Sea (Group) ผนึกกำลังสภาเศรษฐกิจโลกชี้เทรนด์ทักษะเทคโนโลยีในเยาวชนสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 | Techsauce

Sea (Group) ผนึกกำลังสภาเศรษฐกิจโลกชี้เทรนด์ทักษะเทคโนโลยีในเยาวชนสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0

Sea (Group)  ผู้ให้บริการอินเตอร์เนตชั้นนำใน 7 ตลาดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน อาทิ การีนา ช้อปปี้ และแอร์เพย์  จับมือสภาเศรษฐกิจโลก หรือ the World Economic Forum (WEF) เผยผลสำรวจทักษะดิจิทัลที่จำเป็นในเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4Sea X WEF

พัฒนาขีดความสามารถและ “ทักษะดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์” เตรียมพร้อมสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

จากผลสำรวจทักษะดิจิทัลที่จำเป็นในเศรษฐกิจดิจิทัลที่ได้มีการสอบถามเยาวชนอายุ 15-35 ปี จากทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 56,000 คน บนอินเตอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำพบว่าเยาวชนส่วนใหญ่เข้าใจถึงความท้าทายของยุค4.0 และความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดย เยาวชน 52 เปอร์เซ็นต์ ตอบว่าพวกเขาต้องหมั่นพัฒนาทักษะด้านต่างๆตลอดเวลา เพื่อให้ประสบความสำเร็จในตลาดแรงงานในอนาคต

ในขณะที่เพียง19% คิดว่าทักษะที่เขามีในปัจจุบันจะเพียงพอสำหรับตลาดแรงงานไปตลอดชีวิตสิ่งที่น่าสนใจคือเมื่อให้เรียงลำดับความสำคัญของทักษะแห่งอนาคตเยาวชนผู้ร่วมตอบแบบสอบถาม จัดอันดับให้ความคิดสร้างสรรค์และศักยภาพเชิงนวัตกรรม  เป็นทักษะที่สำคัญอันดับหนึ่งที่ต้องมีในอนาคต ตามมาด้วยความสามารถก้านภาษา มากกว่าความรู้พื้นฐานด้าน STEM ที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์

คุณสันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist แห่ง Sea (Group) กล่าวว่า ในขณะที่ธุรกิจของเรามีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งบน การีนา ช้อปปี้ และแอร์เพย์ เรามุ่งเน้นเป็นองค์กรที่เป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนเยาวชน และบุคลากรให้มีทักษะดิจิทัล และทัศนคติพร้อมรับปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ในระดับองค์กร เราเน้นการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับบุคลากร ในระดับสังคมและระดับภูมิภาค เราเน้นการสร้างทั้ง “ความกว้าง” และ เพิ่ม“ ความลึก” ให้ประชาชนทุกระดับเข้าถึงพื้นฐานการใช้เทคโนโลยี

ในครั้งนี้ เราจึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับสภาเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง สำหรับการจัดทำผลสำรวจของเยาวชนทั้งภูมิภาค บนอินเตอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า เราและสภาเศรษฐกิจโลกมีอุดมการณ์และเป้าหมายเดียวกัน ในการสนับสนุนการพัฒนาทักษะดิจิทัล โดยเฉพาะทักษะด้าน ‘Soft Skill’  ที่สำคัญต่อภาคเทคโนโลยี

คุณจัสติน วู้ด หัวหน้าฝ่ายเอเชียแปซิฟิก และสมาชิกคณะกรรมการบริหารของสภาเศรษฐกิจโลก กล่าวว่าในอนาคต ยากที่จะคาดการณ์ไปในทิศทางเดียวกันว่า จะมีอะไรเกิดขึ้นบนโลกของเทคโนโลยีบ้าง แต่ที่สำคัญคือ วิถีชีวิต การดำเนินธุรกิจและการทำงานจะถูก ‘disrupt’ ในวงกว้างอย่างรวดเร็ว

ดังนั้น จึงถือเป็นความจำเป็นที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องสร้างความตระหนัก รู้เท่าทันเทคโนโลยีให้แก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับมือกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่มีต่อแรงงานและผู้ประกอบวิชาชีพในภูมิภาค ต้องหารือกันถึงแนวทางการพัฒนาทักษะแรงงานและผู้ประกอบวิชาชีพ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และที่สำคัญคือ ปลูกฝังและนำเยาวชนของภูมิภาคสู่การเรียนรู้ในยุคใหม่ ที่ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้เท่าทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา

ภายใต้ความร่วมมือกับสภาเศรษฐกิจโลก เราจะเดินหน้าทำงานร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัลแห่งอนาคตให้คนรุ่นใหม่ กระจายความรู้และการเข้าถึงทักษะดิจิทัลอย่างทั่วถึงสำหรับคนทุกรุ่น และเชื่อมโยงแต่ละภาคส่วนภายในอุตสาหกรรม อาทิ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และ ภาคนโยบาย เป็นการลดช่องว่างระหว่างภาควิชาการและการปฏิบัติจริง

ปัจจุบันเราได้ริเริ่มโครงการที่สอดคล้องกับพันธกิจดังกล่าวแล้ว อาทิ ยุทธศาสตร์ “10 in 10 Initiative” โครงการ ‘Shopee Bootcamp’ และ ‘Sea Scholarship’ เพื่อร่วมพัฒนาศักยภาพบุคลากรสู่ตลาดแรงงานในยุคดิจิทัล

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ดีอี ผนึก ‘อว.- ศธ.’ ร่วมมือ UNESCO นำเวที UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025

ประเทศไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพงาน “UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025” ครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก ภายใต้แนวคิด “Ethical Governance of AI in Motion” ย้ำบทบาทผู้นำจริยธรรม AI ระดั...

Responsive image

เสริมสร้างความร่วมมือไทย-ฟินแลนด์ ศึกษาดูงานและขยายโอกาสนวัตกรรม

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศและเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ นำคณะผู้แทนไทยศึกษาดูงานที่ฟินแลนด์ เพื่อกระชับความร่วมมือด้านนวัตกรรม พลังงานหมุนเวียน และเศรษฐกิจหมุนเวียน...

Responsive image

ไทยพบเอสโตเนีย แลกเปลี่ยนมุมมองรัฐบาลดิจิทัล ศึกษาต้นแบบ e-Government

ไทยเปิดใจเรียนรู้จากเอสโตเนีย ระบบ e-Government ที่ประชาชนไว้วางใจ...