10 เรื่องยอดฮิตที่คนบนโลกโซเชียลให้ความสนใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 | Techsauce

10 เรื่องยอดฮิตที่คนบนโลกโซเชียลให้ความสนใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19

แม้จะมีการประกาศให้ประชาชนเริ่มลงทะเบียนและนัดวัน-เวลา การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา แต่ยังคงมีข้อสงสัย และคำถามต่าง ๆ มากมายจากคนบนโลกโซเชียล ทั้งประเด็นเกี่ยวกับผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน ประสิทธิภาพของวัคซีนในแต่ละแบรนด์ รวมทั้ง วัคซีนที่มีสามารถป้องกันโควิดแต่ละสายพันธุ์ได้หรือไม่

wisesight vaccine

บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้รวบรวมข้อสงสัย และความกังวลใจของคนบนโลกโซเชียลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 มาให้ทุกคนได้ทราบกัน โดยทำการเก็บข้อมูลผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE ในช่วงวันที่ 1- 31 พฤษภาคม 2564 พบว่า เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการให้ความสนใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตลอดช่วงระยะเวลาการเก็บข้อมูล มีจำนวน Engagement สูงกว่า 53,000,000 Engagement คิดเป็นค่าเฉลี่ยต่อวันถึง 1,600,000 Engagement โดยถูกพูดถึงผ่านช่องทางหลัก คือ Facebook และ Twitter 

โดย 10 เรื่องหลัก ๆ ที่ชาวโซเชียลให้ความสนใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 มีดังนี้

1. ผลข้างเคียงวัคซีนโควิด 

ชาวโซเชียลยังคงตั้งคำถามเรื่องผลข้างเคียงของวัคซีนที่ทำให้เกิดอาการชาหรืออ่อนแรง ซึ่งเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนกันเป็นประเด็นหลักๆ รวมถึง เรื่องวัคซีนต่างแบรนด์ จะมีผลข้างเคียงต่างกันไหม? 

2. การลงทะเบียนฉีดวัคซีน

การลงทะเบียนรับสิทธิ์ผ่านทางเว็บไซต์ หรือแอปฯ อาจเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับหลายคน รวมถึงการเปิดให้ลงทะเบียนรับวัคซีนผ่านหลากหลายช่องทางจนทำให้เกิดข้อสงสัย เช่น ขั้นตอนการลงทะเบียนในช่องทางต่างๆ ทำอย่างไร? หลังลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ต้องทำอย่างไรบ้าง และจะได้ฉีดวัคซีนเมื่อไร? และสามารถเลือกแบรนด์ได้หรือไม่? 

3. ประสิทธิภาพของวัคซีน 

อีกหนึ่งเรื่องที่คนให้ความสนใจกันในอันดับต้นๆ คือ เรื่องประสิทธิภาพของวัคซีน ไม่ว่าจะเป็นคำถามที่ว่าวัคซีนแต่ละแบรนด์มีประสิทธิภาพต่างกันอย่างไร? วัคซีนที่มีให้ฉีดในตอนนี้สามารถป้องกันเชื้อโควิดได้มากน้อยเพียงใด และป้องกันสายพันธุ์ไหนได้บ้าง? รวมถึงเชื้อโควิดบางสายพันธุ์จะทำให้ประสิทธิภาพลดลงหรือไม่?

4. การสร้างภูมิคุ้มกัน 

ภูมิคุ้มกันที่ได้หลังฉัดวัคซีนเป็นอีกเรื่องที่หลายคนต้องการทราบ เกิดคำถามตามมาว่าวัคซีนแต่ละแบรนด์สร้างภูมิคุ้มกันได้มากน้อยเพียงใด? ภูมิคุ้มกันจะอยู่ในร่างกายได้นานเพียงใด? และคนไทยจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้เมื่อไรและอย่างไร? และหลังการฉีดวัคซีน ยังมีโอกาสติดโควิดหรือไม่?

5. ผู้ได้ประโยชน์จากวัคซีน 

ข่าวความสำเร็จของวัคซีนทำให้หลายคนตั้งคำถามว่านอกจากประชาชนที่ได้รับประโยชน์ทางตรงแล้ว ใครที่ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้บ้าง?

6. กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว 

หากเป็นบุคคลที่อยู่ใน 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง เบาหวาน และโรคอ้วน ควรฉีดวัคซีนแบรนด์ใด และควรเตรียมตัวก่อนเข้ารับการฉีดอย่างไร? นอกจากนี้ อาการและภาวะอื่น ๆ เช่น ตั้งครรภ์หรือเป็นประจำเดือน สามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่?

7. กลุ่มคนสูงอายุ 

หลายคนสงสัยว่าผู้สูงอายุควรฉีดวัคซีนหรือไม่ และหากฉีด วัคซีนแบรนด์ใดจะปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป?

8. แผนกระจายวัคซีน 

มีคำถามถึงความคืบหน้าแผนการฉีดวัคซีนครึ่งหลังปี 2564 ในกลุ่มบุคคลทั่วไปว่าจะเริ่มฉีดได้เมื่อใด? รวมถึง แผนการนำเข้าวัคซีนแบรนด์อื่นว่าจะมาถึงไทยและสามารถฉีดได้เมื่อใด?      

9. การได้รับวัคซีนซ้ำ

หลายคนกังวลกรณีฉีดวัคซีนแล้ว มีวัคซีนใหม่ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าออกมา สามารถฉีดซ้ำได้หรือไม่? หรือหากเคยติดเชื้อโควิด-19 แล้ว จำเป็นต้องฉีดวัคซีนอีกหรือไม่? รวมถึงการรับวัคซีนเข็มที่ 2 สามารถเปลี่ยนแบรนด์ได้หรือไม่ หรือมีความจำเป็นต้องรับวัคซีนเข็มที่ 2 จากแบรนด์เดิมเท่านั้น

10. ราคาวัคซีน

ประชาชนมีความต้องการวัคซีนทางเลือกค่อนข้างสูง อาทิ โมเดอร์นา ทำให้เกิดความสงสัยเกี่ยวกับราคาตามมา ว่าราคาต่อโดสอยู่ที่เท่าไร?

ในตอนนี้ วัคซีนถือเป็นอาวุธที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่จะช่วยหยุดการแพร่ระบาด สร้างภูมิคุ้มกัน บรรเทาอาการป่วยรุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิตของประชาชนได้ ถึงอย่างนั้น ยังมีคนส่วนใหญ่ของประเทศที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ดังนั้น สิ่งที่ทุกคนทำได้เพื่อป้องกันตนเองและคนรอบข้างให้ปลอดภัย คือ การสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือให้สะอาด และเว้นระยะห่างทางสังคม 1-2 เมตรนั่นเอง


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SCB 10X เปิดเวที “Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand” เดินหน้าวิจัย AI ไทย พร้อมเปิดตัว ‘ไต้ฝุ่น 2.0’ เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด

SCB 10X เปิดตัว "ไต้ฝุ่น 2" โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สุดล้ำในงาน Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand พร้อมยกระดับวิจัย AI ไทยสู่เวทีโลก...

Responsive image

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future”

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 มุ่งขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทยด้วยเทคโนโลยี AI สู่ยุคดิจิทัล...

Responsive image

ส.อ.ท. เตรียมจัด FTI EXPO 2025 รวมสุดยอดนวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผนึกกำลังพันธมิตรองค์กรชั้นนำ จัดงาน FTI EXPO 2025 ภายใต้แนวคิด “4GO” ที่ครอบคลุม 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ ดิจิทัล นวัตกรรม การขยายตลาดสู่ต่างประเทศ แ...