NTT DATA เผย Global Banking Research ชี้ว่า ใต้วิกฤต Covid องค์กรเน้นบูรณาการระบบดิจิทัล-ความยั่งยืนมากขึ้น | Techsauce

NTT DATA เผย Global Banking Research ชี้ว่า ใต้วิกฤต Covid องค์กรเน้นบูรณาการระบบดิจิทัล-ความยั่งยืนมากขึ้น

NTT DATA ผู้นำด้านธุรกิจดิจิทัลและบริการด้านไอทีชั้นนำระดับโลก เปิดผลการวิจัย Global Research into Corporate Banking's Future โดยเปรียบเทียบความต้องการของธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่ กับการให้ความสำคัญในการลงทุนของธนาคารทั่วโลก ในปัจจุบันพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในวงการการเงินและธนาคารภายใต้วิกฤตโควิด-19 ที่เน้นบูรณาการระบบดิจิทัลและความยั่งยืนมากขึ้น ให้สอดคล้องกับคนกลุ่ม Millennium รุ่นใหม่ที่ดำรงตำแหน่งระดับสูงในองค์กรเพิ่มขึ้นNTT DATA เปิดผลการวิจัย Global Research into Corporate Banking's Future เทียบความต้องการของธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่ กับการให้ความสำคัญในการลงทุนของธนาคารทั่วโลก พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในวงการการเงินและธนาคารเน้นบูรณาการระบบดิจิทัลและความยั่งยืนมากขึ้น

คุณมิเกล มาส ผู้อำนวยการธุรกิจธนาคารทั่วโลก บริษัท เอ็นทีที เดต้า ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (NTT Data EMEA Ltd.) เปิดเผยถึงผลการงานวิจัย Global Research into Corporate Banking's Future เปรียบเทียบความต้องการขององค์กรขนาดใหญ่ กับสิ่งสำคัญในการลงทุนของธนาคารระดับโลก

ในปัจจุบัน พบว่าภายหลังวิกฤตโควิด-19  กลุ่มการเงินและธนาคารที่ให้บริการแก่ธุรกิจองค์กร ได้เปลี่ยนการทำงานเป็นแบบบูรณาการในรูปแบบดิจิทัลและเพิ่มความยั่งยืนมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้ากลุ่ม Millennium รุ่นใหม่ที่เริ่มมีตำแหน่งสูงขึ้นในองค์กร จากผลการวิจัยผู้มีอำนาจตัดสินใจระดับสูงจากธุรกิจธนาคารและองค์กรต่าง ๆ กว่า 880 คน จาก 12 ประเทศทั่วโลก เพื่อค้นหาแนวทางการปรับตัวในอนาคตของกลุ่มการเงินและธนาคารที่ให้บริการแก่ธุรกิจองค์กร พบว่าปัจจัยที่ทำให้พื้นฐานธุรกิจธนาคารเปลี่ยนไป เกิดจากการปรับใช้เทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และ Generation ที่เปลี่ยนไปของลูกค้า บวกกับการฟื้นตัวจากวิกฤตโรคระบาดอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ หันมาสื่อสารกับธนาคารผ่านแอปพลิเคชันบนระบบ APIs หรือ Application Programming Interfaces ซึ่งเป็นการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถส่งข้อมูลระหว่างกันผ่านการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องมือและอุปกรณ์อินเทอร์เน็ต (M2M) มากขึ้นถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับการสื่อสารแบบตัวบุคคลถึงตัวบุคคล (Person-to-person) ทั้งยังให้ความสำคัญกับขั้นตอนการนำกระบวนการแบบ Analog และสิ่งที่เป็นรูปธรรมมาเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลไปจนเสร็จสิ้น (End-to-end digitization) และสามารถส่งมอบบริการที่ลื่นไหล (Frictionless Banking)  มากกว่าการสร้างความสัมพันธ์ผ่านตัวบุคคลซึ่งเป็นภาพลักษณ์แบบเดิม 

ทั้งนี้ 85% ของธุรกิจธนาคารรายงานว่ากำลังเพิ่มประสิทธิภาพพอทัล (Portal) ต่าง ๆ ของธนาคารให้ดียิ่งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และสร้างประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้บริโภค

“จากงานวิจัยพบว่าอนาคตของกลุ่มการเงินและธนาคารที่ให้บริการแก่ธุรกิจองค์กร จะเป็นการทำงานแบบบูรณาการ ดิจิทัล และยั่งยืนมากขึ้น ถึงแม้กฎเกณฑ์ใหม่ๆมีส่วนขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง แต่แท้จริงแล้วการเปลี่ยนเจเนอเรชันต่างหากที่กำหนดว่าธนาคารควรปฏิบัติงานอย่างไร ปัจจุบันกลุ่มการเงินและธนาคารที่ให้บริการแก่ธุรกิจองค์กรมีความรวดเร็วมากขึ้น เช่นเดียวกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น เห็นได้ว่าธนาคารต่าง ๆ เริ่มหันมาลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Ai และ Automation ซึ่งล้วนมาจากความต้องการของผู้บริโภค” คุณมิเกล กล่าว

