วิทยาศาสตร์ฯ มธ. คาดผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์สิ้นเดือน มิ.ย. นี้หากพบผู้ติด COVID-19 ลดลงวันละ 5% | Techsauce

วิทยาศาสตร์ฯ มธ. คาดผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์สิ้นเดือน มิ.ย. นี้หากพบผู้ติด COVID-19 ลดลงวันละ 5%

ผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SCI-TU) คาดการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19  รายใหม่ มีแนวโน้มเป็น “ศูนย์” ภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2563 หากพบผู้ติดเชื้อลดลงต่อเนื่องวันละ 5% ของยอดผู้ติดเชื้อวันก่อนหน้า โดยอาศัยหลักการวิเคราะห์ด้านคณิตศาสตร์และสถิติ โดยพิจารณา 2 ปัจจัย คือ จำนวนผู้ติดเชื้อสะสม และเวลา โดยพบผลลัพธ์แม่นยำสูง 99% อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์นั้นจะเป็นจริงก็ต่อเมื่อพฤติกรรม #หยุดเชื้อเพื่อชาติ อาทิ ทำงานที่บ้าน เลี่ยงการเดินทางข้ามจังหวัดหรือพื้นที่ชุมชน สัมฤทธิ์ผลทั่วประเทศ 

รองศาสตราจารย์ ดร. วราฤทธิ์ พานิชกิจโกศลกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. (SCI-TU) กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ถือเป็นอุบัติการณ์ครั้งใหม่ ที่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยต้องปรับกระบวนการตั้งรับใหม่ในหลายมิติ ปรากฏชัดผ่านตัวเลขผู้ติดเชื้อในที่ยังมีความแปรผัน โดยในประเทศไทยพบ อัตราการเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยของผู้ติดเชื้อรายใหม่ 19.2% ต่อวัน ในเดือนมีนาคม แต่ในเดือนเมษายนมีการปรับลดลงเหลือ 4.8% ต่อวัน ดังนั้น เพื่อให้ไทยสามารถประเมินความเสี่ยงของตัวเลขผู้ติดเชื้อในอนาคต ตามหลักอนาคตศาสตร์ได้อย่างแม่นยำ คณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ. โดยสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ จึงจัดทำ “กราฟประเมินยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 ” โดยอาศัยหลักการวิเคราะห์ด้านคณิตศาสตร์และสถิติ โดยพิจารณา 2 ปัจจัย คือ จำนวนผู้ติดเชื้อสะสม และเวลา โดยพบผลลัพธ์แม่นยำสูง 99%

โดยเหตุผลที่เลือกใช้หลักการวิเคราะห์จาก 2 ปัจจัยดังกล่าว เนื่องจากเส้นกราฟของจำนวนผู้ติดเชื้อสะสม ระหว่างวันที่ 15 มีนาคมถึง 9 เมษายน 2563 มีลักษณะเป็นเส้นโค้ง และไม่มีลักษณะชันขึ้นอย่างรวดเร็ว (ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข) ทั้งนี้ หากพบยอดผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มปรับลดลงวันละ 5% ของยอดผู้ติดเชื้อวันก่อนหน้า อย่างต่อเนื่อง จึงนับเป็นสัญญาณที่ดีของไทย ในการพบยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็น 0 ราย ภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2563 อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ดังกล่าว จะเป็นจริงก็ต่อเมื่อพฤติกรรม #หยุดเชื้อเพื่อชาติ อาทิ ทำงานที่บ้าน (Work from home) เลี่ยงการเดินทางข้ามจังหวัดหรือพื้นที่ชุมชน สวมใส่หน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัย และล้างมือให้สะอาดหลังหยิบจับหรือสัมผัสสิ่งต่าง ๆ สัมฤทธิ์ผลทั่วประเทศ

อย่างไรก็ดี “พฤติกรรมของบุคคล” ยังเป็นสาเหตุหลักของการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้ออย่างมีนัยยะสำคัญ เนื่องจากอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยในช่วงที่ผ่านมา พบว่า เป็นบุคคลที่เดินทางกลับจากต่างประเทศกลุ่มเสี่ยง เป็นครอบครัวหรือบุคคลที่ใกล้ชิดกับบุคคลที่เดินทางการจากต่างประเทศ เป็นบุคคลที่ไม่สวมหน้ากากอนามัยในที่ชุมชน/สาธารณะ ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกรวมแล้วกว่า 1.5 ล้านราย โดยคิดเป็นคนไทยรวม 2,423 ราย (ข้อมูล: www.worldometers.info เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2563) รองศาสตราจารย์ ดร. วราฤทธิ์ กล่าวทิ้งท้าย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ม.มหิดล ชูความสำเร็จผลงานนวัตกรรมวัคซีนไข้เลือดออกเดงกี ชนิดเข็มเดียว เตรียมผลักดันออกสู่ตลาดโลก

โรคไข้เลือด เป็นหนึ่งในโรคประจำถิ่นในทุกประเทศเขตร้อนของโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี มียุงลายหรือยุงรำคาญเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน และในปัจจุบันมีประชากรประม...

Responsive image

ททท. ประกาศผู้ชนะ TAT Travel Tech Startup 2024 ทีม HAUP คว้าชัย ร่วมผลักดัน ท่องเที่ยวไทยกับ 11 ทีม Travel Tech

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประกาศผลผู้ชนะโครงการ TAT Travel Tech Startup 2024 กิจกรรมบ่มเพาะและโจทย์ด้านการท่องเที่ยวสุดท้าทาย ร่วมกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญ ภายใต้แนวคิด WORLD...

Responsive image

ทำความรู้จักกับซิม IoT จาก SoftBank และ 1NCE จ่ายครั้งเดียว ใช้งานได้ต่อเนื่องถึง 10 ปี

รู้จักซิมการ์ด IoT จาก 1NCE เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ทั่วโลกใน 173 ประเทศ ด้วยค่าใช้จ่ายครั้งเดียวใช้งานได้นาน 10 ปี เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการโซลูชันคุ้มค่าและจัดการง่าย...