TikTok เผย เทรนด์ Shoppertainment ชี้การเปลี่ยนแปลง 3C: Consider Consume Connect | Techsauce

TikTok เผย เทรนด์ Shoppertainment ชี้การเปลี่ยนแปลง 3C: Consider Consume Connect

ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา TikTok และ Accenture ได้ร่วมกันเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกจากรายงาน 'Shoppertainment 2024: THE FUTURE OF CONSUMER & COMMERCE' การสำรวจการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยและในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เน้นย้ำถึงพฤติกรรมการช้อปปิ้งของผู้บริโภคที่มีการพัฒนาเนื่องจากอิทธิพลของคอนเทนต์ 

ด้วยการเปลี่ยนแปลงสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของการพิจารณาคอนเทนต์ที่ไม่ส่งเสริมการขายเพื่อตัดสินใจซื้อ โดยผู้บริโภคชาวไทยมากกว่า 88% ได้รับอิทธิพลจากคอนเทนต์ดังกล่าว 

ประการที่สอง การสืบค้นข้อมูลสินค้าและตัดสินใจซื้ออย่างไร้รอยต่อ โดย 97% ค้นหาข้อมูลผลิตภัณฑ์และทำการซื้อภายในพื้นที่เดียวกัน 

และการเพิ่มขึ้นของเสรีภาพในการรับชมข้อมูลและการร่วมสร้างสรรค์คอนเทนต์คอมมูนิตี้ โดยผู้บริโภคมากกว่า 60% ได้รับอิทธิพลจากการมีส่วนร่วมของพวกเขา การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของคอนเทนต์ในการกำหนดพฤติกรรมการช้อปปิ้งในยุคดิจิทัล

ผู้บริโภคแห่งยุค Shoppertainment

ข้อมูลสถิติที่โดดเด่นในรายงานชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดประเทศไทย เผยถึงความสนใจที่ลดลงต่อคอนเทนต์ส่งเสริมการขายแบบดั้งเดิม โดยมีผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจากกลุ่มตัวอย่างตามแต่ละประเทศ คือ 12% ในเกาหลีใต้และประเทศไทย 27% ในประเทศญี่ปุ่น และ 41% ในอินโดนีเซีย แสดงความชื่นชอบต่อคอนเทนต์ที่ไม่เน้นการขายถึง 79% 

แบรนด์ในประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้องกับแนวโน้มดังกล่าว อีกทั้งยังเน้นย้ำถึงความเชื่อมโยงทางอารมณ์กับแบรนด์ซึ่งระบุว่าผู้บริโภคในประเทศไทยให้ความสำคัญกับการมีความสัมพันธ์และประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์ นอกจากนี้มีการเผยถึงแนวโน้มของกิจกรรมทางการตลาดของแบรนด์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เน้นกลยุทธ์กิจกรรมทางการตลาดระยะสั้นเพื่อได้ผลตอบแทนได้เร็วขึ้น 

30% ของนักการตลาดเจ้าใหญ่มีการลดงบโฆษณาลง และกว่า 74% ในกลุ่มดังกล่าวชี้แจงว่ามีสาเหตุจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สรุปได้ว่า แบรนด์มีความจำเป็นในการปรับตัวและตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ รายงานยังเปิดเผยความต้องการซื้อสินค้าออนไลน์ 6 ประการ ได้แก่:

  • การตรวจสอบ (Validation): การเลือกผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดและดีที่สุดเพื่อตรวจสอบการตัดสินใจช้อปปิ้งของพวกเขา
  • การปรับปรุง (Improvement): มองหาผลิตภัณฑ์ที่มีการปรับปรุงล่าสุดเพื่อคุณสมบัติที่ดีกว่า
  • ความสะดวกสบาย (Convenience): เพื่อการซื้อที่ง่ายดาย สะดวก คุ้มค่า ผ่านการจัดส่งที่เชื่อถือได้

โดยมีอีก 3 ประการที่เน้นตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ ได้แก่

  • การได้รับคำแนะนำ (Recommendation): เปิดรับคำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากบุคคลและแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
  • การได้แรงบันดาลใจ (Inspiration): มีความต้องการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เมื่อรู้สึกว่ามีแรงบันดาลใจจากเทรนด์และผลิตภัณฑ์ที่ยอดเยี่ยม
  • การทำตามใจตนเอง (Indulgence): การใช้ประสบการณ์ช้อปปิ้งเพื่อปรนเปรอและตามใจตนเอง

