สวทช. จับมือ IBM ร่วมกับกลุ่มมิตรผล นำ AI พลิกโฉมการทําไร่อ้อยในประเทศไทย | Techsauce

สวทช. จับมือ IBM ร่วมกับกลุ่มมิตรผล นำ AI พลิกโฉมการทําไร่อ้อยในประเทศไทย

สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกาศความร่วมมือในงานวิจัยระยะเวลา 2 ปีร่วมกับไอบีเอ็ม (IBM) ร่วมด้วยกลุ่มมิตรผล โดยการนำเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI), Internet of Things (IoT), การสํารวจระยะไกลผ่านดาวเทียม และข้อมูลพยากรณ์อากาศแบบเจาะจงพื้นที่ เข้ามาพัฒนาด้านการเกษตร คาดว่าจะช่วยเพิ่มผลผลิตอ้อยในประเทศไทย

โดยในการวิจัยครั้งนี้ จะนําร่องพัฒนาแดชบอร์ดอัจฉริยะและแอพพลิเคชั่นบนมือถือ เพื่อช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสุขภาพของอ้อย ความชื้นของดิน ความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากโรคและศัตรูพืช การคาดการณ์ผลผลิต และดัชนีค่าคุณภาพความหวานของอ้อย (CCS) โดยอาศัยเทคโนโลยี AI และข้อมูลสภาพอากาศที่แม่นยําจาก 'The Weather Company' รวมถึงเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) และ Analytics

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อํานวยการ สวทช. กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “สวทช. มีความมุ่งมั่นที่จะเสริมความแข็งแกร่งให้กับการวิจัยและการพัฒนาของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอาหารและการเกษตร โดยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะช่วยให้มั่นใจได้ถึงการเติบโตอย่างยั่งยืนและความสามารถในการแข่งขันระดับโลกของประเทศไทย ทางสวทช. มีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับกลุ่มมิตรผลและผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัย IBM เพื่อร่วมกันสร้างเกษตรกรรมยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล โดยเริ่มต้นที่การทําไร่อ้อยในประเทศไทย อีกทั้งองค์ความรู้ที่ได้จะถูกนำไปต่อยอด เผยแพร่สู่เกษตรกรไทย รวมถึงประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอีกด้วย” 

อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจสําคัญที่ใช้ในการผลิตน้ําตาลและพลังงานชีวภาพในประเทศไทยและทั่วโลก ประเทศ ไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับสองของโลก และมีบทบาทสําคัญในการป้อนน้ําตาลสู่ตลาดโลกโดยมีส่วน แบ่งตลาด 9.4% ในปี 2560 มีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตน้ําตาลได้ 14.1 ล้าน เมตริกตันในช่วงปี 2561-2562 โดยเพิ่มขึ้น 3% จากปีที่ผ่านมา

ปัจจุบันนักวิจัยไอบีเอ็มกําลังพัฒนา Agronomic Insights Assistant ซึ่งใช้แพลตฟอร์มไอบีเอ็มวัตสันดีซิชันสําหรับการเกษตร (IBM Watson Decision Platform for Agriculture) ร่วมกับระบบไอบีเอ็มแพร์สจีโอสโคป (IBM PAIRS Geoscope) ซึ่งเป็นการผสานรวมข้อมูล ความสัมพันธ์เชิงเวลาและพื้นที่ (เช่น ภาพถ่ายพืชผลจากกล้องหลายช่วงคลื่นที่เก็บภาพมาจากดาวเทียม หลายตัว ข้อมูลดิน ข้อมูลแบบจําลองความสูงของภูมิประเทศในรูปแบบดิจิทัล) ร่วมกับข้อมูลทางการเกษตร (เช่น สุขภาพของอ้อย ระดับความชื้นของดิน พยากรณ์ความเสี่ยงโรคและศัตรูพืช ปริมาณ ผลผลิต และดัชนีค่าคุณภาพความหวานของอ้อย) โดยใช้โมเดลการพยากรณ์ที่แม่นยําจาก The Weather Company จากนั้นจึงนําข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ร่วมกับเทคโนโลยีการสํารวจเฉพาะพื้นที่ที่ได้รับการปรับและพัฒนาให้เหมาะกับการทําไร่อ้อยในประเทศไทยจากสวทช. อีกทั้งความรู้เฉพาะทางด้านการเกษตรจากกลุ่มมิตรผล เพื่อกลั่นกรองเป็นข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภาวะการขาดน้ําและอาหารที่ส่งผลต่อการเติบโตของอ้อย ความเสี่ยงของโรคและศัตรูพืช ตลอดจนปริมาณผลผลิตทางการเกษตรและดัชนีคุณภาพของอ้อย

