samsung ร่วมสนับสนุนคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯพัฒนาหุ่นยนต์ CU-RoboCovid | Techsauce

samsung ร่วมสนับสนุนคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯพัฒนาหุ่นยนต์ CU-RoboCovid

บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด ร่วมสนับสนุนอุปกรณ์แท็บเล็ตรุ่น กาแลคซี่ แท็บ แอคทีฟ 2 (Galaxy Tab Active 2) ให้แก่โครงการพัฒนาหุ่นยนต์และอุปกรณ์สนับสนุนการแพทย์ “CU-RoboCOVID” ซึ่งดำเนินงานโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ แบ่งเบาภาระงาน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้บุคลากรทางการแพทย์ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ดร. มหิศร ว่องผาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท HG Robotics ในฐานะหัวหน้าทีมพัฒนาหุ่นยนต์ CU-RoboCovid กล่าวว่า “เราริเริ่มโครงการนี้จากการที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เล็งเห็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับบุคลากรทางการแพทย์จากการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย อีกทั้งความเป็นไปได้ในการขาดแคลนเครื่องมือและบุคลากรในอนาคตหากไม่สามารถควบคุมสถานการณ์โรคระบาดได้ จึงนำความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านวิศกรรมหุ่นยนต์มาพัฒนาเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ จากประสบการณ์ส่วนตัวในการพัฒนาหุ่นยนต์มากว่าสิบปี พบว่าอุปกรณ์ประเภท Rugged Device ของซัมซุง มีคุณสมบัติด้านความทนทานต่อแรงกระแทกและการตกจากที่สูง กันน้ำและกันฝุ่นได้ดี สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ประกอบกับซอฟต์แวร์ที่พัฒนาบนแพลตฟอร์มซัมซุง น็อกซ์ ซึ่งนอกจาก จะช่วยเรื่องการรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงอุปกรณ์แล้ว ยังช่วยบริหารจัดการควบคุมอุปกรณ์จากระยะไกลได้อีกด้วย”

ดร.มารุต มณีสถิตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจลูกค้าองค์กร ธุรกิจโทรคมนาคมและไอที บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด กล่าวว่า “ซัมซุงยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระและพัฒนากระบวนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงเวลานี้ ด้วยคุณสมบัติพิเศษในด้านความทนทานและการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อใช้งานในทุกสภาวะ อุปกรณ์ประเภท Rugged Device นี้ จึงเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งกับการใช้ปฏิบัติงานทางด้านสาธารณสุข เพื่อช่วยลดทั้งความเสี่ยงติดเชื้อและลดอัตราการใช้ชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์จากการสัมผัสผู้ป่วย ขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับหมอและพยาบาลได้เป็นอย่างดี”

สำหรับแท็บเล็ตซัมซุง กาแลคซี่ แท็บ แอคทีฟ 2 นี้ จะนำไปใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของหุ่นยนต์ “ปิ่นโต” ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ส่งของ (Quarantine Delivery Robot) และหุ่นยนต์ “น้องกระจก” ซึ่งเป็นหุ่นยนต์สื่อสาร (Quarantine Telepresent) ทำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถจัดการดีไวซ์จากระยะไกลได้ โดยจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา ขณะเดียวกันแพทย์ก็สามารถเฝ้าดูและสังเกตอาการคนไข้ได้จากทุกจุดในโรงพยาบาล ช่วยลดอัตราเสี่ยงติดเชื้อสู่บุคลากรทางการแพทย์ ลดจำนวนอุปกรณ์การแพทย์บางส่วน นอกจากนี้ยังช่วยลดความกังวลของทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ป่วยในกระบวนการรักษา

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NocNoc แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเรื่องบ้านสัญชาติไทย หนึ่งเดียว ดัน SME ไทย โตไกลสู่ตลาดโลก

NocNoc แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสัญชาติไทยที่มุ่งเน้นสินค้าและบริการเกี่ยวกับบ้านครบวงจรในที่เดียว โดดเด่นในฐานะผู้นำด้าน Personalization Platform พร้อมขยายการให้บริการไปยังประเทศในอาเซ...

Responsive image

Vilja Solutions ผู้นำธนาคารคลาวด์นอร์ดิก บุกไทย ขยายสู่อาเซียน เตรียมขับเคลื่อนนวัตกรรมดิจิทัล

Vilja Solutions จากสวีเดน ได้เปิดตัวในกรุงเทพฯ ดึงความสนใจจากผู้บริหารธนาคารดิจิทัลไทยกว่า 70 ราย พร้อมรับการสนับสนุนจากภาครัฐไทยและสวีเดน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลและการเข้าถ...

Responsive image

Whoscall เปิดตัวฟีเจอร์ Scam Alert เตือนภัยกลโกง ฟรีบนแอป

Whoscall ผนึก 11 ภาคีเครือข่ายรัฐ-เอกชน เปิดตัวฟีเจอร์ Scam Alert ศูนย์รวมข้อมูลเตือนภัยกลโกงมิจฉาชีพแห่งแรกในไทย ใช้ได้ฟรีบนแอปพลิเคชัน Whoscall...