NIA ร่วมกับ Thai Union และม.มหิดล เปิดเวทีดัน Startup ด้านอาหารโชว์ของผ่าน SPACE-F | Techsauce

NIA ร่วมกับ Thai Union และม.มหิดล เปิดเวทีดัน Startup ด้านอาหารโชว์ของผ่าน SPACE-F

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)   และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัว 23 สตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ SPACE-F  

SPACE-F เป็นโปรแกรมการพัฒนาสตาร์ทอัพด้านอาหารในระดับนานาชาติให้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยโครงการดังกล่าวจัดตั้งขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยในฐานะการเป็น “ครัวโลก” ด้วยการนำนวัตกรรมมาช่วยยกระดับให้อุตสาหกรรมอาหารเติบโต  น่าสนใจ นอกจากนี้ยังช่วยผลักดันสตาร์ทอัพสาขานวัตกรรมอาหารให้มีคุณภาพ ความหลากหลาย สอดรับกับความต้องการของภาคธุรกิจ  ในปีแรกของ SPACE-F นี้ได้รับใบสมัครจากสตาร์ทอัพ 142 ทีมทั่วโลก ซึ่งคณะกรรมการได้คัดเลือกจนเหลือ 23 ทีม ประกอบด้วยประเภท incubator หรือประเภทบ่มเพราะนวัตกรรม จำนวน 12 ทีมและ accelerator หรือประเภทเร่งผลักดันความสำเร็จ จำนวน 11 ทีม 

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศไทย ในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่นนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนธุรกิจอาหาร  ในขณะเดียวกัน ก็ต้องตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้อย่างเท่าทัน ทั้งในการผลิต การบริการ  การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดการเหลือทิ้งของอาหาร เช่น การนำวัตถุดิบที่ถูกคัดทิ้งมาแปรรูป หรือทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หรือไม่เป็นบรรจุภัณฑ์ที่สิ้นเปลืองทรัพยากรในกระบวนการผลิต การนำระบบ AI มาใช้ เช่น ในการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ โปรแกรมการผลิตแบบอัจฉริยะ การพัฒนาการเกษตรในเมืองเพื่อรองรับปริมาณประชากรและความต้องการบริโภคสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น รวมถึง การพัฒนาอาหารเฉพาะกลุ่ม เช่น อาหารสำหรับผู้สูงวัย อาหารที่ให้พลังงานทดแทน   โครงการ “สเปซ-เอฟ” จึงถือเป็นก้าวที่สำคัญสำหรับนวัตกรรมของประเทศในการเตรียมพร้อมสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร 

สำหรับสเปซ-เอฟ มุ่งพัฒนาฟู้ดเทคสตาร์ทอัพใน 9 สาขา ได้แก่ อาหารเพื่อสุขภาพ โปรตีนทางเลือก กระบวนการผลิตอาหารอัจฉริยะ บรรจุภัณฑ์แห่งอนาคต วัตถุดิบและส่วนผสมอาหารใหม่ๆ วัสดุชีวภาพและสารเคมี เทคโนโลยีการบริหารจัดการร้านอาหาร การตรวจสอบควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร  และบริการอัจฉริยะด้านอาหาร ทั้งนี้ ประกอบไปด้วยโปรแกรมการสนับสนุนจาก 3 ภาคหลักที่สำคัญ ได้แก่ ภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และภาคการศึกษา โดยในส่วนของ NIA นั้นจะให้การสนับสนุนตั้งแต่ การดึงหน่วยงานร่วมทั้งจากภาครัฐและเอกชนเข้ามาช่วยบ่มเพาะสตาร์ทอัพ เช่น สถาบันการเงิน องค์กรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โปรแกรมสนับสนุนการระดมทุน ไปจนถึงการช่วยอำนวยความสะดวกการออกสมาร์ทวีซ่า นอกจากนี้ ยังจะมีการสนับสนุนช่องทางตลาด การประชาสัมพันธ์ การออกงานอีเว้นท์ เช่น Startup Thailand , Innovation Thailand Expo ต่อเนื่องไปถึงการสร้างความร่วมมือกับองค์กรต่างประเทศที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสตาร์ทอัพภายในโครงการร่วมกัน  

