็วเกินกว่าที่ธรรมชาติจะผลิตขึ้นใหม่ได้ทันถึง 1.75 เท่า ทำให้เกิดการขาดดุลทางระบบนิเวศมากขึ้นไปอีก 4 เดือน
จากการเผาผลาญทรัพยากรที่เป็นต้นทุนธรรมชาติบนโลก หรืออาจกล่าวได้ว่ามนุษย์ “ใช้” โลกไป 1.75 เท่า การปลดปล่อยคาร์บอนคิดเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ของรอยเท้านิเวศทั้งหมด
ตั้งแต่โลกตกอยู่ในสภาพการเป็นหนี้นิเวศตั้งแต่ ช่วงตอนต้นของทศวรรษที่ 1970 วันหนี้นิเวศโลกก็เลื่อนวันตามรอบปีปฏิทินโดยมาถึงเร็วขึ้นเรื่อยๆ 30 ปีที่แล้ว ยังอยู่ในช่วงเดือนตุลาคม ถัดมาอีก 20 ปีก็เลื่อนเร็วขึ้นจนมาอยู่ปลายเดือนกันยายน หลังจากที่วันหนี้นิเวศมาถึงช้าลงได้ไม่นาน ก็เริ่มร่นเข้ามาใกล้ขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากมีการดูดซับคาร์บอนในปริมาณมาก
การอยู่ร่วมกันโดยใช้ทรัพยากรจากโลกใบเดียวจำต้องมีการย้ายวันหนี้นิเวศโลกกลับสู่วันที่ 31 ธันวาคมหรือไกลกว่านั้น การเป็นเศรษฐกิจปลอดคาร์บอนนับเป็นแรงผลักอันทรงพลังสู่การย้ายวัน #MoveTheDate ตามข้อมูลจากเครือข่ายรอยเท้านิเวศโลก
การลดการปลดปล่อยคาร์บอนทั่วโลกเพียงครึ่งเดียวจะช่วยย้ายวันให้ไกลออกไปได้ 3 เดือน สำหรับช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริคได้ทำงานร่วมกับเครือข่ายรอยเท้านิเวศโลกเพื่อประเมินหาโซลูชัน ซึ่งการวิจัยของ 2 องค์กรนี้ชี้ให้เห็นว่าหากทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ของอาคารและระบบโครงสร้างอุตสาหกรรมที่มีอยู่มีการติดตั้งระบบจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพและเทคโนโลยีด้านพลังงานหมุนเวียนที่มีพร้อมอยู่แล้ว
จากชไนเดอร์ อิเล็คทริค และบรรดาพันธมิตร ด้วยสมมุติฐานที่ว่ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้พลังงานของมนุษย์แต่อย่างใด วันหนี้นิเวศโลกก็อาจจะถูกย้ายให้ไกลออกไปอย่างน้อย 21 วัน นั่นหมายความว่าลำพังการปรับปรุงระบบจัดการพลังงานเพียงอย่างเดียวสามารถสร้างความแตกต่างได้มากถึง 3 สัปดาห์ และการมองอีกมุมก็คือ
หากเราย้ายวันหนี้นิเวศโลกให้ไกลออกไป 5 วันในทุกๆ ปี เราจะกลับสู่การใช้ทรัพยากรบนโลกใบเดียวได้ก่อนปี 2050 สอดคล้องกับ Paris Climate Agreement มาธิส แวกเกอร์นาเจล ผู้ก่อตั้ง Global Footprint Network กล่าวไว้ว่า
บริษัทชั้นนำอย่างชไนเดอร์ อิเล็คทริค ซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประสิทธิภาพด้านพลังงานและการใช้ทรัพยากร รื่นรมย์กับโมเดลธุรกิจที่เจริญเติบโตเนื่องจากโมเดลนี้สร้างบนฐานของการช่วยให้มนุษยชาติหลุดจากการเป็นหนี้ระบบนิเวศ
ความเจริญก้าวหน้าที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรบนโลกใบเดียว เป็นเข็มทิศนำทางที่เรียบง่ายสู่การประเมินกลยุทธ์ขององค์กรท่ามกลางคำถามสำคัญ 2 ประการ นั่นคือ “เราจะดำเนินธุรกิจบนข้อจำกัดของการใช้ทรัพยากรจากโลกใบเดียวได้หรือไม่? และ “การนำเสนอของเราช่วยให้ลูกค้าไม่ต้องเป็นหนี้นิเวศโลกได้หรือไม่?
ตามที่มีการระบุอยู่ใน White Paper สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้บริหารระดับสูง “กรณีศึกษาทางธุรกิจสำหรับการเจริญเติบโตด้วยการใช้ทรัพยากรจากโลกใบเดียว” แสดงให้เห็นถึงกลยุทธ์ที่มอบคุณค่าในระยะยาวจากหลายบริษัทในหลากหลายภาคส่วน เช่น พลังงาน อาหาร การดูแลสุขภาพ และการบำบัดของเสีย
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด