ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน อาทิ การีนา (Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และแอร์เพย์ (AirPay) เปิดตัวยุทธศาสตร์ “10 in 10 Initiative” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพ ‘Digital Talent’ ในตลาดแรงงานทุกระดับ ตอบสนองกับการแข่งขันยุคเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy)ที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้านดิจิทัลตามให้ทันเทคโนโลยี จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในยุคนี้ โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต
ยุทธศาสตร์ “10 in 10 Initiative” ไม่เพียงแต่ตอกย้ำวิสัยทัศน์ของ Sea (Group) ที่มุ่งมั่นเป็นผู้นำด้านอินเตอร์เน็ตแพลตฟอร์มที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายย่อยผ่านบริการและผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายจากบริษัทในเครือ แต่ยังเน้นย้ำถึงเป้าหมายในการสร้างองค์กรที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมอย่างรอบด้าน ผ่านการพัฒนาทักษะที่สำคัญและจำเป็นในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล โดย Sea (Group) เป็น 1 ใน 7 บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำที่มีพันธสัญญาร่วมกับสภาเศรษฐกิจโลก หรือ The World Economic Forum (WEF) ในการสร้างทักษะด้านดิจิทัลภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการริเริ่มยุทธศาสตร์ “10 in 10 Initiative” Sea (Group) พร้อมส่งมอบ ‘Digital Talent’ กว่า 10 ล้านคน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน ภายในระยะเวลา 10 ปี ทั้งนี้ ดร. สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist แห่ง Sea (Group) ยังได้ประกาศถึงโครงการนี้เป็นครั้งแรกในงาน Techsauce Global Summi t 2019
เศรษฐกิจดิจิทัล หรือ “Digital Economy” ถือเป็นนโยบายที่รัฐบาลทั่วโลกให้ความสนใจ โดยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของประเทศที่เป็นสมาชิก OECD หรือกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ต่างมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้าน Digital Economy ทั้งสิ้น ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน ยังถือเป็นกลุ่มประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัลที่รวดเร็วที่สุดในโลก รายงานจาก กูเกิลและเทมาเส็ก (Google & Tamasek) คาดว่า ยอดมูลค่าสินค้ารวม(Gross Merchandise Value : GMV) ในภาคเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเพิ่มขึ้นเป็น 240 พันล้านดอลลาร์ ภายในปี 2025 จาก 72 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2018 จากทั่วทุกภาคอุตสาหกรรม 75 เปอร์เซ็นต์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เห็นว่า การปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นโอกาสที่ดี แต่มีเพียง 16 เปอร์เซ็นต์ที่สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในธุรกิจได้จริง โดยผลวิจัยของบริษัท Bain & Company พบว่า การขาดทักษะดิจิทัลและการศึกษาเป็นหนึ่งในอุปสรรคหลัก
การปรับเปลี่ยนสู่โลกยุคดิจิทัลจึงไม่ได้เป็นเรื่องที่สามารถทำได้เพียงชั่วข้ามคืน จากการสำรวจของ IDC บริษัทวิจัยด้านเทคโนโลยีชั้นนำพบว่า ในภาคเอกชน มีเพียงองค์กรราว 30เปอร์เซ็นต์ที่สามารถก้าวไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์ ที่สำคัญ แม้ว่าเศรษฐกิจดิจิทัลถือเป็นการสร้างโอกาสให้แก่หลายๆ ธุรกิจ แต่ในทางกลับกันการก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัลจะสร้างความท้าทายให้แก่ธุรกิจแบบดั้งเดิม เช่น รูปแบบการจ้างงานที่มีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จากกรณีศึกษาของกลุ่มประเทศ OECD พบว่า การก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัลจะไม่ได้ลดปริมาณการจ้างงานทั้งในภาพรวมและภาค ICT แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดคืองานในยุคดิจิทัลจะมีความต้องการแรงงานที่มีทักษะฝีมือสูงมากขึ้น