NTT DATA เปิดผลการวิจัย Global Research into Corporate Banking's Future เทียบความต้องการของธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่ กับการให้ความสำคัญในการลงทุนของธนาคารทั่วโลก พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในวงการการเงินและธนาคารเน้นบูรณาการระบบดิจิทัลและความยั่งยืนมากขึ้น

ทั้งนี้ งานวิจัยได้แนะให้ธนาคารผสานบริการเข้ากับความต้องการของผู้บริโภค ที่ปัจจุบันความต้องการขององค์กรได้เปลี่ยนจากธุรกิจค้าปลีกดั้งเดิมจาก Products เงินทุนหมุนเวียน (Working capital products) ไปสู่หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured products) รวมทั้งเทคโนโลยีก็เปลี่ยนไปแล้วเช่นกัน เราจึงเห็นธนาคารเริ่มนำระบบอัตโนมัติ (Automation) มาใช้ในการทำงานมากขึ้น รวมทั้งการใช้โมเดล Advanced Machine learning ในงานต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านเครดิต 

ตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่าธนาคารควรฟังเสียงจากกลุ่มลูกค้าองค์กร และความต้องการเฉพาะของแต่ละอุตสาหกรรมเพื่อส่งมอบบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างตรงจุด อาทิ 70% ของกลุ่มบริษัทรับเหมาก่อสร้างยังคงต้องการ Solution ด้านการกู้เงิน และการบริหารเงินสดขององค์กรแบบ Omni-channel แต่บริการดังกล่าวกลับไม่ถูกผสมผสานเข้ากับแพลตฟอร์มของธนาคารพาณิชย์

อีกทั้งแนวคิด ESG (Environmental, social and corporate governance) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อกลุ่มการเงินและธนาคารที่ให้บริการแก่ธุรกิจองค์กร ผู้กำหนดกฎเกณฑ์และนโยบายต่างเรียกร้องให้มีการนำ ESG มาปรับใช้มากขึ้นเพื่อมุ่งสู่โลกแห่งอนาคต แม้จะทราบดีว่าการเดินหน้าสู่แนวคิดเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low-carbon economy) จะเพิ่มความยุ่งยากให้กับธุรกิจบริการด้านการเงิน ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงจากบริการที่เปลี่ยนไป

ทั้งนี้ องค์กรต่าง ๆ ต้องการทำธุรกรรมกับธนาคารที่สะท้อนมุมมองและความเชื่อของตน ด้วยลูกค้าในกลุ่มธุรกิจองค์กรรุ่นใหม่ เริ่มให้ความสำคัญในด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน จากผลการวิจัยพบว่า 48% ของผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มองค์กรต้องการให้ธนาคารของตนลงทุนในผลิตภัณฑ์และบริการที่มีความยั่งยืนมากขึ้น โดย 44% ของธุรกิจธนาคารเริ่มลงทุนในด้านดังกล่าวแล้ว

 “ความยั่งยืนคือกุญแจสำคัญในการแข่งขัน องค์กรเกือบครึ่งต่างต้องการให้ธนาคารของตนลงทุนในด้านนี้เพิ่มขึ้น และธนาคารที่มีวิสัยทัศน์ได้เริ่มสร้างทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้าน ESG เพื่อตอบโจทย์นี้แล้ว ทั้งความยั่งยืนยังเป็นโอกาสสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจเหนือคู่แข่งอีกด้วย” คุณมิเกลกล่าวทิ้งท้าย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

iNT: พันธมิตรเพื่ออนาคต พร้อมเปิดประตูสู่นวัตกรรมและธุรกิจ Start-Up

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT (อิ๊นท์) ตอกย้ำบทบาทผู้นำ ด้านการสนับสนุนธุรกิจ Start-Up และการส่งเสริมการต่อยอดผลงานวิจัย นวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์...

Responsive image

5 ประโยชน์จาก DUSCAP เครื่องมือ AI อัจฉริยะ ยกระดับองค์กรสู่ความสำเร็จในทุกมิติ

เมื่อเทคโนโลยีกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กร การค้นหาโซลูชันที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และตอบโจทย์การทำงานในยุคดิจิทัลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ DUSCAP ...

Responsive image

KBank เปิดผลงานปี 67 กำไร 48,598 ล้านบาท ท่ามกลางความท้าทายเศรษฐกิจ

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ยังมีสัญญาณฟื้นตัวไม่ทั่วถึง (K-Shaped Recovery) แม้ในภาพรวมสามารถประคองการขยายตัวไว...