โอกาสสำคัญของเทรนด์ Shoppertainment

โอกาสในประเทศไทย: ประเทศไทยถูกจัดว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยมีโอกาสสร้างรายได้ถึง 12.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากมูลค่าตลาดรวมของ Shoppertainment ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 1.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2568 ด้วยผู้บริโภคจำนวนมากที่พร้อมมีส่วนร่วมกับการช้อปปิ้งผ่านคอนเทนต์ที่มีความบันเทิง และมีความสมบูรณ์ในระบบนิเวศ Shoppertainment ด้วยองค์ประกอบของอีคอมเมิร์ซ และคอมมูนิตี้ครีเอเตอร์ที่แข็งแกร่ง รวมถึงการเลือกลงทุนของแบรนด์ที่เลือกได้ตอบโจทย์ตามความสนใจของผู้บริโภคชาวไทยที่ชื่นชอบความบันเทิงและอารมณ์ขัน ทำให้ประเทศไทยถูกจัดให้เป็นตลาดสำคัญในการเติบโต ซึ่งมีส่วนช่วยสนับสนุนให้มูลค่าตลาด Shoppertainment ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) มีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ

โอกาสในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก: ภายในปี พ.ศ. 2568 คาดว่า Shoppertainment จะครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในตลาดอีคอมเมิร์ซ ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มความแข็งแรงของเทรนด์ Shoppertainment ที่ผนึกความบันเทิงเข้ากับการช้อปปิ้งออนไลน์ โดยตลาดหลักเช่นเวียดนามยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องและเริ่มทดลองการขยายตลาดสู่ประเทศอื่นๆ อีกตลาดที่โดดเด่นเช่นอินโดนีเซียก็มีการแนะนำให้ขยายกำลังการเติบโตเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

อีกหนึ่งตลาดที่กำลังเติบโตเช่นออสเตรเลีย ที่มียอดขายสุทธิต่ำกว่า 15 พันล้านเหรียญสหรัฐกำลังมุ่งขยายความเติบโตของเทรนด์ในหมู่ผู้บริโภค ตลอดทั้งประเทศญี่ปุ่น ด้วยยอดขายสุทธิต่ำกว่า 25 พันล้านเหรียญสหรัฐ กำลังมุ่งมั่นลงทุนเพื่อเอาชนะกำแพงความต้องการของผู้บริโภคเพื่อสร้างความสำเร็จของเทรนด์ยิ่งขึ้น

หมวดหมู่สินค้ายอดนิยม: สินค้ายอดนิยมในตลาด Shoppertainment ได้แก่ แฟชั่นและเครื่องประดับ ความงามและผลิตภัณฑ์ส่วนตัว อาหารและเครื่องดื่ม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และของใช้ในครัวเรือน โดยคอนเทนต์รูปแบบวิดีโอมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในหมวดหมู่เหล่านี้

การเติบโตสู่ยุคทองของคอนเทนต์

ส่วนหนึ่งในการเติบโตของ Shoppertainment เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการนำเสนอเนื้อหาให้ผู้บริโภค ซึ่งแบ่งเป็น 4 ระยะ เริ่มต้นด้วยเนื้อหาที่เผยแพร่และสื่อสารทางเดียวดังเช่นสื่อสิ่งพิมพ์ สู่ยุคของการสืบค้นข้อมูลด้วย Search engines และต่อด้วยโซเชียลเน็ตเวิร์ค จนกระทั่งมาสู่จุดสูงสุดใน "ยุคทองของคอนเทนต์" ในปัจจุบัน ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการผ่านแพลตฟอร์ม TikTok สะท้อนให้เห็นถึงวิวัฒนาการของการนำเสนอเนื้อหา ตลอดจนมีการปรับปรุงให้เข้ากับความชอบส่วนบุคคลของผู้บริโภค ก่อให้เกิดประสบการณ์ Shoppertainment ที่ผสานการช้อปปิ้งกับคอนเทนต์sความบันเทิงเข้าไว้ด้วยกัน

ความสำเร็จดังกล่าวถูกบันทึกผ่านการใช้แฮชแท็กระดับโลกอย่าง #TikTokMadeMeBuyIt ที่มียอดผู้เข้าชมมากกว่า 7 หมื่นล้านครั้ง และแฮชแท็กภายในประเทศอย่าง #TikTokป้ายยา ที่มียอดเข้าชมสูงถึง 6 พันล้านครั้ง บ่งชี้ถึงอิทธิพลที่คล้ายคลึงกันต่อพฤติกรรมการซื้อภายในภูมิภาคหรือตลาดโลก

พฤติกรรมการช้อปปิ้งที่เปลี่ยนไปโดยอิทธิพลของคอนเทนต์

3 การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมผู้บริโภคครั้งใหญ่:

