VMware ส่งเสริมอุตสาหกรรม Healthcare ปูทางสู่อนาคต Connected Health ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | Techsauce

VMware ส่งเสริมอุตสาหกรรม Healthcare ปูทางสู่อนาคต Connected Health ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผลศึกษา Digital Frontiers 3.0 ของ VMware เผยให้เห็นถึงความตื่นเต้นของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อบริการดูแลสุขภาพในรูปแบบดิจิทัล โดย 66% ของผู้บริโภคกล่าวว่าพวกเขาชอบการสนทนาผ่านวิดีโอคอลมากกว่าการเข้าร้บคำปรึกษาแบบตัวต่อตัวกับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ขณะที่ผู้บริโภคในประเทศไทยต้องการนวัตกรรมที่ยืดหยุ่นและการเพิ่มการลงทุนในเทคโนโลยี รวมทั้งบริการทางการแพทย์มีส่วนสนับสนุนการเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ระบุว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ได้มีการยื่นคำขอลงทุนมากกว่า 50 รายการในโครงการมูลค่ารวม400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สิ่งนี้มีส่วนทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการดูแลสุขภาพเพื่อรองรับความต้องการผู้บริโภคชาวไทยที่มีแนวโน้มจะหันมารับบริการด้านการดูแลสุขภาพเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต:

  • กว่าครึ่ง (60%) รู้สึกสบายใจและปลอดภัยกับระบบการผ่าตัดแบบส่องกล้องด้วยหุ่นยนต์ในรูปแบบรีโมทมากกว่าแพทย์ลงมือผ่าตัดด้วยตนเอง
  • 72% รู้สึกสบายใจและตื่นเต้นที่ได้รับการวินิจฉัยจากคอมพิวเตอร์ที่สามารถตรวจหาความผิดปกติ เช่น เซลล์มะเร็ง โดยไม่ต้องเดินทางไปพบแพทย์ จัดว่าสูงที่สุดในประเทศที่ทำการสำรวจ ขณะที่ 68% เชื่อว่าบริการดิจิทัลเฮลธ์แคร์ช่วยให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือโรคที่ต้องใช้เวลารักษาระยะยาวเข้าถึงระบบการรักษาได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากพวกเขาไม่จำเป็นต้องเดินทางหรือเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อาศัยเพียงเซ็นเซอร์และสามารถตรวจสอบข้อมูลแบบเรียลไทม์เพื่อวิเคราะห์อาการป่วยเมื่อพวกเขาต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์
  • ประสบการณ์ดิจิทัลที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางจะช่วยสร้างความก้าวหน้าได้ โดย 66%ของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลือกที่จะปรึกษาทางไกลผ่านวิดีโอคอลกับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์
  • ปัจจัยแวดล้อมของธุรกิจดูแลสุขภาพภายในภูมิภาคนี้จำเป็นต้องมีรากฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นเพื่อเร่งสร้างนวัตกรรม เนื่องจากชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยินดีที่จะเลือกใช้เทคโนโลยีหากสามารถวิเคราะห์โรคได้ดีกว่าแพทย์ที่เป็นมนุษย์ (55%)ทำการผ่าตัดแบบส่องกล้องโดยใช้หุ่นยนต์จากระยะทางไกล (54%) อันจะช่วยให้อิสระมากขึ้นแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และการรักษาอาการเจ็บป่วยระยะยาว (61%)
  • การรักษาความปลอดภัยยังคงเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างและรักษาความไว้วางใจในการนำดิจิทัลมาใช้ในอนาคตของธุรกิจดูแลสุขภาพ เนื่องจากมีเพียง 31%ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าพวกเขาเชื่อว่าผู้ให้บริการด้านเฮลธ์แคร์จะดูแลข้อมูลของพวกเขาให้ปลอดภัย