ดร.พันธุ์อาจ กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าอุตสาหกรรมการผลิตอาหารจะเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้อย่างมหาศาลให้กับประเทศไทย แต่ในการพึ่งพิงการผลิตเพียงอย่างเดียวอาจทำได้เพียงระยะเวลาในอีกไม่กี่ปีหลังจากนี้ เนื่องด้วยตลาดการแข่งขันของธุรกิจอาหารกำลังจะมุ่งหน้าไปที่การพัฒนาบริการ และนวัตกรรมอันทันสมัยที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ สเปซ-เอฟ จึงเป็นคำตอบหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาฟู้ดเทคสตาร์ทอัพส(FoodTech) ที่จะเป็นผู้คิดค้นโมเดลธุรกิจใหม่ๆ และตอบสนองความต้องการตลาดอาหารผู้บริโภคได้อย่างเท่าทัน โดยสตาร์ทอัพเหล่านี้ล้วนเข้าใจปัญหาของระบบซัพพลายเชนในธุรกิจอาหารอย่างถ่องแท้และมีแผนทางธุรกิจที่สามารถเติบโตและขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว

ด้าน ดร.ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มด้านนวัตกรรม บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ไทยยูเนี่ยน ในฐานะบริษัทผู้ผลิตอาหารทะเลระดับโลก และเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญด้านนวัตกรรมอย่างจริงจังมาโดยตลอด โดยความร่วมมือในครั้งนี้ ทางบริษัทฯ ได้นำประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการนำนวัตกรรมอาหารมาสู่ภาคธุรกิจ มาเป็นแนวทางให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้นำความรู้ความเข้าใจไปปรับใช้  และนอกเหนือจากศูนย์นวัตกรรมไทยยูเนี่ยนแห่งแรก ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เปิดให้สตาร์ทอัพในโครงการเข้ามาใช้เพื่อทดลองและวิจัย รวมถึงองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์โดยมืออาชีพแล้ว  เรายังมีบุคลากรในด้านอื่นๆ เช่น ด้านการบริหารจัดการ และการเงิน เป็นต้น เข้าแนะนำแนวทางพร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ทั้ง Incubator และAccelerator ทั้ง 23 ทีม จะสามารถต่อยอดทั้งด้านนวัตกรรมและประสบความสำเร็จด้านธุรกิจไปด้วยกัน”

รศ.ดร. สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นคณะวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าของประเทศไทย เป็นแหล่งความรู้และ know-how รวมทั้งเครื่องมือเพื่อการวิจัยและพัฒนาขั้นสูงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมทางอาหารโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม สำหรับโครงการการ SPACE-F นั้น คณะวิทยาศาสตร์ฯ จะเสริมกำลังเหล่า startup ด้วยความรู้และ know-how ทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนเครือข่ายพันธมิตรที่จำเป็นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเหล่า startup เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้า จนสามารถเติบโตในตลาดได้อย่างรวดเร็ว ประสบความสําเร็จในธุรกิจต่อไป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NocNoc จัดงานประกาศสุดยอดแบรนด์แห่งปี 'NocNoc Awards 2024' ยกย่องผู้ประกอบการ Home & Living สู่การเติบโตยั่งยืนในไทยและอาเซียน

NocNoc จัดงานประกาศผลรางวัลสุดยอดแบรนด์ Home & Living แห่งปี “NocNoc Awards 2024” ภายใต้ตีม “Hall of Friends” สะท้อนแบรนด์พาร์ทเนอร์บนแพลตฟอร์มที่เปรียบเสมือนเพื่อน มอบ 31 รางวัล จ...

Responsive image

ซีพี-มธ. ผนึกกำลังดันวิจัยนวัตกรรมสุขภาพ พลิกไทยสู่ศูนย์กลาง Health Hub โลก

เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จับมือร่วมผลักดันนวัตกรรมด้านสุขภาพ ตั้งแต่ AI, หุ่นยนต์, ไปจนถึงเทคโนโลยีป้องกันโรค...

Responsive image

BE8 เผยผลประกอบการไตรมาส 3 โกยกำไร 27.8% แตะ 44 ล้านบาท! มั่นใจโค้งสุดท้ายปีนี้ยังโตต่อเนื่อง

เบริล 8 พลัส" เผยผลประกอบการไตรมาส 3/67 กวาดรายได้จากการขายและให้บริการแตะ 610.35 ล้านบาท ดันกำไรสุทธิขึ้นเป็น 44 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.8% จากไตรมาสก่อน พร้อมแสดงความมั่นใจว่าแนวโน้...