นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า ในปี 2561 ปตท. กำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 40ในฐานะบริษัทพลังงานชั้นนำของประเทศไทย สิ่งสำคัญที่สุดคือการปรับรูปแบบการทำงานให้ทันสมัยด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาพัฒนาองค์กร (Digital Transformation) ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้นำด้านดิจิทัลเพื่อสร้างความเข้มแข็งภายในองค์กร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและภาคธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งโครงการ PTT TECH Savvy Agent 2018 ต้องการที่ส่งเสริมบุคคลากรของ ปตท. ที่เป็นคนรุ่นใหม่และมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการปรับเปลี่ยนองค์กรให้พร้อมแข่งขันในเวทีสากลโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อน และเป็นองค์กรต้นแบบที่ส่งเสริมการทำงานแบบดิจิทัลในยุคไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างยั่งยืน
นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.โดยหลังจากผ่านการขับเคี่ยวอย่างเข้มข้นจากบุคลากรของ ปตท.ที่เข้าร่วมแข่งขันจำนวน 30 โครงการ จนทำให้ได้ 3 ทูตแห่งเทคโนโลยีดิจิทัล ได้แก่ “มีน – นายปรัชญา ไหลไพบูลย์” อายุ 32 ปี พนักงานวิเคราะห์และวางแผน ฝ่ายบริหารบริษัทในเครือน้ำมันปิโตรเคมีและการกลั่น ผู้ชนะการแข่งขันประเภท “Developing Digital Mindset” หรือการพัฒนาแนวคิดในการใช้เครื่องมือดิจิทัลและเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ปรัชญา เป็นพนักงาน ปตท. มีอายุงาน 9 ปี นำเสนอผลงานผ่านโจทย์แต่ละรอบอย่างสร้างสรรค์และสามารถเกิดขึ้นได้จริง จนมาถึงรอบสุดท้ายกับโจทย์การทำ Testing และ Prototype แผนธุรกิจที่ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือและแพลตฟอร์มทางดิจิทัล กับแผน “Amazon เก๋า...เก๋า” ที่คว้ารางวัลชนะเลิศ ด้วยคอนเซ็ปต์การนำผู้สูงอายุในชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนที่มีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามเป็นจุดขาย มาเป็นบาริสต้าใน Café Amazon เพื่อเพิ่มคุณค่าให้ผู้สูงอายุ รองรับสังคมผู้สูงอายุที่กำลังจะมาถึง ซึ่งจะทำให้ Café Amazon กลายเป็นจุด Tourist Checkpoint สำหรับนักท่องเที่ยวคนรุ่นใหม่ที่มักจะหาที่กินที่เที่ยวผ่าน Application
“การเข้าร่วมโครงการ PTT TECH Savvy Agent 2018 ทำให้ผมได้เรียนรู้ เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ และเข้าถึงเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้เรื่องการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า การรับมือกับสถานการณ์เฉพาะหน้าต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันต้องยอมรับว่าเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลถือเป็น Big Change หรือการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่เราจำเป็นต้องเรียนรู้ เพราะจะทำให้เข้าใจการปรับเปลี่ยนของเทคโนโลยีต่างๆ ที่ช่วยให้การทำงานง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยสร้าง Value ให้กับองค์กรและพนักงาน อยากให้มีโครงการดีๆ แบบนี้อีก เชื่อว่ายังมีพนักงาน ปตท. อีกมากมายที่มีความรู้ด้านดิจิทัลและสามารถนำมาใช้ประยุกต์ใช้ในการทำงาน ดีใจและภูมิใจมากๆ กับรางวัลที่ได้รับมากครับ” ปรัชญา กล่าว
คุณปรัชญา ไหลไพบูลย์นายวิน มยุรฤทธิ์ภิบาล อายุ 25 ปี วิศวกรในโครงการ ExpresSo ทำหน้าที่แสวงหาโอกาสทางธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ เป็นผู้ชนะการแข่งขันประเภท “Sharing Digital Mindset” หรือการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดเนื้อหาและความรู้ทางด้านดิจิทัลให้กับเพื่อนร่วมงาน