ผลการศึกษาของ VMware, Inc. (NYSE: VMW) ระบุว่า การบริการและประสบการณ์ผู้ป่วยยุคดิจิทัลกำลังปูทางไปสู่ภูมิทัศน์ของธุรกิจดูแลสุขภาพในอนาคตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยผลศึกษา Digital Frontiers 3.0 จัดทำโดย VMware เผยให้เห็นถึงความตื่นเต้นของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อบริการดูแลสุขภาพในรูปแบบดิจิทัล โดย 66% ของผู้บริโภคกล่าวว่าพวกเขาชอบการสนทนาผ่านวิดีโอคอลมากกว่าการเข้าร้บคำปรึกษาแบบตัวต่อตัวกับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ เมื่อมีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นที่คาดหวังการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่ดีขึ้น ไม่เสียเวลารอนาน และรักษาได้อย่างแม่นยำไม่ว่าจะอยู่ที่ใดและเมื่อใดก็ตาม นวัตกรรมด้านดิจิทัลเฮลธ์แคร์ที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น วิทยาการหุ่นยนต์และ Telehealth จะเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดอนาคตของระบบดิจิทัลเฮลธ์แคร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  • มากกว่าครึ่ง (54%) กล่าวว่าพวกเขาสบายใจและตื่นเต้นที่มีแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิดำเนินการผ่าตัดพวกเขาผ่านระยะทางไกลด้วยหุ่นยนต์มากกว่าแพทย์ที่ขาดประสบการณ์ที่ทำการผ่าตัดด้วยตนเอง
    • ซึ่งสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ที่ทำการสำรวจ: สหรัฐอเมริกา (42%) ฝรั่งเศส (43%) เยอรมนี (35%) และสหราชอาณาจักร (46%)
  • มากกว่าครึ่ง (55%) ยังรู้สึกสบายใจและตื่นเต้นที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเรียนรู้ที่จะตรวจหาความผิดปกติ เช่น เซลล์มะเร็ง แทนที่จะไปพบแพทย์
  • 61% ยังเชื่อว่าบริการดิจิทัลเฮลธ์แคร์ช่วยให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือโรคที่ต้องใช้เวลารักษาระยะยาวเข้าถึงระบบการรักษาได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากพวกเขาไม่จำเป็นต้องเดินทางหรือเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อาศัยเพียงเซ็นเซอร์และสามารถตรวจสอบข้อมูลแบบเรียลไทม์เพื่อวิเคราะห์อาการป่วยเมื่อพวกเขาต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์

อย่างไรก็ดีผลการศึกษาเดียวกันยังเผยให้เห็นว่า มีเพียง 36% ของผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น ที่ยินดีจะพูดคุยกับผู้ให้บริการดูแลสุขภาพในรูปแบบดิจิทัล เพื่อลดช่องว่างและผลักดันให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ทางการแพทย์ให้มากขึ้น ผู้บุกเบิกในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพและผู้ให้บริการหน้าใหม่สามารถใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น คลาวด์ โมเดิร์นแอปพลิเคชัน และบิ๊กดาต้า เพื่อเปิดใช้งานและให้บริการด้านเฮลธ์แคร์ที่ดีขึ้นและแม่นยำยิ่งขึ้น พร้อมรองรับอนาคตของ “Connected Healthcare” ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

คุณเอกภาวิน สุขอนันต์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย VMware กล่าวว่า “บริการด้านสุขภาพแบบใหม่ที่สมจริง เช่น การให้คำปรึกษาทางการแพทย์ทางไกล อุปกรณ์สวมใส่ และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ได้สร้างบรรทัดฐานใหม่แก่ธุรกิจดูแลสุขภาพและแพทย์ ให้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยและตอบสนองต่อความต้องการของพวกเขาได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ไหนและเมื่อใด นอกการแข่งขันด้านการผลิตและจัดหาวัคซีน รวมทั้งโซลูชันทางการแพทย์อื่น ๆ เทคโนโลยียังมีบทบาทสำคัญในการติดตามการแพร่กระจาย การทดสอบ และปรับปรุงขั้นตอนการกระจายโดยรวม เพื่อสร้างระบบนิเวศด้านสุขภาพดิจิทัลที่ยืดหยุ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ VMware มุ่งมั่นที่จะยกระดับผู้ให้บริการดูแลสุขภาพชั้นนำในภูมิภาค ด้วยรากฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่งเพื่อเร่งสร้างนวัตกรรม พร้อมทั้งความสามารถในการปรับขนาด และเพิ่มความคล่องตัวในการดูแลผู้ป่วยและการวิจัยทางคลินิก”