ดร. สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist แห่ง Sea (Group) กล่าว “วันนี้เวลาเราพูดถึงการปรับตัวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เรามักพูดถึงแต่ด้านของ Hard Skill เช่น เขียนโค้ด ทำโปรแกรม แต่ในด้านของ Soft Skill เช่น ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะเชิงวิพากษ์ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำในยุคดิจิทัล ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ในมุมมองของ Seaเห็นว่า การพัฒนาทักษะดิจิทัล ควรให้ความสำคัญทั้ง Hard Skill และ Soft Skill กล่าวคือ ต้องมีการเตรียมพร้อม 2 แบบ หนึ่งคือต้องเตรียมคนให้มีความพร้อมในการทำงานร่วมกับเทคโนโลยี เช่นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI สามารถดึงความสามารถของเทคโนโลยีออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งคนที่เรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientists) ก็จะมีความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม หลายคนที่เรียนด้านนี้ กลับบอกว่าความสำคัญไม่ใช่เรื่องโค้ดดิ้ง (Coding) เพราะภาษาโค้ดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่ควรเข้าใจตรรกะวิธีคิดในการโค้ดดิ้งมากกว่า ส่วนอีกแบบหนึ่งซึ่งถือว่าสำคัญคือ เรื่อง ทักษะพฤติกรรม หรือ Soft Skill ในการทำงานร่วมกับคนอื่น การทำงานเป็นทีมเวิร์ค ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงาน ซึ่งเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่เทคโนโลยีทำแทนมนุษย์ไม่ได้”
“ในฝั่งขององค์กรจะบอกว่าการเรียนรู้เป็นหน้าที่ของสถาบันการศึกษาอย่างเดียวไม่ได้แต่ทุกองค์กรต้องมีการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับบุคลากร ต้องเพิ่ม“ความกว้าง”ให้ประชาชนทุกระดับเข้าถึงพื้นฐานการใช้เทคโนโลยี เช่น การใช้แอปพลิเคชั่น การขายของออนไลน์ และเพิ่ม “ความลึก” ด้วยการจับมือกับมหาวิทยาลัย องค์กรภาครัฐต่าง ๆ เพื่อสอนทักษะใหม่ ๆทั้ง ดาต้าอนาไลติก อีสปอร์ต พัฒนาหลักสูตรทั้งระยะสั้นและในระดับสถาบันการศึกษาให้ตรงกับความต้องการของตลาด และความสนใจของผู้เรียน ในฐานะผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำ Sea จึงริเริ่มยุทธศาสตร์ “10 in 10 Initiative” เพื่อเสริมสร้างทักษะดิจิทัลอย่างครบวงจรผ่าน 3 แกนหลัก และเราคาดว่า ภายในอีก 10 ปีข้างหน้า Sea (Group) จะได้ช่วยส่งมอบประชากรที่มีความพร้อมด้านดิจิทัลกว่า 10 ล้านคน ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวันให้พร้อมเสริมประสิทธิภาพของสังคมโดยรวม” ดร. สันติธาร กล่าว
เผย 3 แกนหลักบนยุทธศาสตร์ “10 in 10 Initiative” ภายใต้ยุทธศาสตร์ “10 in 10 Initiative” Sea (Group) และบริษัทในเครือ อาทิ การีนา (Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และแอร์เพย์ (AirPay) จะประยุกต์ใช้ 3 แกนหลักในการพัฒนาทักษะดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน ได้แก่;
ยุทธศาสตร์ “10 in 10 Initiative” ได้ริเริ่มหลังจาก Sea (Group) ฉลองครบรอบ 10 ปีอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา Sea(Group) ได้ส่งโครงการที่ดำเนินภายใต้ยุทธศาสตร์ “10 in 10 Initiative” แล้ว ไม่ว่าจะเป็น โครงการ ‘Shopee Bootcamp’ ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มติดอาวุธทางความรู้ พัฒนาทักษะให้แก่ผู้ขายและผู้ประกอบการรายย่อย และ‘Sea Scholarship’ โดยเป็นการสนับสนุนทุนการศึกษา เพื่อร่วมพัฒนาศักยภาพบุคลากรสู่ตลาดแรงงานในยุคดิจิทัล
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด