งานวิ่ง “บางแสน 42” ชลบุรีมาราธอน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการพัฒนางานวิ่งไทยสู่มาตรฐานโลก และมุ่งหวังให้เป็นหนึ่งในงานมาราธอนหลักที่ห้ามพลาดของเอเชียเพื่อปูทางสู่การเป็น World Major Marathon ในอนาคต
ทั้งนี้หนึ่งในไฮไลท์สำคัญของงานนี้ คือ การเปิดตัวเทคโนโลยี Face X ระบบจดจำใบหน้า( Image Recognition) ที่พัฒนาโดยคนไทย ในการลงทะเบียนและบันทึกข้อมูลสำคัญเพื่อความปลอดภัยของนักวิ่ง รวมถึงการป้องกันการปลอมแปลงบุคคลที่เข้ามาในงานและมีการเปลี่ยนตัวผู้รับรางวัล ซึ่งช่วยให้การบริหารจัดการงานวิ่งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ของงานวิ่งของไทยและครั้งแรกของโลกที่มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Emerging Technology) ทั้งการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่(Big Data) และ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent :AI) เข้ามาบริหารจัดการในการจัดการแข่งขันเพื่อพัฒนางานวิ่งของไทยให้เทียบเท่ามาตรฐานโลก
คุณกมล สิริชัน ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไทยดอทรัน จำกัด กล่าวว่า ไทยรัน (ThaiRun) เป็นสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ของไทย ที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมที่ทันสมัยในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้มีความยั่งยืน ด้วยการแนวทางธุรกิจแบบมีส่วนร่วม( Inclusive Business) โดยเริ่มจากการสร้าง Platform เพื่อเป็นฮับความสุขของนักวิ่ง (Happy Hub for Runners) เพราะงานวิ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมและสามารถต่อยอดการพัฒนาทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจทั้งในท้องถิ่นและระดับชาติได้
“บริษัทพยายามออกแบบเทคโนโลยีให้อยู่ในรูปของพื้นที่ (Platform) ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเช่น ช่างภาพ สามารถอัพโหลดภาพวิ่งให้กับนักวิ่งได้ไปชมอย่างรวดเร็ว รวมถึงเป็นพื้นที่การขายสินค้าต่างๆเกี่ยวกับการวิ่ง การจัด Virtual Run เพื่อระดมทุนการบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ต่างๆ ซึ่งเป็น platform ที่มีศักยภาพมาก เพราะปัจจุบัน ปัจจุบัน งานวิ่งไม่ใช่แค่วิ่งเท่านั้นแต่เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในท้องถิ่นอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง เพราะทุกครั้งที่มีงานวิ่งในพื้นที่ใดๆ ท้องถิ่นนั้นๆ จะคึกคักและมีเงินหมุนเวียนในท้องถิ่นมหาศาล เห็นได้จากงาน “บางแสน 42” ที่โรงแรมต่างๆ ถูกจองเต็ม ถือเป็นต้นแบบการพัฒนาพื้นที่ด้วย Sport tourism ซึ่งสามารถเป็นต้นแบบและขยายไปในพื้นที่อื่นๆได้” คุณกมล กล่าว
ดร.บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไทยดอทรัน จำกัด และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Image processing กล่าวว่า ไทยรันรู้สึกยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิ่งมาราธอน “บางแสน 42” 2561 ซึ่งทางบริษัทได้มีการเปิดตัวเทคโนโลยี Face X ซึ่งเป็นการนำระบบการจดจำใบหน้า (Face Recognition) และใข้ร่วมกับการจัดทำ Big Data/AI มาใช้กับการวิ่งครั้งนี้ โดยแบ่งเป็น