เทคโนโลยีแห่งอนาคตกำลังเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์

การเปิดรับการใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาด้านสุขภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงสูงอยู่ เนื่องจากผู้บริโภคเชื่อว่าเทคโนโลยีที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตจะเป็นกุญแจสำคัญในการนำเสนอแนวทางแก้ไขในทศวรรษหน้า:

  • 82% เชื่อว่าเราสามารถหาวิธีแก้ปัญหาเพื่อลดการแพร่กระจายของ Covid-19 ซึ่งสูงกว่าประเทศที่ทำการสำรวจอื่น ๆ : สหรัฐอเมริกา (59%) ฝรั่งเศส (60%) เยอรมนี (58%) และสหราชอาณาจักร (58%) ) ขณะที่ 80% เชื่อว่าเทคโนโลยีสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและผู้พิการได้
  • 76% เชื่อว่าเทคโนโลยีสามารถช่วยปรับปรุงการดูแลสุขภาพจิตได้ เช่น การเปิดใช้งานการบำบัดเสมือนจริง
  • 74% เชื่อว่าเราสามารถลดความเสี่ยงของการผ่าตัดแบบสอดเครื่องมือในร่างกายได้อย่างมาก

โอกาสของเทคโนโลยีใหม่ ๆ สำหรับธุรกิจเฮลธ์แคร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริโภคเปิดรับเทคโนโลยีแห่งอนาคต ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (70%), 5G (78%) และการจดจำใบหน้า (75%) โดยมากกว่าหนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสอบถาม (37%) กล่าวว่า 5G จะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้อุปกรณ์สวมใส่สามารถตรวจสอบสุขภาพของผู้สวมใส่ได้แบบเรียลไทม์ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ได้รับการแจ้งเตือนและตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินได้ทันที

ในประเทศไทยนวัตกรรมที่ยืดหยุ่นและการลงทุนในเทคโนโลยี รวมทั้งบริการทางการแพทย์มีส่วนสนับสนุนการเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ระบุว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ได้มีการยื่นคำขอลงทุนมากกว่า 50 รายการในโครงการมูลค่ารวม 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สิ่งนี้มีส่วนทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการดูแลสุขภาพเพื่อรองรับความต้องการผู้บริโภคชาวไทยที่มีแนวโน้มจะหันมารับบริการด้านการดูแลสุขภาพเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต: 

  • กว่าครึ่ง (60%) รู้สึกสบายใจและปลอดภัยกับระบบการผ่าตัดแบบส่องกล้องด้วยหุ่นยนต์ในรูปแบบรีโมทมากกว่าแพทย์ลงมือผ่าตัดด้วยตนเอง
  • 72% รู้สึกสบายใจและตื่นเต้นที่ได้รับการวินิจฉัยจากคอมพิวเตอร์ที่สามารถตรวจหาความผิดปกติ เช่น เซลล์มะเร็ง โดยไม่ต้องเดินทางไปพบแพทย์ จัดว่าสูงที่สุดในประเทศที่ทำการสำรวจ ขณะที่ 68% เชื่อว่าบริการดิจิทัลเฮลธ์แคร์ช่วยให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือโรคที่ต้องใช้เวลารักษาระยะยาวเข้าถึงระบบการรักษาได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากพวกเขาไม่จำเป็นต้องเดินทางหรือเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อาศัยเพียงเซ็นเซอร์และสามารถตรวจสอบข้อมูลแบบเรียลไทม์เพื่อวิเคราะห์อาการป่วยเมื่อพวกเขาต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์

สร้างและรักษาความไว้วางใจทางดิจิทัลพร้อมรองรับอนาคตเฮลธ์แคร์

มีความเป็นไปได้ว่าเทคโนโลยีสามารถเปลี่ยนแปลงโลกของการดูแลสุขภาพได้ ดังนั้นสิ่งที่องค์กรด้านสุขภาพต้องคำนึงถึง นอกจากการสร้างความไว้วางใจในเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการดูแลสุขภาพสำหรับอนาคตแล้ว ยังรวมถึงความกังวลด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคอีกด้วย 

