PDPA in Action หลักสูตรสำหรับองค์กรที่ต้องลงมือปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตอบโจทย์คนทำงาน Data Protection

เมื่อทุกองค์กรในประเทศไทยต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมุลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (Personal Data Protection Act, B.E.2562) หรือ PDPA อย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 วันนี้หลายองค์กรเพิ่งเริ่มศึกษา หลายองรค์กรเพิ่งเริ่มทำ หลายองค์กรทำไปแล้วแต่ติดในการตีความกฎหมายสู่การปฎิบัติ ทำอย่างไรจึงจะทำให้ทันเวลาอีกไม่ถึง 8 เดือน หลักสูตร PDPA in Action โดย บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด (DBC) และสถาบันพัฒนาและทดสอบทักษะดิจิทัล (DDTI) คือคำตอบ

“จากการที่เราเปิดอบรมหลักสูตร ICDL PDPA ให้กับลูกค้ากว่า 1,000 คน และให้บริการที่ปรึกษาด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหลายสิบองค์กร การทำ PDPA ในองค์กรให้ประสบความสำเร็จและสามารถปฎิบัติได้จริง ประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลักด้วยกัน คือ 1) การปรับปรุงแก้ไขสัญญา เอกสารบันทึกและข้อตกลงที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล 2) การจัดการกิจกรรมและกระบวนการทางธุรกิจขององค์กรที่มีข้อมูลส่วนบุคคลไหลเวียน และ 3) การพัฒนาและจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอทีขององค์กรที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์และข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งปัญหาที่เกิดกับองค์กรส่วนใหญ่คือการจัดการเอกสารและกระบวนการทางธุรกิจทีเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล” ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด และผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาและทดสอบทักษะดิจิทัล (DDTI) กล่าวถึงที่มาของหลักสูตร

หลักสูตร PDPA in Action จึงเป็นหลักสูตรที่จะช่วยให้องค์กรดำเนินงานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมี 2 หลักสูตรคือ 1. หลักสูตร Data Flow Diagram for PDPA การสร้างแผนภาพกระแสข้อมูลเพื่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อบรมวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 โดยอาจารย์สุกฤษ โกยอัครเดช ตำแหน่งหัวหน้าทีมที่ปรึกษาด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทฯ 2. หลักสูตร PDPA Documentation Preparation การจัดทำเอกสารให้สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อบรมวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 โดยอาจารย์สันต์ภพ พรวัฒนะกิจ หัวหน้าที่ปรึกษาด้านกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล

อาจารย์สุกฤษ ให้รายละเอียดที่มาของหลักสูตร หลักสูตร Data Flow Diagram for PDPA ว่า “แผนภาพกระแสข้อมูล หรือ Data Flow Diagram (DFD) เป็นการวาดแบบจำลองการไหลเวียนของข้อมูลจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่งโดยระบุทิศทางการไหล โดยปกติแล้วการวาดแผนผัง Flow Chart / Flow Diagram ลักษณะนี้จะใช้ในวงการไอทีเพื่อใช้สื่อสารกันระหว่างผู้ออกแบบระบบและผู้พัฒนาระบบ แต่เรานำมาปรับใช้ในการสื่อสารภายในองค์กร ให้เห็นภาพการไหลเวียนข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อที่จะประเมินความเสี่ยงของข้อมูลแต่ละชุด และปรับปรุงการทำงานให้มีความมั่นคงปลอดภัยตรงตามที่กฎหมายกำหนด หลักสูตร Data Flow Diagram for PDPA สอนการวาด DFD ตลอดจนการประเมินความเสี่ยงของข้อมูลที่ปรากฏด้วย Heatmap และการจัดทำบันทึกกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Record of Processing Activities: RoPA) ซึ่ง PDPA กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลต้องมีบันทึกฯ ดังกล่าวตามหลักความรับผิดชอบเมื่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือหน่วยงานกำกับดูแลขอตรวจสอบ หากไม่มีอาจระวางโทษปรับสูงสุด 3 ล้านบาท”

“ขณะที่หลักสูตร PDPA Documentation Preparation สอนการจัดทำนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) ประกาศความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice) แบบฟอร์มขอความยินยอม (Consent Form) และแบบคำร้องใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject Request) ซึ่งล้วนแต่เป็นเอกสารด้านการคุ้มครองข้อมูลฯ ที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสัมผัสโดยตรงเมื่อติดต่อหรือมีธุรกรรมกับองค์กร เอกสารประเภทนี้มีความสำคัญต่อคนทำ PDPA ไม่น้อย เพราะเป็นเครื่องแสดงถึงความรับผิดชอบต่อการทำตาม PDPA ขององค์กรที่สามารถสังเกตเห็นได้เด่นชัด แสดงถึงการให้ความเคารพสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และหากทำไม่ถูกอาจก่อให้เกิดปัญหากรณีละเมิดได้ง่าย” อาจารย์สันต์ภพ กล่าวถึงเนื้อหาของหลักสูตร PDPA Documentation Preparation

“PDPA in Action สองหลักสูตรนี้จะช่วยให้คนเข้าถึงองค์ความรู้และมีแนวทางปฏิบัติ หากธุรกิจขององค์กรไม่สลับซับซ้อน บุคลากรไม่มาก ข้อมูลไหลเวียนไม่เยอะ ก็อาจไม่จำเป็นต้องจัดจ้างที่ปรึกษา สามารถเรียนและนำไปประยุกต์ใช้ทำ PDPA เองในองค์กรได้ โดยเลือกเรียนหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งหรือทั้ง 2 หลักสูตรได้” ดร.อุดมธิปก เสริม

สำหรับผู้ที่สนใจหลักสูตร PDPA in Action  สามารถสมัครได้ทาง https://pdpa.online.th/allcourse/ เฟซบุ๊กเพจ PDPA Thailand ไลน์ @pdpathailand หรือโทร. 065-982-5412 (คุณสุ) / 081-632-5918 (คุณปุ๋ม)

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

มหิดล เปิดกลยุทธ์ชุดใหญ่ สร้าง 'Real World Impact' ยกระดับการแพทย์ ตั้งโรงงานยาที่มีชีวิต

มหาวิทยาลัยมหิดล เผยกลยุทธ์สร้าง 'Real World Impact' ไม่ใช่แค่ Academic Impact เพื่อช่วยแก้สารพัดปัญหา พัฒนาสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิต และเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ พร้อมทั้งมุ่งเป็นผ...

Responsive image

depa เปิดฉาก ESPORTS REGIONAL TOURNAMENT เดินหน้าผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางอีสปอร์ตภูมิภาค

ดีป้า พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร เดินหน้าผลักดันวงการอีสปอร์ตไทยอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการ “depa ESPORTS” ภายใต้แนวคิด PLAYGROUND FOR THE FUTURE มุ่งส่งเสริมเยาวชนและบุคคลทั่วไปที...

Responsive image

ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ นำเอกชนไทย ร่วมงาน NVIDIA ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม AI

ที่ปรึกษา รมว.กต.นำเอกชน AI ไทยร่วมงาน NVIDIA ที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ สร้างเครือข่าย-ขยายประสิทธิภาพเทคโนโลยีไทย - ย้ำรัฐบาลให้ความสำคัญอุตสาหกรรม AI-Semiconductors วางนโยบายส่งเสริ...