การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผนึก Schneider Electric ทรานส์ฟอร์มระบบจ่ายไฟสู่รูปแบบ EcoStruxure ADMS | Techsauce

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผนึก Schneider Electric ทรานส์ฟอร์มระบบจ่ายไฟสู่รูปแบบ EcoStruxure ADMS

Schneider Electric ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันในการจัดการพลังงาน และระบบออโตเมชัน ภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เดินหน้าเต็มตัวปฏิรูประบบจ่ายพลังงานสู่ระบบดิจิทัลเต็มรูปแบบ ด้วย EcoStruxure ADMSTM (Advanced Distribution Management System) ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนสู่สมาร์ทกริดของประเทศภายในปี 65 รองรับความท้าทายด้านการใช้พลังงานในอนาคต 

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นหน่วยงานให้บริการพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจเกี่ยวเนื่องครอบคลุมพื้นที่ 74 จังหวัด ยกเว้นกรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ เพื่อให้ประชาชนได้มีไฟฟ้าใช้เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างเท่าเทียมกันทุกภูมิภาคทั้งประเทศ นับเป็นองค์กรยักษ์ใหญ่ด้านจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าและมีบทบาทสำคัญระดับชาติที่ให้ความสำคัญของการทรานส์ฟอร์มองค์กรและการบริการสู่ดิจิทัล กฟภ. มีแผนยุทธ์ศาสตร์ที่จะพาองค์กรไปสู่ “ดิจิทัลยูทิลิตี้ (Digital Utility)” เพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้ใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าที่เปลี่ยนไป เนื่องจากปัจจัยทางเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด 

กฟภ.ในฐานะผู้ให้บริการด้านพลังงานไฟฟ้าต้องเผชิญกับความท้าทายหลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น การเติบโตของการใช้งานด้านผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี และ IoT ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฮม อุปกรณ์สมาร์ทดีไวส์ และผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงยานยนต์ไฟฟ้า อันจะทำให้เกิดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มากขึ้นในอนาคต ที่สำคัญการเกิดขึ้นของโปรซูเมอร์ ทั้งภาคครัวเรือน และเอกชน รวมถึงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน และภาคอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้สร้างความท้าทายในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าในอนาคตอย่างมาก เพราะแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าเหล่านี้ไม่ใช่แหล่งพลังงานที่ให้กำลังไฟฟ้าที่แน่นอน จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่สามารถควบคุม และคาดการณ์แนวโน้มการใช้พลังงานที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ เพื่อให้กฟภ.สามารถบริหารจัดงานการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้ประชาชนใช้ได้อย่างครอบคลุม มีคุณภาพตามมาตรฐานการให้บริการ และเพียงพอ ในช่วงเวลาวิกฤตต่างๆ 

คุณวัลลภ กิตติวิวัฒน์ รองผู้ว่าการปฏิบัติการและบำรุงรักษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  เผยว่า “การเข้ามาของเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้า โดย กฟภ. ได้กําหนดยุทธศาสตร์ให้มุ่งสู่การเป็นดิจิทัลยูทิลิตี้ภายใน ปี พ.ศ.2565 ซึ่งการปรับเปลี่ยน กฟภ. ไปสู่ดิจิทัลยูทิลิตี้ เป็นการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ ทั้งในด้านเครือข่ายระบบไฟฟ้า การให้บริการลูกค้า กระบวนการภายใน ทรัพยากรบุคคล และเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม ดังนั้น ความสำเร็จของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) จำเป็นต้องมีการบูรณาการระบบงาน และกระบวนการต่างๆ ให้มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล 

รวมทั้งโครงสร้างองค์กร และรูปแบบในการดำเนินงานจะปรับให้มีความคล่องตัว (Agile) โดยมีหน่วยงานด้านธุรกิจ และหน่วยสนับสนุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัล จำเป็นต้องมีการประสานการทำงานร่วมกัน (Collaboration) ในการพัฒนาองค์กรให้เป็น Digital Utility รวมทั้งบุคลากรของ กฟภ. จำเป็นต้องมีความรู้ ความสามารถ เพียงพอและเหมาะสมในการรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงรองรับรูปแบบของการดำเนินธุรกิจเพื่อรองรับโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป”

การขับเคลื่อนสู่ดิจิทัลของ กฟภ. มีการดำเนินการไปพร้อมๆ กันหลายภาคส่วน โดยเฉพาะการเดินทางไปสู่ “สมาร์ทกริด” จะเป็นส่วนสำคัญและเป็นมิติใหม่ของการให้บริการด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการดำเนินการด้านการแก้ไขกระแสไฟฟ้าขัดข้อง พร้อมความสามารถในการควบคุม สั่งการ การพยากรณ์และวิเคราะห์การใช้พลังงานของผู้ใช้ไฟฟ้าได้ด้วย เพื่อเสถียรภาพพลังงานของประเทศ