โดยรายงานยังระบุว่า มีเพียง 31% เท่านั้นที่มั่นใจว่าผู้ให้บริการด้านเฮลธ์แคร์จะดูแลข้อมูลของพวกเขาให้ปลอดภัยได้ องค์กรด้านสุขภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถรักษาประสบการณ์ด้านสุขภาพในรูปแบบดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย และสร้างความไว้วางใจในหมู่ผู้บริโภคเพื่อเร่งสร้างการยอมรับและเชื่อมั่นในนวัตกรรมใหม่เหล่านี้

เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตในอุตสาหกรรม

เพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงของบริการดิจิทัลเพื่อการดูแลสุขภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ VMware ได้จัดลำดับความสำคัญที่องกรค์ต่าง ๆ ควรทราบดังนี้:

  • เสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ผู้ให้บริการด้านเฮลธ์แคร์เพื่อสร้างมัลติคลาวด์และแอปพลิเคชันที่พร้อมรองรับการใช้งานในอนาคต: ปลดล็อกมัลติคลาวด์สำหรับอนาคตด้วยนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนผ่านแอป เพิ่มความคล่องตัวและปลอดภัยให้สภาพแวดล้อม อันช่วยสร้างนวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่องสำหรับการดูแลสุขภาพในยุคถัดไป
  • ใช้นวัตกรรมและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับบุคลากรที่ทำงานแบบรีโมท: โซลูชั่นที่รองรับรูปแบบการทำงานของพนักงานในอนาคตจะช่วยให้พนักงานดิจิทัลได้รับประสบการณ์ที่ราบรื่นและปลอดภัยยิ่งขึ้น และเร่งให้เกิดผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดียิ่งขึ้น
  • มีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างแท้จริงที่พร้อมรับมือนวัตกรรมที่เกิดใหม่อยู่เสมอ: แนวทางการรักษาความปลอดภัยที่แท้จริงสำหรับองค์กร ที่จะเป็นเกราะอีกชั้นช่วยป้องกันระบบปฏิบัติการที่สำคัญ และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับนวัตกรรมด้านเฮลธ์แคร์และความยืดหยุ่นที่รวดเร็ว
  • Software-defined, เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับการวิเคราะห์และการตรวจสอบแบบเรียลไทม์: ย้ายข้อมูลที่มีความแม่นยำสูงและความหน่วงแฝงไปยังคลาวด์และระหว่าง edge location เพื่อนำเสนอโซลูชันการดูแลเสมือนจริงที่รวดเร็ว ปลอดภัย และเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

LINE SCALE UP เปิดรับสตาร์ทอัพทั่วโลก ต่อยอดธุรกิจกับ LINE ก้าวสู่ระดับสากล

LINE SCALE UP เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน LINE Thailand Developer Conference 2024 ที่ผ่านมา เฟ้นหาสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ และพร้อมต่อยอดธุรกิจร่วมกับ LINE สู่เป้าหมายยกระดับธุรกิจสตา...

Responsive image

MarTech MarTalk 2024 EP.3 จากต้นกล้าสู่ความสำเร็จ ด้วยการพัฒนาคนและ MarTech

ChocoCRM จัดงานใหญ่ส่งท้ายปีกับงาน MarTech MarTalk 2024 EP.3 From Seeds to Success: Driving Business Growth with People and Marketing Technology ได้รับการตอบรับดีอย่างต่อเนื่องเป็น...

Responsive image

ทีทีบี เปิดตัว ttb smart shop พร้อม “ปังปัง” มังกรน้ำเงินมงคล ผู้ช่วยร้านค้าแบบครบวงจร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี นำโดย นายศรัณย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ พร้อมด้วย นางกนกพร จูฑา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าบริหารผลิตภัณฑ์ธุรกิจ เปิดตัวฟีเจอร...