วิน เป็นบุคลากรรุ่นใหม่ที่ทำงานกับ ปตท.เป็นบริษัทแรกหลังจบการศึกษา โจทย์ทุกรอบใน Lane นี้จะเน้นการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารและความเป็น ปตท. อย่างสร้างสรรค์ สร้างความตื่นตาตื่นใจ จนมาถึงรอบสุดท้ายกับโจทย์ที่ต้องคิดและทำภาพยนตร์โฆษณาตัวใหม่ของ ปตท. เพื่อเผยแพร่ทางสื่อ Social Media ให้ได้ยอดชม 1 ล้าน Viewsภายใน 5 วัน โดย วิน เลือกที่จะนำเสนอเรื่องราวการให้การสนับสนุนผู้พิการทางการได้ยินของ Café Amazon ซึ่งปัจจุบัน ปตท. ได้มอบโอกาสให้พวกเขาเหล่านั้นเป็นบาริสต้าที่ Café Amazon สาขามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา มานำเสนอ สร้างความประทับใจและคว้ารางวัลไปในที่สุด
“ดีใจที่ไอเดียเล็กๆ จากพนักงาน ปตท. รุ่นใหม่อย่างผมสามารถมีพื้นที่และมีโอกาสเกิดขึ้นจริงได้ในเวที PTT TECH Savvy Agent 2018 ซึ่งถือเป็นการบอกเล่า แชร์ประสบการณ์การทำงานและไอเดีย สร้างโอกาสในการคิดหรือทำสิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเราเองและองค์กร เนื่องจากสิ่งสำคัญสำหรับการทำงานในยุคนี้ก็คือ ต้องพยายามปรับเปลี่ยนและยกระดับการทำงานด้วยการสร้าง Digital Culture ภายในองค์กร เปิดใจให้โอกาสตัวเองในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในโลกดิจิทัล และนำมาปรับใช้กับการทำงานร่วมกันภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มจากตัวเราเองและคนรอบข้าง ซึ่งผมยินดีที่จะเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนขององค์กรที่จะแชร์ความรู้ด้านดิจิทัลให้กับเพื่อนๆ และพี่ๆ ชาว ปตท. ทุกคนครับ” วิน กล่าว
คุณวิน มยุรฤทธิ์ภิบาลเก่ง – นายจารุชัย สุจริตธรรม อายุ 28 ปี พนักงานวิเคราะห์และวางแผน ฝ่ายบริหารบริษัทในเครือน้ำมันปิโตรเคมีและการกลั่น ผู้ชนะการแข่งขันประเภท “Applying Digital Mindset” หรือการพัฒนาทักษะการประยุกต์ใช้แนวคิด กลยุทธ์และเครื่องมือดิจิทัลหรือเทคโนโลยีไปใช้ในงานของตนเอง
จารุชัย ทำงานที่ ปตท.เพียงแค่ 3 ปี แต่สามารถนำเสนอแนวคิดที่โดดเด่นเข้าตากรรมการจนผ่านมาถึงรอบสุดท้ายและคว้ารางวัลชนะเลิศจาก แผนธุรกิจ “PTT FIT Station Prime” ในรูปแบบของ Sharing Economy ที่รวมเอาสถานีบริการเติมไฟฟ้าให้รถ Electronics Vehicle (EV) ไว้กับ Fit Auto ในลักษณะของ FIT Service Chain ที่เปิดให้บริการทั่วประเทศและเข้าถึงได้ง่ายผ่าน Application FIT FixD สร้างความสะดวก รวดเร็ว และสร้าง Brand Awareness หรือการรับรู้จดจำแบรนด์ ปตท. ได้อย่างดีเยี่ยม
“สิ่งที่ผมได้จากการร่วมโครงการ PTT TECH SavvyAgent2018 คือ การได้นำไอเดียของตัวเองมาแชร์ร่วมกับ Mentor ซึ่งแต่ละท่านต่างก็เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลที่มีมุมมองแตกต่างกัน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ผมอยากเป็นคนหนึ่งที่ช่วยให้ทุกๆ คน ทุกเจเนอเรชั่นใน ปตท. สามารถนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน อยากเป็นส่วนหนึ่งในการจุดประกายให้ทุกคนได้เปิดใจเรียนรู้และรับสิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเราและยกระดับการทำงานของ ปตท.ให้ดียิ่งขึ้นไปอีก รู้สึกดีใจที่ได้รับรางวัลนี้ ขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่ให้คำแนะนำและสนับสนุน และที่สำคัญคือ อยากให้สิ่งที่ผมคิดและทำเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นครับ” จารุชัย กล่าวทิ้งท้าย