RATCH กางแผนครึ่งปีหลัง เพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้า ลงทุนในธุรกิจ Non Power Business | Techsauce

RATCH กางแผนครึ่งปีหลัง เพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้า ลงทุนในธุรกิจ Non Power Business

 บมจ. ราช กรุ๊ป หรือ RATCH เดินหน้าแผนการดำเนินงานในครึ่งหลังของปี 65 คาดเติบโตต่อเนื่อง เป็นผลจากการรับรู้โครงการโรงไฟฟ้าที่เริ่มทยอยเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ (COD) รุกเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้า พร้อมเดินหน้าแผนการลงทุนในธุรกิจ Non Power Business ตอกย้ำการเป็นบริษัทชั้นนำด้านพลังงานและระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ที่มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

RATCHคุณชูศรี เกียรติขจรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH หรือ บริษัทฯ ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนชั้นนำของประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯ พร้อมตอกย้ำการเป็นบริษัทชั้นนำด้านพลังงานและระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เดินหน้าขับเคลื่อนแผนงานและการบริหารสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงด้านต้นทุนการผลิตอย่างใกล้ชิด ส่งผลให้ในปัจจุบันโรงไฟฟ้าต่างๆ สามารถลดและจำกัดผลกระทบจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาเชื้อเพลิง และยังสามารถรักษาอัตรากำไรไว้ได้

สำหรับแผนการดำเนินงานในครึ่งปีหลังของปี 2565 บริษัทฯ คาดว่ารายได้จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการรับรู้โครงการโรงไฟฟ้าที่เริ่มทยอยเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ (COD) ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม Riau ตั้งอยู่ที่จังหวัด Riau เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย โดยบริษัทฯ ได้ถือหุ้นทางอ้อมผ่านบริษัท อาร์เอช อินเตอร์เนชั่นแนล (สิงคโปร์) คอร์ปอเรชั่น จำกัด (RHIS) 49% มีกำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น 145.15 เมกะวัตต์ 

ซึ่งเริ่ม COD เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา และโรงไฟฟ้าเน็กส์ซิฟ ราช เอ็นเนอร์จี ระยอง โดยได้ถือหุ้นทางอ้อมผ่าน Nexif Singapore 49% กำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น 45.08 เมกะวัตต์ ซึ่งเริ่ม COD เมื่อเดือนเมษายน 2565 ที่ผ่านมา พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ยังคงเป้าหมายการเพิ่มกำลังการผลิตในปีนี้ไม่น้อยกว่า 700 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นโครงการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงหลักประมาณ 450 เมกะวัตต์ และอีกประมาณ 250 เมกะวัตต์ จะเป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ซึ่งจะส่งผลให้สิ้นปีนี้บริษัทฯ มีกำลังการผลิตติดตั้งรวมไม่น้อยกว่า 9,919.28 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันอยู่ที่ 9,219.28 เมกะวัตต์ 

ทั้งนี้ บริษัทฯ เดินหน้ามองหาโอกาสทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ผ่านการลงทุนในด้านต่างๆ ประกอบด้วย 

1.) เดินหน้าสนองต่อนโยบายภาครัฐในการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (Power Development Plan: PDP) พ.ศ. 2561 – 2580 ซึ่งบริษัทฯ มีแผนเพิ่มสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนให้มากขึ้นจากปัจจุบันที่ 15% ของกำลังการผลิตรวมของบริษัทฯ โดยกำหนดเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตจากพลังงานทดแทนเป็น 2,500 เมกะวัตต์ในปี 2568 และ 4,000 เมกะวัตต์ในปี 2578 หรือคิดเป็น 25% และ 40% ของกำลังการผลิตรวมของบริษัทฯ ตามลำดับ  

2.) มุ่งสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ ด้วยเทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน, ระบบกักเก็บพลังงานและการซื้อขายคาร์บอน ตามทิศทางพลังงานสีเขียวโลกและเพื่อเป้าหมาย Net Zero Emission 

3.) การเปลี่ยนผ่านโครงสร้างการผลิตไฟฟ้าสู่รูปแบบการผลิตเพื่อใช้เอง โดยบริษัทฯ มีเป้าหมายขยายพอร์ตการลงทุนโรงไฟฟ้า IPS, ลงทุนด้านนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า, ลงทุนด้าน Smart Grid และ/หรือ Micro Grid และระบบแพลตฟอร์มการซื้อขายไฟฟ้า

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเดินหน้าแผนลงทุนในธุรกิจ Non Power Business ประกอบไปด้วยโครงการระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ธุรกิจบริการสุขภาพ และธุรกิจอื่นหรือธุรกิจคาร์บอนต่ำที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงในระยะยาว เพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในโรงพยาบาล พริ้นซ์ สกลนคร ซึ่งได้ร่วมกับบริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ PRINC ซึ่ง RATCH ลงทุนโดยตรงในสัดส่วน 25% และลงทุนผ่าน PRINC อีก 10% 

ซึ่งปัจจุบันได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว คาดว่าจะเปิดให้บริการและเริ่มรับรู้รายได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีชมพูและสายสีเหลือง โดยคาดว่าทั้งสองโครงการจะเริ่มเปิดให้บริการในไตรมาส 1 ปี 2566 เป็นต้นไป และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือมอเตอร์เวย์ หมายเลข M6 และ M81 คาดว่าจะเริ่ม COD ได้ในปี 2567 นับเป็นการปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์เพื่อขยายการเติบโตสู่ผู้นำพลังงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

มันนี่ทันเดอร์พลิกโฉมสินเชื่อไทย ด้วย AI ฝีมือคนไทย แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

“อบาคัส ดิจิทัล” (ABACUS digital) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน "มันนี่ทันเดอร์" (MoneyThunder) ได้สร้างปรากฎการณ์ในวงการสินเชื่อด้วยการใช้เทคโนโลยี AI ที่พัฒนาจากทีมคนไทยที่เข้าใจถึงความต้อ...

Responsive image

iNT: พันธมิตรเพื่ออนาคต พร้อมเปิดประตูสู่นวัตกรรมและธุรกิจ Start-Up

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT (อิ๊นท์) ตอกย้ำบทบาทผู้นำ ด้านการสนับสนุนธุรกิจ Start-Up และการส่งเสริมการต่อยอดผลงานวิจัย นวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์...

Responsive image

5 ประโยชน์จาก DUSCAP เครื่องมือ AI อัจฉริยะ ยกระดับองค์กรสู่ความสำเร็จในทุกมิติ

เมื่อเทคโนโลยีกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กร การค้นหาโซลูชันที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และตอบโจทย์การทำงานในยุคดิจิทัลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ DUSCAP ...