สำหรับเทคโนโลยีดิจิทัลเกี่ยวกับงานควบคุมสั่งการจ่ายไฟฟ้า กฟภ. จะนำมาใช้ คือ EcoStruxure™ ADMS (Advanced Distribution Management System) จากชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้ระบบควบคุมการจ่ายไฟฟ้าของ กฟภ. ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ทั้งในเรื่องสมาร์ทกริดที่สามารถตรวจพบข้อผิดพลาดเพื่อแก้ไขได้อย่างทันท่วงที และบริหารจัดการพลังงานให้มีความต่อเนื่องในทุกพื้นที่อย่างเพียงพอแก่การใช้งานอย่างแท้จริง แม้ในช่วงที่เกิดปัญหาวิกฤต 

พร้อมทั้งมีโซลูชันสำหรับการบริหารจัดการแหล่งพลังงานแบบกระจายตัว (Distributed Energy Resource Management System: DERMS) โดยสามารถมองเห็นการเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าของ กฟภ. ได้ทั้งระบบ สามารถทำงานร่วมกับระบบเดิม หรืออุปกรณ์หลากหลายแบรนด์ได้อย่างราบรื่น สร้างความเสถียรของเครือข่ายที่มากขึ้น ปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุนการดำเนินงาน เพิ่มความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และที่สำคัญที่สุดคือสามารถคาดการณ์แนวโน้มการใช้ไฟในอนาคต ช่วยให้ กฟภ. สามารถบริหารจัดการแหล่งพลังงานรูปแบบต่างๆ ที่เข้ามาเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายของ กฟภ.ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณวัลลภ เผยต่อว่า “EcoStruxure ADMS จากชไนเดอร์ อิเล็คทริค นับเป็นการอัพเกรด และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบศูนย์สั่งการจ่ายไฟฟ้าเพื่อให้สามารถ ควบคุม สั่งการและวิเคราะห์จ่ายไฟฟ้าให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมไฟฟ้ารูปแบบใหม่ ให้ดียิ่งขึ้นภายใต้ ‘โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบศูนย์สั่งการจ่ายไฟ (คปศ.) ซึ่งทาง กฟภ. มีความคาดหวังว่าทั้งภาคประชาชน และภาคธุรกิจพลังงาน จะได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าวของ กฟภ. เมื่อระบบงานต่างๆ ทุกอย่างแล้วเสร็จสมบูรณ์ตามแผนยุทธศาสตร์ที่เราได้วางเอาไว้ เพื่อเดินหน้าประเทศไทยสู่ดิจิทัลด้านพลังงานอย่างแท้จริง” 

คุณมงคล ตั้งศิริวิช รองประธานฝ่ายธุรกิจพลังงาน ดูแลกลุ่มคลัสเตอร์ ประเทศไทย ลาวและเมียนมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เผยว่า “ชไนเดอร์ อิเล็คทริค รู้สึกภาคภูมิใจ ที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพของระบบศูนย์สั่งการจ่ายไฟของ กฟภ. ซึ่งเป็นผู้ให้บริการพลังงานไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย จะช่วยให้ประเทศได้ใช้พลังงานอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น ด้วยโซลูชัน EcoStruxure Grid หรือ ADMS ช่วยให้ กฟภ. สามารถมองเห็นความเป็นไปของระบบไฟฟ้าได้ทั้งระบบ พร้อมการวิเคราะห์ การคาดการณ์แนวโน้ม สามารถแก้ไขปัญหาได้ก่อนที่จะเกิดขึ้น เมื่อต้องมีการเชื่อมต่อกับไมโครกริดของผู้ให้บริการรายต่างๆ ในอนาคต ทั้งยังให้ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ช่วยให้ระบบไฟฟ้าของประเทศมีความยั่งยืน เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศในภาพรวม เพราะเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าพลังงานเป็นแรงขับเคลื่อนธุรกิจซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญของระบบเศรษฐกิจของชาติ”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NITMX เผยสถิติพร้อมเพย์ ปี 67 ยอดธุรกรรมโตแตะ 2,096 ล้านต่อเดือน ผู้ใช้พุ่งสูงถึง 79 ล้านราย

NITMX เผยข้อมูลสถิติการใช้งานระบบพร้อมเพย์ตลอดปี 2567 ซึ่งแสดงถึงการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในด้านธุรกรรมดิจิทัลทั้งในประเทศและข้ามพรมแดน ตอกย้ำบทบาทสำคัญในการผลักดันประเทศเข้าสู่ยุคสั...

Responsive image

มันนี่ทันเดอร์พลิกโฉมสินเชื่อไทย ด้วย AI ฝีมือคนไทย แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

“อบาคัส ดิจิทัล” (ABACUS digital) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน "มันนี่ทันเดอร์" (MoneyThunder) ได้สร้างปรากฎการณ์ในวงการสินเชื่อด้วยการใช้เทคโนโลยี AI ที่พัฒนาจากทีมคนไทยที่เข้าใจถึงความต้อ...

Responsive image

iNT: พันธมิตรเพื่ออนาคต พร้อมเปิดประตูสู่นวัตกรรมและธุรกิจ Start-Up

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT (อิ๊นท์) ตอกย้ำบทบาทผู้นำ ด้านการสนับสนุนธุรกิจ Start-Up และการส่งเสริมการต่อยอดผลงานวิจัย นวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์...