  • การพิจารณา (Consider): เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการพิจารณาในการตัดสินใจซื้อ โดยผู้ซื้อมีแนวโน้มพิจารณาซื้อสินค้าและบริการโดยใช้สัญชาตญาณของตน (Intuitive Decisions) ประกอบกับการหาชมคอนเทนต์เพื่อยืนยันแนวคิดของตน มากกว่าการตัดสินใจซื้ออย่างเร่งด่วนทันที โดยผลสำรวจภายในประเทศไทยเผยว่าผู้บริโภคกว่า 88% ได้รับอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยคอนเทนต์ที่ไม่มีการส่งเสริมการขาย สะท้อนให้เห็นว่าการมีคอนเทนต์ช่วยประกอบการตัดสินใจภายในแพลตฟอร์มช้อปปิ้งทำให้ผู้บริโภคสามารถเห็นคุณค่าของสินค้าอย่างสะดวกสะบายและไม่ต้องสืบค้นเพิ่มเติมจากช่องทางอื่น
  • การบริโภค (Consume): เกิดการสืบค้นข้อมูลสินค้าและตัดสินใจซื้ออย่างไร้รอยต่อ ผู้บริโภคสามารถเปลี่ยนแปลงจากการรับชมคอนเทนต์สินค้าไปสู่การซื้อสินค้าอย่างง่ายดาย (Effortless Browse-to-Buy) ภายในแพลตฟอร์มดิจิทัลเดียวกัน ผู้บริโภคกว่า 97% เผยความต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า พิจารณา และตัดสินใจซื้อภายในแพลตฟอร์มเดียว โดยมีความชื่นชอบในแพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนด้วยคอนเทนต์ และสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแบรนด์และผลิตภัณฑ์
  • การเชื่อมต่อ (Connect): เมื่อผู้บริโภคมีเสรีภาพในการรับชมข้อมูลและการร่วมสร้างสรรค์คอนเทนต์คอมมูนิตี้ ส่งผลถึงการเติบโตของคอมมูนิตี้ครีเอเตอร์ พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคและ
    แบรนด์ให้มีส่วนร่วมต่อกันและกันได้ สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่กำลังมองหาความเป็นอิสระในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ และจากผลสำรวจเผยว่ากว่า 60% ของผู้บริโภคได้รับอิทธิพลทางความคิดจากการได้มีส่วนร่วมหรือปฏิสัมพันธ์กับคอนเทนต์คอมมูนิตี้

ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงการเติบโตของ Shoppertainment ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพของผู้บริโภค หรือความสำเร็จในการสร้างสรรค์คอนเทนต์เพื่อส่งเสริมการขาย ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและความสำเร็จของแบรนด์ในอนาคต

"ในยุคสมัยที่ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แบรนด์ต่างๆ มีแนวโน้มที่จะก้าวข้ามขอบเขตเดิมๆ ด้วยการควบรวมคอนเทนต์และการค้าเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ เพื่อให้ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่งนี้ แบรนด์ต่างๆ ยังต้องเตรียมพร้อมและก้าวตามให้ทันความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และรอบรู้ถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 

โดยไม่ใช่แค่เพื่อการสร้างผลกำไรในระยะสั้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการวางรากฐานสำหรับการเติบโตที่ยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว โดยที่ TikTok เรามีความมุ่งมั่นในการส่งมอบข้อมูลอันเป็นประโยชน์ให้กับแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อปลดล็อกโอกาสทางธุรกิจของแบรนด์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด " คุณชลธิชา งามกมลเลิศ – Head of Client Partnership, TikTok กล่าว

"เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับเทรนด์ Shoppertainment ที่เติบโตในตลาดเอเชียแปซิฟิกอย่างเห็นได้ชัดโดยเฉพาะในประเทศไทย ถือเป็นโอกาสสำคัญที่แบรนด์จะสามารถต่อยอดนำข้อมูลจากกงานวิจัยไปใช้บูรณาการกลยุทธ์ทางธุรกิจให้เกิดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังได้ก้าวตามทันเทรนด์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของผู้กำหนดนิยามแห่งอนาคต" คุณสุนาถ ธนสารอักษร – Managing Director at Accenture Song, ประเทศไทย กล่าวเสริม


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SCB 10X เปิดเวที “Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand” เดินหน้าวิจัย AI ไทย พร้อมเปิดตัว ‘ไต้ฝุ่น 2.0’ เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด

SCB 10X เปิดตัว "ไต้ฝุ่น 2" โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สุดล้ำในงาน Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand พร้อมยกระดับวิจัย AI ไทยสู่เวทีโลก...

Responsive image

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future”

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 มุ่งขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทยด้วยเทคโนโลยี AI สู่ยุคดิจิทัล...

Responsive image

ส.อ.ท. เตรียมจัด FTI EXPO 2025 รวมสุดยอดนวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผนึกกำลังพันธมิตรองค์กรชั้นนำ จัดงาน FTI EXPO 2025 ภายใต้แนวคิด “4GO” ที่ครอบคลุม 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ ดิจิทัล นวัตกรรม การขยายตลาดสู่ต่างประเทศ แ...