ทางด้าน รศ.ดร.กล้าณรงค์ ศรีรอต Head of Innovation and Research Development Institute กลุ่มมิตรผล กล่าวถึงความยั่งยืนของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลว่า “กลุ่มมิตรผลให้ความสําคัญกับการขับเคลื่อนนวัตกรรมและการวิจัยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงนํามาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผลผลิตอ้อยทั้งในด้านของคุณภาพและปริมาณ ซึ่งจะนําไปสู่ความยั่งยืนของ ทุกภาคส่วนที่อยู่ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ําตาล”

“การร่วมมือกับสวทช. รวมถึงการนําเทคโนโลยี AI การสํารวจระยะไกลผ่านดาวเทียม และระบบพยากรณ์อากาศขั้นสูงของ IBM มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทําไร่อ้อย จึงนับว่าเป็นอีกก้าวที่สําคัญในการทําเกษตรแม่นยํา (Precision Farming) ซึ่งอยู่ภายใต้แผนการปรับเปลี่ยนให้เกษตรกรไทยก้าวสู่การทําเกษตรสมัยใหม่ หรือ Modern Farming ได้รวดเร็วขึ้น ทั้งยังสร้างประโยชน์ให้กับภาคเกษตรกรรมของไทยอย่างยั่งยืน”

ทางด้านคุณปฐมา จันทรักษ์ รองประธาน ด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จํากัด กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “ไอบีเอ็มภูมิใจที่ได้ร่วมทําวิจัยภายใต้เป้าหมายในการนําข้อมูลเชิงลึกเข้าเป็นเครื่องมือเสริมศักยภาพการทําไร่อ้อยของไทย และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมหลักอย่างหนึ่งของประเทศ อันเป็นการสนับสนุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยการผนึกจุดแข็งของสวทช. และไอบีเอ็ม ในด้านการวิจัยและเทคโนโลยีขั้นสูงที่ใช้ Big Data Analytics, AI และ Interner of Things (IoT) เข้ากับความรู้เชิงลึกด้านการเกษตรของกลุ่มมิตรผล เป็นการพลิกโฉมแนวปฏิบัติของหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เก่าแก่ที่สุด และแสดงให้เห็นถึงก้าวย่างใหม่ของเกษตรกรรมอัจฉริยะในประเทศไทย"

ทั้งนี้ ทางโครงการจะมีการนําร่องใช้ Agronomic Insights Assistant ในช่วงกลางปีนี้บนไร่อ้อยขนาดไม่เกินหนึ่งล้านตารางเมตรจํานวน 3 ไร่ โดยเมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์ คาดว่าจะทําให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จะช่วยประเมินและจัดการความเสี่ยงต่าง ๆ ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งจะนําไปสู่ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ด้วยข้อมูลเชิงลึกที่พยากรณ์ล่วงหน้าได้สูงสุดสองสัปดาห์ ร่วมด้วยการแจ้งเตือนเกี่ยวกับโรคและศัตรูพืชอย่างหนอนเจาะลําต้นข้าวและความเสี่ยงที่จะเกิดโรคใบขาว และการพยากรณ์อากาศระยะสั้นตามฤดูกาลแบบเจาะจงพื้นที่ คาดว่าจะช่วยให้เกษตรกรสามารถวางแผนการเพาะปลูกได้อย่างเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นการทดน้ําและระบายน้ํา การใส่ปุ๋ย และการกําจัดศัตรูพืช เพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่อาจนําไปสู่การสูญเสียผลผลิต

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เดลต้า ประเทศไทย ชูธงนวัตกรรม ESG คว้าดัชนี FTSE4Good ตอกย้ำความเป็นเลิศ

เดลต้าได้รับคัดเลือกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดัชนี FTSE4Good Index Series ซึ่งจัดทำโดย FTSE Russell ผู้ให้บริการด้านดัชนีและข้อมูลระดับโลก...

Responsive image

GMM Music เผย Digital Streaming ตัวเร่งสำคัญในการเติบโตของอุตสาหกรรมเพลงไทย

อุตสาหกรรมเพลงไทยยุคดิจิทัล
อุตสาหกรรมเพลงไทยกำลังเข้าสู่ยุคทองของการเติบโตแบบก้าวกระโดด จากพลังแห่งโลกดิจิทัลที่ทำให้ดนตรีไทยทะยานสู่ระดับโลก โดยปี 2023 ตลาดเพลงไทยขยายตัว 16% เที...

Responsive image

รู้จัก MoneyThunder แก้หนี้นอกระบบด้วย AI แอปสินเชื่อออนไลน์จาก ABACUS Digital

สำรวจปัญหาหนี้นอกระบบในไทยที่ส่งผลกระทบต่อคนกว่า 21 ล้านคน พร้อมทำความรู้จัก MoneyThunder แอปสินเชื่อ AI ที่ช่วยคนไทยเข้าถึงเงินทุนอย่างปลอดภัยและยั่งยืน...