“ทั้งนี้การนำ Big Data มาปรับใช้กับการกีฬาและสุขภาพ ถือเป็นเรื่องที่น่าจะจับตามอง เพราะสามารถต่อยอดไปสู่การทำธุรกิจ หรือแม้แต่การจัดทำนโยบายด้านสาธารณสุขที่เหมาะสมให้กับประชาชนในประเทศ เพราะจะช่วยทำให้รัฐบาลหรือพฤติกรรมการออกกำลังกายของประขาชนซึ่งเป็นการป้องปราม/ป้องกันการเจ็บป่วยได้ดีที่สุด โดยเฉพาะการวิ่งที่สามารถทำกันได้ทุกคนและเป็นเทรนด์ฮิตของทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการพัฒนาด้านการวิ่งสูงมากเพราะอากาศของไทยสามารถวิ่งได้ตลอดทั้งปีได้เปรียบกว่าหลายประเทศ” ดร.บุญญฤทธิ์ กล่าว
ดร.บุญญฤทธิ์ กล่าวถึงเบื้องหลังการนำ Big Data/AI มาแก้ปัญหาสำคัญของงานวิ่งว่า ที่ผ่านมาการรับสมัครงานวิ่งมีปัญหาต่างๆจำนวนมาก โดยเฉพาะในการรับหมายเลขประจำตัวผู้วิ่ง(BIB) ที่มักมีการปัญหาการนำ BIB ไปใช้ในทางที่ผิด เช่น การซื้อขาย BIB ที่มีส่วนทำให้การจัดการแข่งขันเกิดปัญหา เพราะไม่สามารถระบุตัวนักวิ่งที่แท้จริงได้ ซึ่งบางครั้งทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมในการแข่งขัน ดังนั้น เราจึงตัดสินใจในการแก้ปัญหานี้ด้วยการรับสมัครโดย “ใช้ใบหน้า” หรือ Face ID ซึ่งเป็นการจัดทำระบบจดจำใบหน้าด้วยAI ซึ่งง่ายต่อการตรวจสอบ
นอกจากนี้ Face ID ยังต่อยอดมาที่การค้นหารูปภาพ หรือ “Face Search” เพื่อทำให้การค้นหาภาพทำได้รวดเร็วมากขึ้น เพราะงานวิ่งแต่ละงานมีภาพถ่ายเยอะมาก อย่างเช่นงาน “บางแสน 42” คาดว่าจะมีภาพจากช่างภาพทั้งหมด 150 คน จำนวน 1 ล้านรูป ซึ่งการค้นหารูปแบบเดิมๆ ไม่สามารถทำได้ เพราะฉะนั้น Face ID จึงทำให้การหารูปของนักวิ่งง่ายขึ้น ซึ่งปัจจุบันเว็บ Photo.Thai.Run เป็นเหมือน Photo Stocks ของสังคมนักวิ่ง สร้างความพอใจให้กับทุกฝ่ายทั้งช่างภาพและคนวิ่งที่สามารถอัพโหลด/เลือกชม/ซื้อขายรูปได้อย่างรวดเร็ว
ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไทยดอทรัน จำกัด กล่าวต่อว่า เราได้ออกแบบเทคโนโลยีให้อยู่ในรูปของ Platform เพื่อรองรับการเข้ามาใช้งานของคนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการรับสมัครการวิ่ง และการค้นหารูป ซึ่งระบบจะไม่มีการล่ม เพราะเราได้ออกแบบเทคโนโลยีที่สามารถ “โคลน”ตัวเองได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราภูมิใจเพราะพัฒนาโดยคนรุ่นใหม่ของไทย ที่เรียกว่า “Container Serve Based” ซึ่งเป็นเป็น Server ขนาดเล็กที่สามารถโคลนเพื่อรองรับการทำธุรกรรมที่เข้ามาพร้อมๆกันได้ อีกทั้งระบบที่ออกมาจะเป็นดิจิตอลและสามารถสแกนโดย QR Quote ได้ทั้งหมดเพื่อให้การบริหารจัดการตั้งแต่รับสมัคนจนถึงการวิ่งเสร็จเป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุด
“ข้อมูลต่างๆจะถูกบันทึกไว้ในแบบของBig Data แบบ Real Time ทำให้ผลการแข่งขันมีความเป็นธรรมและมีมาตรฐานสากล เพราะที่การรับสมัครแบบเดิมๆที่ผ่านมาที่ต้องมีการโอนเงินเข้ามา สามารถมีการปลอมแปลงเอกสารกันได้ ดังนั้น ระบบที่ออกแบบมาต้องการที่จะแก้ปัญหาความผิดพลาดที่เกิดจากคน (Human Errors) ซึ่งจะช่วยลดความผิดพลาดและประหยัดเวลาไม่ต้องมานั่งกรอกเอกสารใบสมัครทำข้อมูลใหม่แต่อย่างใด นี่คือการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อช่วยให้มนุษย์ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (Amplify) เพราะ AI มีความสามารถในการจดจำและการประมวลผลต่างๆให้เร็วกว่ามนุษย์มาก” ดร.บุญญฤทธิ์ กล่าว
คุณรัฐ จิโรจน์วณิชชากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมซ์ แอนด์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด ผู้อำนวยการจัดงาน “บางแสน 42” ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับรางวัลการจัดการวิ่งตามมาตรฐานโลก IAAF Bronze Label Road Race (ใบรับรองดับเหรียญทองแดง) จาก สหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ กล่าวว่า เป็นเรื่องน่ายินดีที่คนไทยหันมาให้ความสนใจการวิ่งมาราธอนมากขึ้นซึ่งสามารถนำไปสู่การใช้สปิริตมาราธอนในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและสำคัญในการสร้างสังคมที่มีคนที่คุณภาพเป็นอย่างมาก เพราะ นักวิ่งนักวิ่งมาราธอนจะเป็นที่มีความอดทนสูงมากและจะสู้กับอุปสรรคและปัญหาทุกรูปแบบ เพราะการวิ่งมาราธอนต้องมีวินัยสูงมาก
“ดังนั้น ถ้าเรามีประชาชนที่เข้าใจวิถีแห่งกีฬาที่มีความทรหดแบบนี้ เชื่อว่าประเทศก็จะมีความเจริญรุ่งเรืองและผู้คนก็จะรักใคร่กันมากขึ้น อีกทั้ง การงานวิ่งมาราธอนสามารถสะท้อนเศรษฐกิจและสังคมได้เพราะประเทศที่เจริญและมีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ผู้คนมักจะสนใจเรื่องของสุขภาพ โดยมาราธอนเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และยังถูกพัฒนาต่อยอดเป็นการท่องเที่ยวเชิงกีฬา หรือ “Sport Tourism” ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทได้พยายามผลักดันมาโดยตลอด นั่นคือการจัดการแข่งขันที่ที่เปิดกว้างให้กับคนทั่วไปที่มักพาครอบครัวมาไปด้วยทำให้มีการใช้จ่ายในพื้นที่มหาศาล เช่นงาน “บางแสน42” มีนักวิ่ง 7,000 คน ก็จะสามารถนำคนมาท่องเที่ยวใช้จ่ายในพื้นที่ได้ 28,000คน ซึ่งในต่างประเทศมีงานวิจัยชี้ว่า งานวิ่งมาราธอน 1 งานสามารถสร้างเงินให้กับเมืองใหญ่ๆได้หลายพันล้านบาท เพราะฉะนั้น เมืองใหญ่ๆทั่วโลกจึงชอบมีการจัดงานวิ่งมาราธอน” นายรัฐ กล่าว
ในส่วนของประเทศไทย ปัจจัยสำคัญในการสร้างเมืองสามารถมี “Sport Tourism” ได้นั้น จะเป็นต้องพื้นที่ที่มีสาธารณูปโภคพื้นที่ฐานที่พร้อม โดยเฉพาะโรงแรมที่พักต่างๆที่ต้องมีความพร้อมให้บริการคนเป็นจำนวนมาก รวมถึงการเดินทางที่สะดวก ไม่ให้เหนื่อยมากเกินไป ดังนั้นต้องมีการพิจารณาเป็นรายพื้นที่ว่ามีความสามารถในการรองรับการจัดงานได้มากเพียงใด ทั้งนี้กิจกรรมงานวิ่งของประเทศไทย ถือว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในรอบปีที่ผ่านมาโดยมีการจัดงานวิ่งถึง 1,200 งาน เกิดขึ้นในเกือบทุกจังหวัด อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นประเทศเป้าหมายของกลุ่มนักวิ่งต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ ไต้หวัน ที่มองหาที่วิ่งแปลกใหม่ ดังนั้น Sport Tourism ในประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด